23 ส.ค. 2019 เวลา 11:25 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เพจเทคโนโลยี RFID กะเทาะ RFID ในชีวิตประจำวัน สำหรับทุกเพศทุกวัย สั้นๆอ่านตอนรถติด รอขึ้นรถขนส่งมวลชนทั้งหลาย
ตอนที่1
ตอนนี้ถือเป็นตอนที่2นะครับ ตอนแรกคือตอนที่0
้เราได้ทราบไปแล้วว่า RFID มีองค์ประกอบอะไรบ้าง วันนี้เราจะมาดูการทำงานของมันกัน
ไม้กั้นตามสถานีรถไฟ(ประตูปีกผีเสื้อ)
การทำงานของระบบ RFID
โดยตัวเสาอากาศจะปล่อยคลื่นวิทยุออกมาตลอดเวลา(สีเขียว)
ตัว Tag เมื่ออยู่ในระยะสัญญาณสีเขียว จะปล่อยสัญญาณกลับไป(สีแดง) ส่งไปพร้อมกับข้อมูลที่ตัวเสาอากาศต้องการ จากนั้นจึงเกิดการประมวลผลต่อไปที่เครื่องอ่าน
ส่วนที่ทำหน้าที่ประมวลผล คือเครื่องอ่าน
(reader) ประมวลผลอะไรหรอ?
หน้าที่ คือ"อ่าน เขียน ลบ ข้อมูลในTag" ตัวเครื่องอ่านจะฝังอยู่ในเสาอากาศเลย หรือแยกส่วนออกมาก็ได้ ไม้กั้น bts เครื่องอ่านฝังในเสาอากาศ
ตัวอย่างเครื่องอ่านแบบแยกส่วน รูกลมๆที่ยื่นออกมาสี่รู ไว้ต่อเสาอากาศ
ตัวอย่างเช่น ทางเข้าออก bts เราแตะบัตร ไม้กั้นจึงเปิด อย่างที่บอกไปในตอนที่0 แถบแตะบัตรนั้นมีเสาอากาศอยู่ ดังนั้นในบัตรย่อมมีเสาอากาศอยู่เช่นกัน เพื่อรับรับ-ส่งสัญญาณ
ในบัตร bts ตัวเสาเป็นลักษณะชิพเล็กๆฝังอยู่ในบัตร
เมื่อแงะ Tag ออกมาดูด้านใน ตัวขดเส้นรูปสี่เหลี่ยมคือเสาอากาศ
ตัว Microchip ตามรูป ในนั้นมีหน่วยความจำทำหน้าที่เก็บข้อมูล เช่น ตอนเราซื้อบัตร bts จะเก็บข้อมูล สถานีต้นทาง,ปลายทาง,เวลาที่ซื้อ เป็นต้น
ตอนซื้อตั๋วเห็นเครื่องดำๆที่พนักงานวางบัตรมั้ยละครับนั่นแหละเสาอากาศไว้เขียนข้อมูลลงในบัตร
เก็บทำไมเพื่อนๆลองตอบดูครับ
ก็ถ้าเราลงเลยสถานีเมื่อเราแตะบัตร ไม่กั้นย่อมไม่เปิด เพราะข้อมูลสถานีปลายทางใน Tag ที่ส่งกลับไปไม่ตรงกันกับสถานีที่ไม้กั้นตั้งอยู่
แล้วถ้าเพื่อนๆลงก่อนสถานีปลายทางละ ไม่กั้นจะเปิดมั้ย?
อย่างที่ทุกคนคิดถูกแล้วครับ เปิดครับ เพราะราคายังอยู่ในขอบเขตอยู่ คือห้ามลงสถานีเกินราคาตั๋วนั่นเอง
วันนี้สวัสดีครับ-/\-
โฆษณา