29 ส.ค. 2019 เวลา 15:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Telemedicine คือ การใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารต่าง ๆ หรืออุปกรณ์มัลติมีเดีย มาช่วยส่งเสริมด้านการดูแลสุขภาพไม่ว่าจะอยู่ห่างไกลแค่ไหนก็ไม่เป็นอุปสรรคอีกต่อไป
Telemedincine คือ
รากศัพท์ของ Telemedicine มาจากภาษากรีก ซึ่ง สามารถแยกออกเป็น Tele หมายถึง ระยะทาง และ Medicine ที่มีรากศัพท์จากภาษาละตินที่ว่า "Mederi" หมายถึง การรักษา แต่ถ้าจะเรียกเป็นภาษาไทยก็มักจะ ได้ยินว่า “การแพทย์ทางไกล” “โทรเวชกรรม” “โทรเวช ” “คลินิกแพทย์ออนไลน์” “เทเลเมดิซีน” ทัพศัพท์ เป็นต้น
ประโยชน์ Telemedicine (เทเลเมดิซีน)
ประโยชน์ของ Telemedicine คือ ทําให้การรักษาพยาบาลมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงยกระดับมาตรฐานการให้บริการต่างๆ ต่อผู้ป่วย มีความถูกต้อง แม่นยํายิ่งขึ้น
เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงการรักษา ผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลไม่จําเป็นต้องเดินทาง
สามารถเข้าถึงการตรวจรักษาและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ทันท่วงที
การติดตามการรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาล เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน หอบหืด เป็นต้น
ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโดยรวม ระยะเวลาของแพทย์ในการเดินทางเพื่อมารักษาพยาบาล และช่วยให้ผู้ป่วยลดระยะเวลาการนอนพักรักษาในโรงพยาบาล
Telemedicine ยังมีประโยชน์ในการให้การศึกษาทางการแพทย์ เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้คำแนะนำทางการแพทย์
ประโยชน์ของ Telemedicine
รูปแบบของ Telemedicine
ระบบให้คำปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญจะให้คำปรึกษาหรือวินิจฉัยสุขภาพโดยการพูดคุยและสอบถามอาการผู้ป่วยผ่านกล้องวิดีโอเพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัย
ระบบเฝ้าระวัง ตัวอย่างหนึ่งของระบบนี้คือ เฝ้าระวังสุขภาพที่บ้าน โดยการนำอุปกรณ์ตรวจวัดต่างๆ ไปติดตั้งที่บ้าน โดยข้อมูลสัญญาณชีพถ้าสัญญาณชีพที่ส่งมามีความผิดปกติก็จะแจ้งให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาโดยทันที
ระบบให้ข้อมูลสุขภาพ เป็นระบบที่ให้บริการสอบถามความรู้เรื่องสุขภาพ หรือให้คำปรึกษาโรค โดยผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือปรึกษาออนไลน์กับผู้เชี่ยวชาญ
ระบบเรียนรู้ทางการแพทย์ เป็นทั้งแหล่งเรียนรู้และเผยแพร่ความรู้ให้กับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ โดยระบบจะทำหน้าที่รวบรวมความรู้ ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลหรือเผยแพร่ข้อมูลความรู้เพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาได้
รูปแบบการให้บริการข้างบนเป็นเพียงส่วนหนึ่งการแพทย์ทางไกลมีให้บริการในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามพัฒนาการของเทเลเมดิซีน
Telemedicine ยังคงมีอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ทำให้ลักษณะและรูปแบบการบริการในอนาคตอาจเปลี่ยนแปลงไป และมีรูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา
TELEMEDICINE เริ่มต้นเมื่อใด
การใช้ระบบ Telemedicine หรือโทรเวชกรรมนั้นได้เริ่มใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ.1960 ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวได้มีพัฒนาการมาพร้อมๆ กับการพัฒนา ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ในต่างประเทศ โทรเวชกรรมนั้น อาจแบ่งเป็น 2 ยุค คือ
ยุค First Generation Telemedicine (ช่วงต้นปี ค.ศ. 1970) ซึ่งเป็นยุคที่ไม่ประสบ ความสำเร็จเท่าใดนัก เนื่องจากโทรเวชกรรมมีค่าใช้จ่ายสูง และเทคโนโลยียังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
ยุค
The Second Generation Telemedicine (ช่วง ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา) ยุคนี้ถือได้ว่าระบบโทรเวชกรรมได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการแพทย์การสาธารณสุข และด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง
ปัจจุบันในประเทศไทย Telemedicine ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนักเนื่องจาก เป็นเทคโนโลยีที่มีต้นทุนค่อนข้างสูงและยังมีการใช้ไม่มาก แต่ก็มีความพยายามที่จะดำเนินการเป็นโครงการต้นแบบ เพื่อนำเทคโนโลยีนี้เข้าไปช่วยในพื้นที่ห่างไกลที่ด้อยโอกาสทางการแพทย์ ซึ่งอาจจะเหมาะกับโรคที่ใช้คำปรึกษาเยียวยา (Saliva Therapy) มากกว่า
ประเภทของ Telemedicine
Telemedicine มีการประยุกต์ใช้ใน 2 ประเภทพื้นฐานตามระยะเวลาการส่ง ข้อมูลและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน
การจัดเก็บ / การส่งต่อข้อมูลทางการแพทย์ เป็น ระบบการแพทย์ทางไกลที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูล ที่บันทึกไว้ล่วงหน้าระหว่าง 2 คนขึ้นไปในช่วงเวลาที่ ต่างกัน ด้วยอีเมล์ส่งไปยัง ปลายทางโดยระบบประเภทนี้ แพทย์ที่รับข้อมูลไม่สามารถซักประวัติหรือตรวจสอบร่างกายผู้ป่วยได้โดยตรง
การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถโต้ตอบได้ทันที พูดคุยทางโทรศัพท์ การประชุมทางไกล (VideoConferencing) วิธีนี้ช่วยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่อีก สถานที่สามารถซักประวัติผู้ป่วย สั่งตรวจร่างกาย และ ประเมินสภาวะทางจิตใจ จากโรงพยาบาลที่ขอปรึกษาได้
Telemedicine คือ การใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารต่าง ๆ หรืออุปกรณ์มัลติมีเดีย มาช่วยส่งเสริมด้านการดูแลสุขภาพ การรักษาทางด้านการแพทย์ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว แม้ผู้ปวยกับแพทย์จะอยู่ห่างไกลกันเพียงใดก็ตาม
อ้างอิง:
โฆษณา