31 ส.ค. 2019 เวลา 11:11 • ธุรกิจ
มาแล้วๆ มาต่อกันสำหรับเรื่อง งบการเงินที่ว่ายาก ทำไงให้เข้าใจง่าย
บทที่ 2 งบกำไรขาดทุน คือ งบการเงินที่บ่งบอกว่าเราเก่งขนาดไหน(หาเงินเก่ง ใช้เงินเก่ง)​
งบกำไรขาดทุนมีส่วนประกอบ 2 ส่วนและ 1 บทสรุปที่สำคัญต้องรู้ คืิอ
   ✨ ส่วนที่ 1 รายได้ เช่น
   ถ้าเราเป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง มีรายได้จากเงินเดือนต่อเดือน 100,000 บาท อันนี้เป็นรายได้หลักของเรา แต่ถ้าเรามีรายได้เสริมอีกจากการขายของ Online ต่อเดือนอยู่ที่ 20,000 บาท ดังนั้นเราจะมีรายได้รวม 120,000 บาทต่อเดือน Wowwww(เรื่องสมมติ 555)
    แล้วถ้าเป็นบริษัทหล่ะ ไม่ยากๆ เช่น บริษัทนี้จัดตั้งมาเพื่อขายอุปกรณ์ไฟฟ้า ดังนั้นยอดขายหลักก็ต้องมาจากการขายนั่นแหละ สมมติขายอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ทีวี ตู้เย็น แอร์ ได้เดือนละ 500,000 บาท และถ้าบริษัิทมีการบริการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยหล่ะ อันนี้จะถือว่าเป็นรายได้หลักด้วยไหม ชักจะสงสัยเหมือนกันนะ เราเองเคยได้ยินคนถามเรื่องนี้กันบ่อยมาก บางทีถามนักบัญชีที่จ้างมาเค้าก็ไม่ให้ความกระจ่างเราซักที มาๆเราจะอธิบายเพิ่มว่าจะแยกยังไงว่าเป็นรายได้หลักไหม คือ เราต้องดูธุรกิจของเราว่าทำอะไรเป็นหลักบ้าง เช่น ขายสินค้าและให้บริการติดตั้ง ควบคู่กันตลอด อาจจะไม่ใช่ 100% แต่ให้ดูจาก ลักษณะของอุปกรณ์ที่ขายว่าต้องมีการติดตั้งด้วยตลอด เช่นขายแอร์พร้อมติดตั้ง(อันนี้แสดงว่าเรารวมค่าขายแอร์กับค่าติดตั้งเป็นราคาขายแอร์แล้ว)​เป็นต้น ซึ่งประเภทรายได้จากการบริการนี้ก็ต้องนำไปเป็นรายได้หลักด้วยน๊าาาา รู้อย่างนี้แล้วก็ลองเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของแต่ละคนดูนะคะ
✨ ส่วนที่ 2 คือ ค่าใช้จ่าย​ พอมาถึงส่วนนี้ประเภทมันเยอะมากอ่ะ 5555 เป็นเรื่องธรรมดา
      กรณีคนธรรมดาอย่างเราๆ คงรู้อยู่แล้วหล่ะว่าในแต่ละวัน จ่ายอะไรไปบ้าง ค่าข้าว ค่าน้ำ ค่าของใช้ ค่าน้ำมันรถยนต์ ค่าอื่นๆรวมๆต่อเดือน เท่ากับ 50,000 บาท ที่เราจ่ายเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งส่วนมากก็จะไม่ค่อยแยกประเภทค่าใช้จ่ายกันชอบรวมๆเป็นก้อนๆทีเดียว แต่รู้ไหมว่าถ้าเราแยกค่าใช้จ่ายเป็นแต่ละเภท เราจะเห็นว่าในแต่ละเดือนเราใช้จ่ายฟุ่มเฟือยไปกับอะไรบ้าง เราก็ต้องสรุปเก็บข้อมูลไว้ เพื่อที่จะบริหารเงินในกระเป๋าของเรากันด้วยนะคะ จะได้มีเงินเหลือ เอาไปลงทุนเพิ่ม จะได้มีเงินในกระเป๋ากันแบบตุง ตุง ต่อไป
      แต่สำหรับกรณีที่เป็นบริษัท ต้องแยกประเภทกันให้ชัดเจน เพราะอะไรหล่ะ ก็เพื่อนำมาวิเคราะห์ผลการทำธุรกิจของเราอย่างละเอียดว่าจะลดค่าใช้จ่าย หรือจะเพิ่มค่าใช้จ่ายดีไหมน้อ เพื่อให้เรามีเงินมากขึ้นนั่นเอง ดังนั้นค่าใช้จ่ายจึงถูกแบ่งประเภทเป็น
