24 ส.ค. 2019 เวลา 02:55 • ธุรกิจ
สรุประบบการศึกษาของ ฟินแลนด์ ใครมีลูกควรอ่าน / โดย ลงทุนแมน
สหรัฐอเมริกาและจีน เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ
แต่ถ้าเราพูดถึงมหาอำนาจทางการศึกษา
หนึ่งประเทศที่หลายคนนึกถึงก็คือ ฟินแลนด์
แล้วระบบการศึกษาของ ฟินแลนด์ ดีอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ระบบการศึกษาของ ฟินแลนด์ ออกแบบมาให้เด็กเกิดการเรียนรู้ผ่านการ “เล่น”
และต้องการให้เด็กเป็นศูนย์กลางโดยแท้จริง หรือที่เราเรียกกันว่า Child-centered ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง
โดยการศึกษาทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากกว่าการเรียนเพื่อไปสอบ
และต้องการพัฒนาเด็กร่วมกันมากกว่าการแข่งขันกัน
ซึ่งสิ่งที่น่าแปลกใจคือ
ระบบการประเมินนักเรียนของฟินแลนด์
จะไม่มีผู้ตรวจการจากข้างนอกโรงเรียนเข้าไปตรวจสอบ
และไม่มีข้อสอบที่บังคับเพื่อวัดผลนักเรียนแต่ละคน
เมื่อเป็นแบบนี้ครูในประเทศอื่นอาจสงสัยว่า
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าโรงเรียนไหนเก่งสุด
หรือนักเรียนคนไหนเก่งสุดในฟินแลนด์
คำตอบคือ “ไม่จำเป็นต้องรู้”
2
ทำไมต้องวัดว่าใครเก่งที่สุด?
เพราะสิ่งที่ระบบการศึกษาของฟินแลนด์เชื่อ ก็คือ เราไม่สามารถใช้ข้อสอบเดียวในการวัดผลคุณภาพของเด็กได้ทุกคน
ดังนั้น การจัด Ranking ของโรงเรียนจึงไม่มีในฟินแลนด์
ซึ่งทำให้โรงเรียนจะไม่ถูกแบ่งงบประมาณตามความเก่งของแต่ละโรงเรียน
1
อย่างไรก็ตาม การประเมินยังคงมีอยู่ ซึ่งจะให้ครูที่โรงเรียนมีหน้าที่ในการประเมินเด็กแต่ละคน
Cr. thisisFINLAND
สิ่งที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือ
กระทรวงศึกษาธิการของฟินแลนด์มีบทบาทที่ต่างจากประเทศอื่น
ถ้าเราคิดว่าครูจะมีหลักเกณฑ์จากกระทรวงศึกษา
และเอาหลักเกณฑ์นั้นไปประเมินเด็กตามที่กระทรวงต้องการ
“เราอาจคิดผิด”
เพราะครูในฟินแลนด์ จะมีอิสระอย่างมากในการออกแบบหลักสูตร วิธีการประเมิน และรูปแบบการสอน
ดังนั้น การศึกษาของฟินแลนด์จะเป็นรูปแบบ นักเรียน > ครู > กระทรวง
มากกว่า กระทรวง > ครู > นักเรียน
ซึ่งจะเป็นการยัดเยียดสิ่งที่กระทรวงต้องการมากกว่าสิ่งที่นักเรียนต้องการ
2
นอกจากนี้ สิ่งที่ระบบการศึกษาของฟินแลนด์เชื่อ คือ เด็กทุกคนต้องมีความเท่าเทียมกันในด้านการศึกษา ไม่ว่าฐานะทางบ้านจะแตกต่างกันเท่าไหร่ก็ตาม
ดังนั้น เด็กกว่า 97% ในประเทศฟินแลนด์จะถูกดูแลอยู่ภายใต้โรงเรียนที่บริหารงานโดยรัฐบาล ไม่ใช่กลุ่มของนักการเมือง หรือกลุ่มทุนกลุ่มใดเป็นพิเศษ
เด็กนักเรียนที่มีฐานะต่างกันจะได้เรียนหนังสือด้วยกัน และพวกเขาจะโตขึ้นมาด้วยกัน เป็นเพื่อนกัน ดังนั้นพวกเขาจะเข้าใจความหลากหลาย และเรื่องนี้สามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำได้
แล้วระบบการศึกษาของฟินแลนด์แบ่งเป็นอย่างไรบ้าง?
1. Early childhood ช่วงก่อนเข้าเรียน
เด็กในฟินแลนด์จะใช้ช่วงเวลานี้กว่า 6 ปีของชีวิต เรียนรู้ผ่านการ “เล่น”
โดยจุดประสงค์หลักคือ ไม่ใช่การเตรียมเด็กเข้าสู่การเรียนทางวิชาการ
หากแต่เป็น การส่งเสริมให้เด็กเกิดการพัฒนาทางด้านสังคมและสุขภาพมากกว่า
โดยทำผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ
Cr. Culture Trip
2. Basic education ซึ่งเป็นภาคบังคับ สำหรับเด็กอายุ 7-16 ปี
Cr. Morocco World News
3. Upper education เด็กสามารถเลือกได้ว่าอยากเรียนภาคทั่วไป หรือ อาชีวศึกษา
Cr. Luovi
4. Higher education ถ้าเทียบกับบ้านเราคือระดับมหาวิทยาลัย
Cr. Education Technology
อ่านมาถึงตรงนี้
ถ้าลองมองย้อนกลับมาที่ประเทศไทย เราจะเห็นได้ว่ารูปแบบ หรือระดับชั้นของการเรียน เราแทบไม่ต่างกันเลยกับฟินแลนด์
ที่มี ชั้นอนุบาล, ประถม, มัธยม และมหาวิทยาลัย
แต่สิ่งที่ต่างอย่างเห็นได้ชัด คือ วิธีการในการสอนนักเรียน
ถ้าให้เปรียบ ระบบการศึกษาของเราเป็นเหมือน “ตะแกรง”
และนักเรียนเป็นเหมือน “ก้อนหิน” ที่มีขนาดต่างกัน
เรากำลังเอาตะแกรงไซซ์ที่รัฐบาลกำหนด มาร่อนเด็กออกไป โดยมองว่าเด็กเหล่านั้นไม่ใช่ก้อนหินที่รัฐบาลต้องการ
แต่คำถามคือ แล้วเรามั่นใจได้อย่างไรว่า ตะแกรง ที่รัฐบาลกำหนดมาจะถูกต้องไปทั้งหมด
ในเมื่อเด็กแต่ละคนมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
ในปี 2561
ประเทศไทยใช้งบด้านการศึกษา คิดเป็น 4.8% ของ GDP ประเทศ
ส่วนฟินแลนด์ คิดเป็น 5.6% ของ GDP ประเทศ
ในขณะที่ การจัดอันดับการศึกษาโดย PISA ครั้งล่าสุด
ประเทศไทย มีค่าเฉลี่ยความสามารถทางด้านการอ่าน เลข และคณิตศาสตร์ ที่ 56 ของโลก
ในขณะที่ฟินแลนด์ อยู่ที่อันดับ 8 ของโลก
Blockdit แอปที่เป็นเหมือน คลังความรู้ขนาดใหญ่ อ่านฟรี
โหลดเลย Blockdit.com/download
โฆษณา