3 ก.ย. 2019 เวลา 03:43 • ธุรกิจ
“20ปีแห่งความว่างเปล่า” ที่ญี่ปุ่น
ผมเชื่อว่าถ้าพูดถึงประเทศญี่ปุ่นเเล้วละก็ หลายๆคนคงเชื่อว่า ญี่ปุ่นต้องเป็นประเทศที่เศรษฐกิจดีมากๆ แน่นอนเพราะเต็มไปด้วยบริษัทชั้นนำไม่ว่าจะเป็น โตโยต้า ฮอนด้า โซนี่ ยูนิโค่ เเละอีกมากมาย แต่ทุกคนรู้มั้ยครับว่าความจริงเเล้วประเทศญี่ปุ่นนั้นเเทบไม่ได้เติบโตเลยตลอด เกือบๆ 30 ปีที่ผ่านมา….
ช่วงพีคที่สุดของเศรษฐกิจญี่ปุ่นนั้นอยู่ในช่วงปี 1986–1991 ที่เรียกว่าเป็นยุคฟองสบู่ของชาวญี่ปุ่น เพราะมันคือยุคที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นเติบโตอย่างมหาศาล จากประเทศที่พ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกเขาเติบโตขึ้นมาจนกลายมาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจอันดับสองของโลก แต่ภายหลังจากนั้นประเทศญี่ปุ้นก็เเทบไม่เติบโตอีกเลยใน 20 ปีต่อมา
ช่วง 20 ปีที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นซบเซา หรือที่ทุกคนรู้จักกันดีในชื่อ
=================
“The Lost 2 Decades”
=================
เกิดอะไรขึ้นในประเทศญี่ปุ่น และ อะไรคือสาเหตุของวิกฤตนี้ เรามาทำความเข้าใจเเละเรียนรู้จากวิกฤตครั้งนี้กันดีกว่าครับ
หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ประเทศญี่ปุ่นมีการเติบโตที่รวดเร็วมาก เพราะสหรัฐอเมริกาได้เริ่มเข้ามาเเทรกเเซงในประเทศญี่ปุ่น เทคโนโลยีต่างๆจากตะวันตก เริ่มไหลเข้ามาสู่ญี่ปุ่นมากขึ้น
แต่คนญี่ปุ่นไม่ได้เพียงแค่เป็นผู้ใช้สินค้าและบริการจากชาติตะวันตกอย่างเดียว พวกเขายัง copy & development (คล้ายๆกับจีนในปัจจุบัน) โดยเฉพาะสินค้าประเภท Tech คนญี่ปุ่นสามารถพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดีกว่าเดิมได้อีก แถมราคาถูกกว่าด้วย ซึ่งก็เป็นผลพลอยได้จากสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับค่าเงินอื่นภายหลังสงครามโลกนั้นอ่อนค่ามาก ทำให้ต้นทุนโดยเปรียบเทียบเเล้วถูกกว่าประเทศอื่นๆ
ยุคนั้นถือเป็นยุคทองของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ เช่น Sony, Hitachi, Nissan, Sega, Mitsubishi, Honda และ Nintendo โดยบริษัทของญี่ปุ่นในยุคนั้นร่ำรวยมากถึงขนาดที่ว่า Mitsubishi ซื้อตึก Rockefeller Center ด้วยเงินจำนวน 220,000 ล้านเยน และยังมีการกว้านซื้อบริษัทใหญ่ๆ โดยบริษัทจากญี่ปุ่น เช่น Sony Pictures เข้าซื้อ Columbia Pictures และยังรวมถึงการเข้าร่วมสนามแข่ง F1 ของบริษัท Toyota และ Honda
นอกจากนี้จากการบริโภคภายในและการส่งออกที่แข็งแกร่งทำให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น รัฐบาลจึงต้องออกนโยบายการคลังที่เข้มงวดเพื่อกระตุ้นการออมและการลงทุนภาคครัวเรือน เงินสดในระบบธนาคารเพิ่มขึ้นมากจนเกินดุลเงินสด ซึ่งธนาคารต้องระบายเงินสดออกด้วยการให้สินเชื่ออย่างผ่อนปรน ใครอยากกู้เงินก็ขอกู้ได้ไม่ยาก
ในปี 1985 มีหลายประเทศรู้สึกว่าญี่ปุ่นนั้นเอาเปรียบคู่ค้าจนเกินไปจากผลของค่างเงินเยนที่อ่อนค่ามาก จนเกิดข้อตกลงทางการค้าที่เรียกว่า
============
"Plaza Accord"
============
ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่าง 5 ประเทศอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ ฝรั่งเศส, เยอรมนีตะวันตก, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร และสหรัฐ เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นและเยอรมนีเพิ่มค่าเงินของตัวเองเมื่อเทียบกับUS Dollar รัฐบาลทั้งห้าประเทศได้ลงนามข้อตกลงนี้ในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1985 ที่โรงแรมพลาซาใน NewYork
1
เหตุการณ์นี้ถือว่าเป็นการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเงินครั้งแรกของโลก โดยสหรัฐอเมริกาบังคับให้ญี่ปุ่นต้องแข็งค่าเงินจากอัตราแลกเปลี่ยน 250 เยน ต่อ 1 USD ให้แข็งขึ้นเป็น 150 เยน ต่อ 1 USD เท่ากับแข็งค่าขึ้นเกือบ 70 เปอร์เซนต์ ภายในเวลาเพียง 10 เดือน
