23 ส.ค. 2019 เวลา 08:02 • ธุรกิจ
“ทฤษฎีสามลูกสูบ” กับ “ความผิดเพี้ยนของตลาดการเงิน” ในปัจจุบัน ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ “วิกฤตเศรษฐกิจ” ? / โดย คลินิกการลงทุน
3
“ทฤษฎีสามลูกสูบ” กับ “ความผิดเพี้ยนของตลาดการเงิน”
“ทฤษฎีสามลูกสูบ” กับ “ความผิดเพี้ยนของตลาดการเงิน” ในปัจจุบัน ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ “วิกฤตเศรษฐกิจ” ? / โดย คลินิกการลงทุน
ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เคยกล่าวถึง ‘ทฤษฎีสามลูกสูบ’ ในการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค โดยมองว่าในระบบเศรษฐกิจนั้นมีลูกสูบ ที่จะทำหน้าที่เหมือนปั๊ม และทำให้เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงอยู่ 3 ลูก คือ
2
‘ทฤษฎีสามลูกสูบ’ โดยศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์
1. ‘ลูกสูบการคลัง’ สูบเข้าสูบออกเป็นรายได้-รายจ่าย
2. ‘ลูกสูบการเงินระหว่างประเทศ’ มีการชำระเงินเข้าประเทศ และเงินไหลออกนอกประเทศ ซึ่งมีผลสุทธิคือดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ
2
3. ‘ลูกสูบการเงินภายในประเทศ’ คือ การขยายเครดิตของระบบธนาคาร ถ้าขยายเข้าระบบมาก ลูกโป่งจะโต เงินจะเฟ้อ ลูกโป่งจะลอย
ลูกสูบทั้งสามลูก คือ ลูกสูบด้านการคลัง ลูกสูบด้านการเงินระหว่างประเทศ และลูกสูบด้านการเงินภายในประเทศ ล้วนถูกควบคุมโดยการใช้นโยบายการเงิน และนโยบายการคลังอย่างเหมาะสม เพื่อให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีอยู่อย่างพอดี ไม่มาก หรือไม่น้อยจนเกินไป
2
‘ทฤษฎีสามลูกสูบ’ โดย ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์
ทฤษฎี "ลูกโป่ง 3 ลูกสูบ" มีบทบาทและอิทธิพลในการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในประเทศไทยเป็นเวลาหลายทศวรรษ และประสบความสำเร็จพอสมควรในการรักษาเสถียรภาพของราคา
หัวใจสำคัญอยู่ที่ หากต้องการการเจริญเติบโตที่สม่ำเสมอ และมีสมดุลแล้ว ทั้งสามสูบ ที่สูบเข้า สูบออก ลูกโป่ง จะต้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน
Cr.sanook
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ ‘ลูกสูบการเงิน’ ของแต่ละประเทศเริ่มใช้การไม่ได้แล้ว จากการโหมกระหน่ำกันใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ‘ปรับลดอัตราดอกเบี้ย’ และ ‘อัดฉีดเงินเข้าระบบ’ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้
Cr.krungsri
ขณะที่ลูกสูบ ‘การเงินระหว่างประเทศ’ ก็เริ่มย่ำแย่จากผลของ ‘สงครามการค้า’ จนตอนนี้ หลายๆประเทศเลยต้องหันมาใช้ปั๊มตัวสุดท้าย คือ "ลูกสูบการคลัง" โดยการลดภาษี แจกเงิน หรือนโยบายต่างๆ มากมายตามแต่ละประเทศทั่วโลก
ทั้งนี้ ถ้าหากสูบลมใส่ลูกโป่งไม่หยุด แล้วลูกสูบตัวสุดท้ายนี้ไม่ได้ผล สุดท้ายก็อาจทำให้ลูกโป่งลูกนี้ระเบิดได้ในที่สุด !!!
Economic Crisis
อ้างอิง: เศรษฐสาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 8 สิงหาคม 2542 - คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Source: Innotech Asset Management
เศรษฐสาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 8 สิงหาคม 2542 - คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อ่าน "คลินิกการลงทุน" สนุกขึ้นในแอปฯ "Blockdit"
ดาวน์โหลดได้ที่: http://www.blockdit.com/app
ช่องทางติดตาม "คลินิกการลงทุน"
#คลินิกการลงทุน
โฆษณา