5 ก.ย. 2019 เวลา 12:04 • ไลฟ์สไตล์
ฝากเงินที่ไหนดี
ภาพของสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารต่างๆ (ยืมเขามาถ่ายรูปทั้งนั้น)
หลายคนเห็นผมเขียนเรื่องนี้อาจสงสัยว่าเขียนทำไม วันก่อนยังเขียนเรื่องลงทุนอยู่เลย
คืออย่างนี้ครับ พอดีว่านอกจากผมจะติดแอพ blockdit แล้ว ผมยังชอบเข้าไปอ่านกระทู้ห้องสินธรในพันทิป ซึ่งมักจะมีกระทู้ตั้งคำถามว่า อยากเริ่มเก็บเงินเปิดบัญชีเงินฝากที่ไหนดี
ถึงแม้ว่าปัจจุบันเงินฝากจะได้ผลตอบแทนที่น้อยมาก แต่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดก็มีความจำเป็นอย่างมากที่เราต้องมีบัญชีเงินฝาก
ต่อให้เราไปลงทุนในสินทรัพย์อะไรก็แล้วแต่ (ที่ถูกกฎหมายนะ) ก็ยังต้องมีบัญชีเงินฝาก
ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการเขียนบทความนี้นั่นเอง โดยเนื้อหาในบทความนี้จะเป็นการแนะนำบัญชีที่ผมเห็นว่าให้ดอกเบี้ยดี และจำนวนเงินที่จะเปิดบัญชีไม่ได้สูงจนเกินไป แต่จะขอไม่ลงรายละเอียดของบัญชีฝากประจำนะครับ
ก่อนที่จะเข้าประเด็นในหัวข้อของตอนนี้ จะขอกล่าวถึงประเภทบัญชีเงินฝากเสียก่อน
ประเภทบัญชีเงินฝากนั้นหลายๆคนทราบกันดีแล้วว่ามีอยู่ทั้งหมด 3 ประเภทคือ 1. กระแสรายวัน 2. ออมทรัพย์ และ 3. ฝากประจำ
เกริ่นมาซะยาวมากเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า บัญชีที่นำมาเสนอในวันนี้ส่วนใหญ่จะเป็นบัญชีที่ไม่มีสมุดบัญชีเงินฝาก และต้องเปิดใช้งานแอพ หรือ internet banking คู่ไปด้วย
(ข้อมูลทุกอย่างเกิดจากการสืบค้น ณ วันที่ 5 กันยายน 2562)
1. ME SAVE
โฆษณาของบัญชี me save
หากพูดถึงบัญชีเงินฝากที่ดอกเบี้ยสูงๆ หลายๆคนก็จะนึกถึง ME SAVE ของ ME BY TMB
บัญชีนี้มีจุดเด่นคือ ให้ดอกเบี้ยเงินฝากสูงถึง 1.7% โดยจะต้องมีการฝากเพิ่มทุกเดือน และมีการเตือนการเคลื่อนไหวบัญชีผ่าน SMS ฟรี
แต่ก็มีข้อเสียคือ
1. ไม่สามาถทำใดๆธุรกรรมผ่านเคาน์เตอร์ได้เวลาฝากเงินต้องทำการโอนจากบัญชีอื่นหรือฝากผ่านตู้ฝากเงินเท่านั้น
2. กรณีที่ไม่ได้ฝากเงินเพิ่มทุกเดือนดอกเบี้ยจะถูกลดเหลือ 1.4%
3. ผูกบัตรเดบิตไม่ได้
ดังนั้นบัญชีนี้สำหรับผม เหมาะกับการเปิดเป็นบัญชีที่ 2 มากกว่าการใช้เป็นบัญชีหลัก
2. TMB NO FIXED
โฆษณาบัญชี no fixed
เมื่อมีการกล่าวถึง me save ก็มีบางคนนึกถึงบัญชี no fixed
บัญชีนี้จะให้ดอกเบี้ย 1.3% แต่ถ้าเปิดบัญชี TMB all free และมีการเคลื่อนไหวในบัญชี all free เกิน 5 ครั้งต่อเดือนก็จะได้ดอกเบี้ยเพิ่มเป็น 1.6% หรือมีเงินฝากในบัญชี no fixed เกิน 2 ล้านก็ได้ดอกเบี้ย 1.6% ไปเลย
ทั้งนี้บัญชี no fixed เป็นบัญชีเดียวที่กล่าวในบทความนี้ที่มีสมุดบัญชีให้
ข้อเสียของบัญชี no fixed นี้คือ
1. สามารถถอนผ่านเคาน์เตอร์ได้แค่ 2 ครั้งต่อเดือน (แต่ถ้าผ่านแอพไม่จำกัดจำนวนครั้ง)
2. หากเปิดบัญชี all free ด้วยก็จะมีค่าธรรมเนียมแรกเข้า 500 บาท และรายปี 350 บาท (แต่สามารถเวฟค่าธรรมเนียมรายปีได้ถ้ามียอดใช้บัตรเดบิตถึง 15,000 บาทต่อปี)
3. บัญชี no fixed ผูกบัตรเดบิตไม่ได้
3. e-savings ธนชาต
โฆษณาบัญชี e-savings ธนชาต
บัญชีนี้มีข้อดีคือ ได้ดอกเบี้ย 1.5% เลย(เงินฝากไม่เกิน 100,000 บาท) ไม่ต้องฝากเข้าออกตลอดเวลา
ข้อเสียคือ
1. ไม่สามารถทำธุรกรรมผ่านเคาน์เตอร์ได้
2. จะต้องเปิดบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา หรือบัญชีฟรีเวอร์ หรือบัญชีฟรีเวอร์ไลท์ บัญชีใดบัญชีหนึ่งคู่ไปด้วย