ซึ่ง Effect จากการเเข็งค่าขึ้นอันรวดเร็วของเงินเยนนั้นส่งผลมหาศาลในโลกของทุนนิยม มันเป็นยังไงมาดูกัน
การเเข็งค่าของเงินเยน 70 % นั่นแปลง่ายๆได้ว่า คนญี่ปุ่นจะใช้เงินซื้อสินค้าที่นำเข้าจากประเทศอื่นได้ในราคาถูกกว่าเดิม 70 % หรือคนญี่ปุ่นไปท่องเที่ยวต่างประเทศจะพักโรงแรม ซื้อข้าวของได้ถูกลง 70 เปอร์เซนต์ เพราะค่าเงินแข็งขึ้น
เพราะฉะนั้น คนญี่ปุ่น รัฐบาลญี่ปุ่นติดใจในการทำให้ค่าเงินแข็งขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1985–1990 ค่าเงินญี่ปุ่นจึงแข็งขึ้นทุกปี จนกระทั่ง 1 USD เท่ากับ 75 เยน ซึ่งหมายถึง แข็งค่าจาก 250 เยนต่อ 1 USD มาเป็น 75 เยนต่อ 1 USD คือ แข็งค่าขึ้นประมาณ 300 % !!!!
แปลว่าค่าเงินเเข็งก็คือดีหนะสิ ? คำตอบก็คือไม่ใช่อย่างนั้นครับ จริงอยู่ที่ว่าถ้าค่าเงินเราเเข็งค่าเท่ากับว่าเราไปซื้อของประเทศอื่นได้ถูกขึ้นก็จริง เเต่ในทางกลับกันมันก็แปลได้ว่าคนอื่นก็มาซื้อของประเทศเราเเพงขึ้นเช่นกัน
และผลจากข้อตกลงพลาซ่าในครั้งนั้น ทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นเข้าสู่ช่วง “ฟองสบู่” ในช่วงปี 1986–1991 บริษัทภาคการผลิตจริง (Real Sector) ใหญ่น้อยในประเทศญี่ปุ่นเริ่มขาดทุน โดยเฉพาะธุรกิจส่งออกขาดทุนหมด (ก็อยู่ดีๆราคาของเเพงขึ้น 3 เท่าใครจะขายได้) ธนาคารญี่ปุ่นไม่อยากปล่อยกู้ให้กับธุรกิจส่งออกที่เคยเป็นตัวชูโรงในยุคก่อน ธนาคารญี่ปุ่นหันมาปล่อยกู้กับธุรกิจเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และธุรกิจเก็งกำไรในตลาดหุ้น
สุดท้าย ตลาดหุ้นพังการซื้อขายลดไปครึ่งหนึ่งของในจุดสูงสุดในเดือนสิงหาคม ปี 1991 และตามมาด้วยราคาอสังหาริมทรัพย์ บ้านที่ดิน และทรัพย์สินต่างๆก็กลับตกฮวบต่ำลงมาสู่ราคาที่เป็นจริงหลังยุคฟองสบู่ที่สูงลิบลิ่ว หนี้เงินกู้ที่ปล่อยออกไปเป็นหนี้เสีย NPL มากมาย
1
ทำให้ระบบการเงินของประเทศชะงักและพิการ และตามมาด้วยวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นในปี 1992 … ซึ่งนับจากวันนั้นดัชนี Nikei ไม่เคยกลับเข้าไปใกล้เคียงจุดนั้นได้เลย [1991 เกือบ 40,000 จุด] ปัจจุบันอยู่เเค่ประมาณ 20,000 นิดๆ
จากจุดนั้นเองเป็นจุดเริ่มต้นของ “The Lost 2 Decades” ที่ GDP ของญุี่ปุ่นทำจุดสูงสุดในปี 1992 ก่อนที่จะทำจุดสูงสุดครั้งไหม่ได้ในปี 2011 เศรษฐกิจของญี่ปุ่นนั้นตกอยู่ในภาวะเงินฝืด ประชาชนไม่กล้าใช้จ่ายเงินในการซื้อของ บริษัทต่างๆก็ไม่กล้าจะลงทุนอะไรออกไป ไหลในระบบไหลหมุนเวียนน้อยมาก ยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน
มาสรุปสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดวิกฤตครั้งนี้ก็คือ
1.การร่วมทำ Plaza Accord ที่ทำให้ค้าเงินเเข็งค่ามากเกินไป
2. ปัญหาการรับคนเข้าทำงานแบบไม่ได้พิจารณาคุณภาพจริงจัง ก็ก่อให้เกิดปัญหาลามมาถึงปัจจุบันเมื่อคนรุ่นนั้นกลายมาเป็นหัวหน้างานที่ไม่ได้มีฝีมือจริงๆ อาศัยแค่อยู่บริษัทมานานเพียงเท่านั้น เพราะในยุคบูมของเศรษฐกิจนั้น คนแทบไม่ต้องทำอะไร แค่สมัครงานไปก็ได้รับการตอบรับแล้ว
3.ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ทิ้งช่วงเวลานานเกินไปก่อนที่จะปรับลดดอกเบี้ยเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ
4. รัฐบาลญี่ปุ่นไม่ยอมให้สถาบันการเงินใหญ่ๆเก่าแก่เหล่านั้นล้ม แต่กลับเอาเงินภาษีของประเทศไปอุ้มค้ำไว้ ทำให้หนี้สินของประเทศพุ่งสูงมากยาวจนถึงปัจจุบัน [200% ของ GDP ญี่ปุ่น]
5. เเละปัจจัยสุดท้าย “ความโลภ” เมื่อค่าเงินเยนแข็งค่า ก็ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยจนไม่ยั้งคิด จนทำให้เกิดปัญหาที่ยังแก้ไขไม่ได้ เป็นมะเร็งร้ายเรื้อรังกัดกินเศรษฐกิจสังคมของญี่ปุ่น ยาวจนถึงปัจจุบัน
===============
เเล้วปัจจุบันเป็นยังไง ??
