24 ส.ค. 2019 เวลา 04:10 • ประวัติศาสตร์
บัญญัติ 10 ประการ บัญญัติแห่งพระเจ้า ตอนที่ 13 (ตอนจบ)
อิทธิพลของบัญญัติ 10 ประการ
บัญญัติ 10 ประการไม่เพียงเป็นรากฐานของศาสนาเท่านั้น ยังส่งผลต่อรัฐบาลอีกด้วย
ภายหลังสงครามปฏิวัติอเมริกา ได้เกิดประเทศใหม่คือ “สหรัฐอเมริกา” 13 อาณานิคมได้กลายเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา
ภายหลังจากสงครามจบลงในปีค.ศ.1783 (พ.ศ.2326) ประเทศเกิดใหม่อย่างสหรัฐอเมริกาไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นตัวกำหนดกฎหมายในประเทศ
“เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin)” หนึ่งในบิดาผู้ก่อตั้งอเมริกา ได้กล่าวว่าประชาชนจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีหากปฏิบัติตามบัญญัติ 10 ประการ
“เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin)”
ในบรรดาสมาชิก 55 คนในที่ประชุมรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา มากกว่า 50 คนเป็นชาวคริสต์
เหล่านักการเมืองที่เขียนรัฐธรรมนูญได้ใช้ความรู้ที่มีในเรื่องของบัญญัติ 10 ประการเพื่อเขียนกฎหมาย แต่ถึงแม้รัฐธรรมนูญและบัญญัติ 10 ประการจะมีความเกี่ยวข้องกัน แต่รัฐธรรมนูญก็ไม่ใช่ศาสนา
ที่ประเทศสหรัฐอเมริกานั้นไม่มีศาสนาประจำชาติ ประชาชนมีสิทธินับถือศาสนาตามที่ตนศรัทธา แต่ในเพลงชาติอเมริกาหรือคำปฏิญาณต่างๆ ก็มีบางท่อนที่เกี่ยวเนื่องกับบัญญัติ 10 ประการ
ที่ประชุมรัฐธรรมนูญ
“In God We Trust (เราเชื่อมั่นในพระเจ้า)” ปรากฎอยู่บนเหรียญของสหรัฐตั้งแต่ปีค.ศ.1864 (พ.ศ.2407) และปรากฎบนธนบัตรตั้งแต่ค.ศ.1957 (พ.ศ.2500)
นอกจากนั้น บัญญัติ 10 ประการยังปรากฎบนงานศิลปะในยุคต่อๆ มา ไม่ว่าจะเป็นงานปั้นหรือภาพวาดต่างๆ
นอกจากนั้นยังมีภาพยนตร์ที่สร้างเกี่ยวกับบัญญัติ 10 ประการ
ภาพยนตร์เรื่องแรกคือ “The Ten Commandments” ซึ่งออกฉายในปีค.ศ.1923 (พ.ศ.2466)
เรื่องที่สองนั้นโด่งดังกว่ามาก นั่นคือ “The Ten Commandments” ซึ่งสร้างในปีค.ศ.1956 (พ.ศ.2499)
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในฐานะภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปีค.ศ.1957 (พ.ศ.2500) และคว้ารางวัลเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม
บัญญัติ 10 ประการซึ่งเขียนมาในอดีตเมื่อนานมากนั้น มีอิทธิพลต่อทั้งประวัติศาสตร์ ศิลปะ ศาสนา จนถึงปัจจุบัน
และเป็นที่ศรัทธาของผู้คนมาจนถึงทุกวันนี้
สำหรับซีรีย์ต่อไป เป็นเรื่องที่เขียนยากแต่ผมคิดว่าสนุกเรื่องหนึ่ง นั่นคือ “พระราชวังเครมลิน (The Kremlin) มรดกโลกแห่งประวัติศาสตร์รัสเซีย”
น่าจะถูกใจคนที่อยากรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของรัสเซีย ฝากติดตามด้วยนะครับ
โฆษณา