27 ส.ค. 2019 เวลา 11:21 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เพจเทคโนโลยี RFID กะเทาะ RFID ในชีวิตประจำวัน สำหรับทุกเพศทุกวัย สั้นๆอ่านตอนรถติด รอขึ้นรถขนส่งมวลชนทั้งหลาย
ตอนที่3
Barcode ที่เราส่วนใหญ่เห็นคงไม่พ้นตามฉลากสินค้า หน้าที่มันก็ไว้สแกนตี๊ดๆข้อมูลสินค้าตอนเราจ่ายเงิน
การทำงานคือตัวอ่านปล่อยแสงเลเซอร์สีแดงๆ มาอ่านแถบสีดำของบาร์โค้ด และได้ข้อมูลกลับไป คล้ายกับ RFID แต่เจ้า RFID เป็นการปล่อยคลื่นวิทยุ
แล้วอะไรคือข้อแตกต่างของสองเทคโนโลยีนี้?
Barcode นั้นมีรูปแบบระยะการอ่านที่แน่นอน นั่นคือต้องเอาปืนเลเซอร์มายิง หรือ จับทาบใกล้ๆกับเลเซอร์ เหมือนที่เห็นตามแคชเชียร์
แต่ในอุสาหกรรมจริงของหรือสินค้ามีเป็นพันๆชิ้น ต้องการความรวดเร็ว และ ถูกต้องด้วย RFID จึงถูกนำเข้ามาใช้งาน
เช่น ต้องการข้อมูลสินค้า500ชิ้นต่อวินาที ดังนั้น Barcode ย่อมเกิดความผิดพลาดได้มากกว่า เพราะ RFID เป็นการปล่อยสัญญาณคลื่นวิทยุออกมา สามารถนำของติด Tag แล้วนำ Tag มาอยู่ในระยะสัญญาณสามารอ่านได้พร้อมกันทันที
RFID ในอุตสาหกรรม
เนื่องจากเสาอากาศเมื่อปล่อยสัญญาณออกมา ก็ฟุ้งไปในอากาศ ทำให้รูปแบบระยะการอ่านกว้างขึ้น กำหนดเป็นระยะที่สัญญาณเข้ม-อ่อนได้
ห้าง Walmart เป็นเจ้าแรกที่ใช้ RFID ในการจัดการสต๊อก ลดความผิดพลาดและประหยัดเวลาไปได้มหาศาลทีเดียว เพราะส่วนการประมวลผลไม่ใช้มนุษย์ที่อาจก่อความผิดพลาดขึ้นได้จากการยิงบาร์โค้ดผิด
การกระจายพัสดุของไปรษณีย์ไทย ก็ใช้ RFID โดยเอา Tag มัดไว้ปากถุง
ตัวอย่างถุงขนส่งไปรษณีย์
ลองคิดสภาพ easy pass ใช้ Barcode สิครับ คงไม่ต้องไปทำงานกันพอดี
ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การนำไปใช้งาน สภาพแวดล้อม งบประมาณเพราะระบบ RFID มีราคาแพง และในปัจจุบันก็มีการนำทั้งคู่มาใช้งานร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
วันนี้สวัสดีครับ-/\-
โฆษณา