===============
ปัจจุบันรัฐบาลญี่ปุ่น ให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อการเติบโตระยะยาวเป็นอย่างมาก โดยมีขั้นตอนหลักๆ 3 ขั้นตอน หรือที่เราคุ้นเคยกันดีในชื่อ
ธนู 3 ดอก บางท่านอาจสงสัยว่า ทำไมต้องเป็นธนู 3 ดอก จริงๆ แล้วธนู 3 ดอกนี้มาจากสำนวนโบราณของญี่ปุ่น ที่กล่าวว่า
1
“ธนูดอกเดียวอาจหักได้โดยง่ายดาย ต่างจากธนูที่ถูกผูกรวมกันเป็น 3 ดอก”
ซึ่งทั้ง 3 ดอกประกอบไปด้วย
1. การกระตุ้นทางการเงิน (Monetary Stimulus)
เป็นเครื่องมือ ที่ใช้ในการเพิ่มสภาพคล่อง หรือจำนวนเงินในระบบเศรษฐกิจของประเทศ (Money Supply) ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือที่ได้นิยมมากที่สุดในยุคนี้
ซึ่งในปัจจุบันยาเเรงที่สุดที่ BOJ ใช้ก็คือ ดอกเบี้ยติดลบนั่นเอง ซึ่งมันหมายความว่า
ธนาคารพาณิชย์ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคารกลางญี่ปุ่น ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ต้องการฝากเงินจำนวนมากกว่าเงินฝากสำรองตามที่ธนาคารกลางกำหนด (Reserve Requirement) ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น ต้องการให้ธนาคารพาณิชย์นั้น นำเงินฝากส่วนเกินเข้ามาปล่อยกู้ในระบบ แทนที่จะปล่อยทิ้งไว้เฉยๆที่ธนาคาร
2. การกระตุ้นทางการคลัง (Fiscal Stimulus)
คือการที่ภาครัฐเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เป็นการสร้างงานสร้างรายได้ในระบบเศรษฐกิจ เช่นการสร้าง หรือ พัฒนาระบบสาธารณูปโภคขึ้นพื้นฐาน การกระตุ้นนโยบายพัฒนาต่างๆ
3. การปรับเปลี่ยนทางด้านโครงสร้าง (Structural Reform)
การเข้าร่วมกับการร่วมมือทางเศรษฐกิจของ Trans-Pacific Partnership (TPP) การกระตุ้นให้ผู้หญิงออกมาทำงานมากขึ้น เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีปัญหาแรงงานในระบบที่มีอัตราลดลง รวมถึงประชากรที่แก่ตัวลง (Aging Population) เนื่องจากมีอัตราเกิดที่ต่ำ และการปรับทางด้านโครงสร้างอีกอย่างหนึ่งของญี่ปุ่น ที่คนไทยเราได้รับประโยชน์ไปด้วยคือ การกระตุ้นทางด้านการท่องเที่ยว โดยให้ต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศง่ายขึ้น โดยการยกเลิกวีซ่า
1
หากเราย้อนมองวิกฤตที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะวิกฤตไหน ก็จะพบว่า สาเหตุหลักที่นำมาสู่ความหายนะทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็คือ การที่มูลค่าของกิจการถูกเพิ่มขึ้นจากการเก็งกำไร แทนที่จะเพิ่มจากความสามารถในการผลิตที่แท้จริง (Productivity)
ดังนั้นตราบใด ที่คนเรายังหลงติดกับความโลภ จนละเลยการใช้ความสามารถในการผลิต (Productivity) หรือ ความเป็นจริง (Fact) ตราบนั้น วิกฤตก็จะยังคงหมุนวนกลับมาไม่จบสิ้น
ขอบคุณเเหล่งที่มา
โฆษณา