Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Krisin Indy
•
ติดตาม
30 ส.ค. 2019 เวลา 08:06 • การศึกษา
ผู้แทนพระพุทธเจ้า
ปัญหาที่มีการถามกันอย่างจริงจังและต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่สมัยพุทธกาล ตั้งแต่ก่อนที่พระพุทธจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน จนกระทั่งถึงกาลปัจจุบันวันนี้ว่า
เมื่อพระพุทธองค์ยังทรงพนฝระชนอยู่พระองค์ก็เป็นศาสดาของชาวพุทธทั้งหลาย ชาวพุทธทั้งหลายได้ยึดถือ เคารพ กราบไหว้ บูชา
2
แต่ถ้าพระองค์ไม่อยู่แล้ว พระองค์จะแต่งตั้งพระภิกษุรูปใดให้ดำรงตำแหน่งประมุขสงฆ์แห่งชาวพุทธทั้งหลาย เพื่อให้ชาวพุทธทั้งหลายได้ยึดถือ เคารพ กราบไหว้ บูชา หรือไม่อย่างไร
หรือถ้าพระองค์มิได้แต่งตั้งเอง พระสงฆ์ได้มีการประชุมตกลงกันแต่งตั้งใครเป็นประมุขเพื่อให้ชาวพุทธทั้งหลายได้ยึดถือ เคารพ กราบไหว้ บูชา หรือไม่อย่างไร หรือไม่ ?
คำถามนี้ พระอานนท์ตอบว่า “พราหมณ์ ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่ง ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแต่งตั้งไว้ว่า เมื่อเราล่วงลับดับขันธ์จากโลกนี้ไปแล้วภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของพุทธบิริษัททั้งหลาย ซึ่งชาวพุทธทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้
“พราหมณ์ ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่ง ที่หมู่สงฆ์ที่เป็นพระมหาเถระจะประชุมกันแล้วแต่งตั้งยกให้พระภิกษุรูปนี้เป็นประมุขเป็นที่พึ่งอาศัยของเราชาวพุทธทั้งหลาย
“พราหมณ์ อาตมภาพทั้งหลายไม่ใช่ที่พึ่งอาศัยของชาวพุทธทั้งหลายเลย
พระองค์ตรัสเพียงว่าหากเราตถาคตล่วงลับปรินิพพานจากโลกนี้ไปแล้ว ให้ยึดเอา “ธรรมะเท่านั้น เป็นที่พึ่งที่ อาศัย ยึดถือ เคารพ กราบไหว้ บูชา” นี่เป็นปัจฉิมโอวาทที่พระองค์ประทานแล้ว ก่อนเสด็จนิพพานเล็กน้อย
ความเรื่องนี้คือภายหลังทรงโปรดสุภัททะปริพาชกแล้ว พระพุทธเจ้าประทาน โอวาทพระสงฆ์ โอวาทนั้นเป็นพระพุทธดำรัสสั่งเป็นครั้งสุดท้าย มีหลายเรื่องด้วยกัน เช่น เรื่องหนึ่งเกี่ยว กับพระสงฆ์ยังใช้ถ้อยคำเรียกขานกันลักลั่นสับสนอยู่ คือ
คำว่า 'อาวุโส' และ 'ภันเต'
อาวุโส ตรงกับภาษาไทยว่า "'คุณ'" และ
ภัตเต ตรงกับภาษาไทยว่า "'ท่าน" พระพุทธเจ้าตรัสสั่งว่า
พระที่มีอายุพรรษามากให้เรียกพระบวชภายหลังตน
หรือที่อ่อนอายุ พรรษากว่าว่า 'อาวุโส' หรือ 'คุณ'
ส่วนพระภิกษุที่อ่อนอายุพรรษา พึงเรียกพระที่แก่อายุพรรษากว่าตนว่า 'ภันเต' หรือ 'ท่าน'
เรื่อง อาวุโส ภันเต นี้ ชาวพุทธในไทยก็เข้าใจผิดและใช้ไม่ถูกซะส่วนใหญ่เราใช้คำว่า
อาวุโส เป็น ท่าน ผู้มีอายุมากว่า และเราใช้คำว่า
ภันเต เป็น คุณ อายุน้อยกว่า
แล้วทรงเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ทั้งปวงทูลถามอีก ท่านใดสงสัยอะไรในเรื่องที่พระองค์ทรงสั่งสอนไว้แล้วก็ให้ถามเสีย