3. ผูกบัตรเดบิตไม่ได้
TMRW savings
จากหน้าแอพ TMRW
บัญชีดังกล่าวจะให้ดอกเบี้ยสูงถึง 1.6% เป็นบัญชีที่สามารถเปิดแอพได้เองโดยไม่ต้องผ่านพนักงาน
เมื่อเปิดบัญชีผ่านแอพแล้วต้องไปยืนยันตัวตนที่ตู้ TMRW หากใครเดินผ่านสถานีรถไฟฟ้า หรือสาขาของ UOB ก็จะพบตู้ TMRW
ข้อเสียคือ
1. บัญชี TMRW savings จะต้องเปิดคู่กับบัญชี TMRW everydays (เหมือนบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา)
2. บัญชี TMRW savings ผูกบัตรเดบิตไม่ได้
3. การฝากเงินเข้าบัญชี TMRW savings จะต้องฝากผ่านบัญชี TMRW everydays ซึ่งฝากได้วันละ 1 ครั้งและครั้งละไม่เกิน 3,000 บาท
4. บัญชี TMRW savings ไม่สามารถโอนออกไปยังบัญชีอื่นได้นอกจากบัญชี TMRW everydays เท่านั้น
5. ที่ฝากเงินน้อยมาก
1
บัญชีออมทรัพย์ดิจิทัล ซีไอเอ็มบีไทย
โฆษณา บัญชีออมทรัพย์ดิจิทัล ซีไอเอ็มบีไทย
ส่วนตัวมองว่าบัญชีนี้น่าสนใจที่สุด เพราะให้ดอกเบี้ย 2% จากยอดฝาก 500-100,000 บาท แถมยังให้บัตรเดบิตไปใช้งานอย่างฟรีๆอีกต่างหาก (ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี)
1
ข้อเสียของบัญชีนี้คือ สาขาของ CIMB มีน้อยมาก ทำให้มีที่ฝากน้อย
บัญชีออมทรัพย์อีซี่
โฆษณาบัญชีออมทรัพย์อีซี่
เป็นบัญชีที่มีลักษณะเหมือน e-savings ของธนชาต แต่มีข้อดีกว่าคือ สามารถฝากเงินผ่านเคาน์เตอร์ได้ และให้ดอกเบี้ย 1.5%
ข้อเสียคือ
1. ไม่สามารถผูกบัตรเดบิตได้
2. ถึงแม้ว่าฝากเงินที่เคาน์เตอร์ได้แต่ไม่สามารถถอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ได้ (สามารถกดเงินโดยไม่ใช้บัตรเดบิตผ่านแอพ SCB EASY ได้)
K-esavings
โฆษณาบัญชี k-esavings
เป็นบัญชีที่มีลักษณะเหมือนกับ e-savings ของธนชาต และ บัญชีเงินฝากอีซี่ของไทยพาณิชย์ โดยวิธีการเปิดนั้นหากไม่เคยมีบัญชีของกสิกรมาก่อน สามารถเปิดได้เองผ่านแอพ และไปยืนยันที่ตู้ยืนยันตัวตนได้เลย
บัญชีนี้มีคุณสมบัติเหมือนบัญชีที่มีสมุดของกสิกรเลย และสามารถสมัครบัตรเดบิตได้ และให้ดอกเบี้ย 1.5%(เงินฝากไม่เกิน 100,000 บาท)
ส่วนข้อเสียของบัญชีนี้นั้น ...... ยังนึกไม่ออกใครรู้ช่วยบอกที
แต่ถ้าเทียบดอกเบี้ยกับ scb ซึ่งเป็นธนาคารที่มีขนาดใกล้เคียงกันแล้ว อันนี้ต้องถือว่า scb ให้เยอะกว่าในกรณีที่ฝากเงินเกิน 100,000 บาท
หวังว่าบทความนี้จะแนะนำบางคนที่ยังไม่เคยมีบัญชีเงินฝาก หรือมีแล้วแต่อยากจะเปลี่ยนที่ได้ดอกสูงขึ้น
1
แต่หากแถวบ้านคุณไม่ได้ใกล้กับธนาคารพวกนี้ และไม่สะดวกเปิดบัญชีของธนาคารที่กล่าวข้างต้น แนะนำเปิดบัญชีของธนาคารที่ใกล้บ้านและสะดวกติดต่อครับ
ทั้งนี้การฝากเงินไม่ว่าจะได้ดอกเบี้ยเท่าใด แต่ถ้าคุณได้รับดอกเบี้ยเงินฝากรวมทุกธนาคารแล้วเกิน 20,000 บาทต่อปี อันนี้จะโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% นะครับต้องระวังให้ดี
ดังนั้นหากมีเงินเหลือก็ควรเอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น ถ้ายังไม่รู้ไปลงที่ไหนก็แนะนำซื้อกองทุนครับ (มีการขายซีรีส์ที่ตัวเองเขียน)
และถ้ายังไม่รู้ว่าจะลงกองประเภทไหนดี แนะนำลงกองทุนที่มีสถานะใกล้เคียงกับเงินฝากไปก่อนนั่นคือกองทุนรวมตลาดเงินครับ
สุดท้ายนี้หากชอบบทความนี้อย่าลืมกดถูกใจ และใครที่พึ่งเข้ามาอ่านบทความในเพจนี้อย่าลืมกดติดตามด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
โฆษณา