30 ส.ค. 2019 เวลา 08:32 • การศึกษา
ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้ม
อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
แหล่งฮูปแต้ม -ภาพเขียนของมนุษย์ ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งบนผืนดินไทย
"แต้ม" เป็นภาษาพื้นถิ่นหมายถึงรอยวาด ระบาย ประทับ หรือการกระทำใดๆโดยใช้สีให้ปรากฎเป็นภาพ สีแดงได้จากหินทรายสีแดงทีมีแร่ธาตุเหล็กฮีมาไทต์ที่เรียกว่า"หินเทศ" ที่ผาแต้มพบภาพเขียนอยู 4 บริเวณตามชื่อหน้าผาเรียงต่อกันไป คือ ผาขาม ผาแต้ม ผาหมอนน้อย และผาหมอน
อยูใต้เพิงผาหินนับวนวงรอบทั้งหมดยาวราว 4 กิโลเมตร บนหน้าผาทรายแดงที่หันไปทางตะวันออกมีความสูงชันประมาณ 30-40 เมตร โดยสูงจากพื้นน้ำโขงข้างล่างราว 160ม บริเวณที่ 2 ที่เรียกว่าผาแต้ม จะเห็นภาพชัดเจนและมากที่สุด
ภาพเขียนสีโบราณก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้มคาดว่ามีอายุ 3-4000 ปี เป็นแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญ ภาพเขียนสีแดงริมหน้าผาบ่งบอกถึงอารยธรรมของคนลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีมาแต่บรรพกาล
1.ผาขาม
จากจุดเริ่มต้นใกล้ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เดินประมาณ 300 เมตร จะพบภาพเขียนกลุ่มแรกภาพอาจเลือนราง ภาพโดดเด่นที่สุดของจุดนี้คือภาพคล้ายปลาบึก ช้าง หรือใบไม้
2.ผาแต้ม
เลาะใต้ผาราว 300 เมตร จะถึงใต้ผาแต้ม จะเห็นภาพสีแดงๆ วาดอยู่บนผนังชัดเจนและเรียงกันยาวถึง 180 เมตร และมีภาพมากกว่า 300 ภาพ สะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำโขง เพราะส่วนใหญ่เป็นภาพของสัตว์ อาทิ ช้าง ปลา วัว เต่า หมาป่า ปลากระเบน รวมถึงภาพคนและอื่นๆ
ภาพในกลุ่มนี้ ยังมีเครื่องดักจับปลาพื้นเมือง ที่เรียกว่า"ตุ้ม" แต่ผู้เชียวชาญบางท่าน สัณนิฐานว่าเป็นเครื่องแต่งตัวชุดพิเศษเพื่อร่วมพิธีกรรมไส่เสื้อคลุม และสวมหมวกสามเหลี่ยม
รูปลอกภาพเขียนบริเวณผาแต้ม
3.ผาหมอนน้อย
ต่อจากผาแต้ม ประมาณ 700 เมตร ก็ถึงผาหมอน คำว่าผาหมอน เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกเพิงผาหินแห่งนี้ เนื่องจากว่ามีหินขนาดใหญ่ 2 ก้อน เรียงคู่กันคล้ายหมอนหิน 2 ใบ วางเรียงอยู่ จึงเป็นที่มาของชื่อ "ผาหมอน" กลุ่มภาพบริเวณนี้คล้ายทำการเกษตรปลูกข้าว ดำนา
4.ผาหมอน
ผาหมอน เป็นเชิงผาแคบๆ มีภาพของคนคล้ายคล้ายใส่กระโปรงและลักษณะอื่นๆ ให้เห็น
การพบภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตรนี้แสดงว่าบริเวณที่เราอยู่อาศัยปัจจุบันนี้ก็เคยเป็นแหล่งที่อยู่อันอุดมสมบูรณ์เรียกได้ว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" และเป็นแหล่งอารยธรรมอยูกันเป็นกลุ่มก้อน เป็นสังคม สร้างบ้านแปงเมือง เพราะมีอุปกรณ์ล่าสัตว์ ทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ จับสัตว์บก สัตว์น้ำใหญๆได้
ตลอดจนมีพิธีกรรมหรือการละเล่น ฟ้อนรำด้วยเครื่องนุ่งห่ม แต่งตัวอย่างสวยงามแล้ว
ถ้าเทียบอายุภาพเขียนกับชุมชนบ้านเชียงจังหวัดอุดรธานีที่คาดว่ามีอายุราว 4-6000 ปี ก็แสดงว่าได้มีชุมชนอย่างน้อย 2 แห่งได้ก่อตัวขึ้นในแถบภาคอีสานนี้แล้วกว่า 4000ปีมาแล้ว
โฆษณา