       -​ ต้นทุนค่าสินค้า หรือต้นทุนบริการ ตัวอย่าง เช่น เมื่อกี้เราบอกว่า บริษัทขายเครื่องใช้ไฟฟ้า ดังนั้นเราก็จะต้องมีต้นทุนของสินค้าที่เราซื้อมาขาย(กรณีที่เราซื้อของมาขายต่อ ไม่ได้ผลิตเอง)​ หรือกรณีต้นทุนบริการก็คือค่าแรงที่เราต้องจ้างช่างมาเพื่ิิอติดตั้งอุปกรณ์นั่นเอง เป็นต้น สรุปต้นทุนก็คือค่าใช้จ่ายหลักที่จะทำให้บริษัทได้สินค้าหรือบริการเท่านั้น ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจนะคะ พอมาถึงตรงนี้ทุกคนคงสงสัย อ้าวแล้วพวกค่าน้ำ ค่าไฟ ไม่เป็นต้นทุนเหรอ มาๆอย่าพึ่งรีบร้อน กำลังจะบอกต่อไปค๊าาา
    -​ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ตัวอย่าง เช่น บริษัทจ้างพนักงานขายมาขายสินค้า จ้างบริษัทอื่นเพื่อมาโฆษณาสินค้าของเรา ให้ทุกคนเดากันว่าควรเป็นค่าใช้จ่ายประเภทอะไรน้อออ...................... ชื่อมันก็ชัดเจนอยูแล้ว หนีไม่พ้นเป็นค่าใช้จ่ายในการขายแน่นอน ส่วนค่าใช้จ่ายบริหาร โอ้ยยยยอันเนอะเยอะแยะไปหมด เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ เงินเดือนพนักงานออฟฟิศ และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เราต้องจ่ายประจำๆ ไม่ได้ทำให้เพิ่มรายได้เพิ่มขึ้น ถึงแม้ขายของไม่ได้ก็ยังต้องจ่ายมัน ลองไปสำรวจดูนะเยอะกันขนาดไหนบ้าง บางบริษัทมีค่าเสื่อมราคาของพวกเครื่องใช้สำนักงานอีกด้วยนะ ยิ่งพูดยิ่งเยอะ 5555
     ทั้งต้นทุนและค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เล่ามา มันคือสิ่งที่ท้าทายทั้งเราและบริษัท ว่าถ้ามันเยอะแสดงว่าเรายังเก่งน้อย ทำไมถึงว่างั้นหละ ก็ถ้าเราเก่ง เราต้องหาวิธีที่ลดค่าใช้จ่ายพวกนี้อย่างไรให้เหมาะสมกับรายได้ที่เราได้มาในแต่ละวัน แต่ละเดือน แต่ละปี ซึ่งจุดนี้ต้องขึ้นอยู่ว่าแต่ละคนหรือแต่ละบริษัทตั้งเป้าหมายว่าจะให้มีเงินเหลือเท่าไหร่ หรือมีกำไรเหลืออยู่เท่าไหร่ ถึงจะอยู่รอด หรือจะมีเงินเหลือ มีกำไรเยอะๆ
✨✨บทสรุป งบกำไร(ขาดทุน)​สุทธิ✨✨
👩‍💻 กรณีบุคคลธรรมดา รายได้คือ เงินเดือน 100,000 บาท +รายได้อื่น 20,000 บาท รวมรายได้ 120,000 บาท ค่าใช้จ่าย 50,000 บาท ดังนั้น เรามีกำไร(เงินเหลือ)​70,000 บาท เป็นต้น
     🏢 บริษัทเดือนนี้ มีรายได้ทั้งหมด 500,000 บาท ต้นทุนและค่าใช้จ่าย 300,000 บาท ดังนั้น บริษัทมีกำไร 200,000 บาท เป็นต้น
💰ถ้ามีเงินเหลือ ก็นำเงินไปลงทุนกันต่อนะคะ แต่ถ้าหากเงินหมด หรือขาดทุน ก็ต้องคิดหาวิธีลดค่าใช้จ่ายแบะเพิ่มรายได้ต่อไป เป็นกำลังใจให้ทุกคน ทุกบริษัท สู้ๆกันนะคะ คิดวิเคราะห์ วางแผน อย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ
🍌🍌 งบการเงินที่ว่ายากก็จะง่ายขึ้นมาทันที รีบมาติดตามกันนะคะ😊😊
โฆษณา