จะได้ไม่เสียใจเมื่อภายหลังว่าไม่มีโอกาสถาม
ปรากฏว่าใน มหาปรินิพพานสูตร ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้าใน ข้อสงสัยที่ตนมีอยู่เลย เมื่อก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จนิพพานนั้นพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงตั้งสาวกองค์ใดให้รับตำแหน่ง เป็นพระศาสดาปกครองพระสงฆ์สืบต่อจากพระองค์เหมือนพระศาสดาในศาสนาอื่น
เรื่องนี้ก็ไม่มีพระสงฆ์ องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าก็ตรัสสั่งผ่านพระอานนท์ไว้ชัดเจนก่อนจะนิพพานว่า
อานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราได้แสดงไว้ และ บัญญัติไว้ด้วยดี นั่นแหละจักเป็นพระศาสดาของพวกเธอสืบแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไป แล้ว
แล้ว พระพุทธเจ้าตรัสเป็นปัจฉิมโอวาทครั้งสุดท้ายว่า
"ภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้เราขอเตือน เธอท่านให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลก มีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา
เธอทั้งหลายจงทำหน้าที่ที่เป็นประโยชน์แก่ตนและคนอื่นให้สำเร็จบริบูรณ์ ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
3
ย้ำชัดๆอีกที
1.ไม่มีสิ่งใดเกิดไม่เสื่อมสลาย
มันเป็นเรื่อง ธรรมดาจริงๆ
2.ทำหน้าที่เป็นประโยชน์ให้สำเร็จอย่างไม่ประมาท
หลังจากนั้นก็ไม่ได้ตรัสอะไรอีกเลย จนกระทั่งนิพพานในเวลาสุดท้ายของคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือวันเพ็ญวิสาขะ
ณ ภายใต้ต้นสาละทั้งคู่ที่ออกดอกบานสะพรั่งเป็นพุทธบูชานั่นเอง
ชาวพุทธที่มีหลวงปู่หลวงพ่อพระอาจารย์เป็นที่พึ่งที่อาศัยที่เคารพกราบไหว้ที่บูชา ถึงเวลาหรือยังครับที่เราควรจะแจ้งด้วยปัญญาว่า ธรรมะนั้นสูงกว่าบุคคล
หลวงปู่ฉันดีกว่าวิเศษกว่ามีธรรมะสูงกว่า หลวงพ่อฉันมีปฏิปทาการปฏิตามรอยพระพุทธเจ้าเป็นที่สุด พระอาจารย์ฉันนี่สงบเสงี่ยมเย็นตาเย็นใจเหลือเกิน
แล้วก็พาลตำหนิต่อว่าหลวงปู่ที่ไม่ใช่ของฉัน หลวงพ่อที่ไม่ใช่ของฉัน พระอาจารย์ที่ไม่ใข่ของฉัน นั้นไม่น่าเคารพไม่น่ากราบไหว้ ไม่น่าทำบุญด้วย เท่าพระของฉัน
มาเริ่มต้นศึกษาจากเนื้อหาหลักธรรมแล้วนำไปสู่การปฏิบัติให้เห็นจริงถ้าไม่ถ่องแท้ทุกสิ่งก็ปรึกษครูบาอาจารย์เพิ่ม
หรือเริ่มต้นจากปรึกษาครูบาอาจารย์แล้วมาศึกษาธรรมให้แตกฉาน น่าจะเป็นคุณูประการต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเองน้อ
อ่านแล้วได้คุณค่าช่วยกดไล้ ได้ปัญญาช่วยกดแชร์ อยากให้กำลังใจกดติดตาม ขอบคุณครับ
http://www.84000.org/true/064.html
http://www.84000.org/tipitaka/picture/f76.html
8 บันทึก
68
32
13
8
68
32
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย