4 ก.ย. 2019 เวลา 13:47
##จุลินทรีย์ในนมแม่##
พวกเรารู้หรือไม่ ว่าองค์ประกอบในน้ำนมแม่ ก็มีจุลินทรีย์อยู่ ซึ่งจุลินทรีย์ที่ว่านั้นอาจจะเป็น แบคทีเรีย สาหร่าย รา ไวรัส และยีสต์
จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ในการช่วยให้เรามองเห็น
และนมแม่มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อยู่ 2 สายพันธุ์ ด้วยกัน คือ บิฟิโดแบคทีเรียม และแลคโตบาซิลลัส 2สายพันธ์ที่กล่าวนี้จะเป็นจุลินทรีย์ชนิดแบคทีเรีย
เมื่อทารกกินนมแม่ ทารกจะได้รับโปรไบโอติกส์ทางปากผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ของทารกเอง จุลินทรีย์เหล่านี้จะเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นทวีคูณทันทีในลำไส้ของทารก เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
มีการศึกษาวิจัยพบว่าโปรไบโอติกส์ช่วยลดการติดเชื้อต่างๆ และลดการเกิดโรคอุจจาระร่วงได้ (Szajewska H et al, J Pediatr, 2001) โดยทำหน้าที่เหมือนทหารเฝ้าประตูเมืองป้องกันไม่ให้เชื้อโรคทะลุผ่านเยื่อบุลำไส้เข้าสู่ร่างกาย และกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคที่ติดไปกับอาหารเมื่อรับประทานเข้าไป และยังช่วยเพิ่มความสามารถในการดูดซึมแร่ธาตุต่างๆ ที่มีประโยชน์ เช่น วิตามิน บี และกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ยังไม่สมบูรณ์ของทารก ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น คุณแม่จึงควรให้นมแม่แก่ลูกน้อยอย่างเดียวเป็นเวลา 6 เดือน และให้นมแม่นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้ลูกน้อย ซึ่งภูมิคุ้มกันที่ดีจะช่วยให้ลูกน้อยไม่เจ็บป่วยง่าย และมีพัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่อง พร้อมเรียนรู้รอบด้านได้อย่างเต็มศักยภาพ
โฆษณา