5 ก.ย. 2019 เวลา 07:21 • ไลฟ์สไตล์
ความเจ้าชู้ของคนเราจะหยุดตอนไหน…?
อริสโตเติล นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ชาวกรีกได้กล่าวไว้ว่า "มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Human being is social animal)" เขาเชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวอิสระตามลำพังได้ มนุษย์จำเป็นต้องมีการใช้ชีวิตและทำกิจกรรมและดำเนินชีวิตและติดต่อสื่อสารร่วมกันกับบุคคลอื่น ๆ
มนุษย์จึงต้องการมีสังคม มีเพื่อน มีความรัก เพื่อให้ชีวิตไม่รู้สึกเหงา หรือโดดเดี่ยว ซึ่งในปัจจุบัน จิตแพทย์ระบุว่า คนขี้เหงาเข้าข่ายเป็นโรคขาดรัก ซึ่งจะมักขี้เหงาตลอดเวลา เรียกร้องความสนใจและแสดงอาการรัก และหึงหวงรุนแรง แต่เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ (กรมสุขภาพจิต สถาบันราชานุกูล,2559)
คนเราไม่ว่าเพศชายหรือเพศหญิงมักมีความเจ้าชู้แอบแฝงอยู่ในตัวไม่เท่ากัน และจะแสดงอาการเจ้าชู้ไม่เหมือนกัน สามารถระบุพฤติกรรมได้ 2 ลักษณะ
ลักษณะที่ 1 หยุดเจ้าชู้เมื่อมีคู่แล้ว คนลักษณะนี้ จะหยุดมองคนอื่นไปชั่วระยะเวลาหนึ่งเพราะจิตสำนึกบอกว่าตนมีคู่ที่ถูกใจแล้ว ความรู้สึกขาดความรักจะหายไปและความเจ้าชู้ที่เคยมีจะถูกเก็บเงียบเหมือนตะกอนที่กำลังนอนก้น
ลักษณะที่ 2 เจ้าชู้อย่างต่อเนื่อง คนลักษณะนี้ ถึงแม้มีคู่ครองแล้วก็ยังไม่หยุดความเจ้าชู้ยังคงบริหารเสน่ห์และแจกจ่ายความรักอย่างไม่รู้สึกผิด ซึ่งหากใครที่มีแฟนในลักษณะที่ 2 นี้แนะนำว่าต้องทำใจให้เข้มแข็ง หรือไม่ก็บอกลาซะตั้งแต่วันนี้ ยอมเจ็บวันนี้ดีกว่าต้องทนเจ็บปวดทรมานใจไปตลอด
คำถามถามว่า “ความเจ้าชู้ของคนเราจะหยุดตอนไหน…???”
ผมมองว่าความเจ้าชู้ของคนเราจะหยุดได้ก็ต่อเมื่อเราเปลี่ยนวิธีการคิดได้ใหม่ วันนี้ไม่ว่าเราจะไปที่ไหน “ทุกหนทุกแห่งจะมีคนสวยคนหล่ออยู่ทุกที่”
ถ้าเรารักคนที่หน้าตาดี(คนส่วนใหญ่ก็ชอบคนหน้าตาดี) เราไปที่ไหนเราก็จะอยากได้เขาเหล่านั้นมาครอบครองอยู่ตลอดเวลา และมันจะไม่มีวันสิ้นสุด
ตั้ง “สติ” แล้วบอกกับตัวเองว่า “คนสวยคนหล่อมีอยู่ทุกที่ อย่าต้องการแค่นั้น” แต่คนที่จะใช้ชีวิตอยู่กับเราและดูแลกันและกันไปได้ตลอด อาจจะไม่มีอยู่ในทุกที่ที่เราไป
*ดูแลความรักให้เหมือนปลูกดอกไม้ หมั่นรดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน แล้วความรักจะสดใสงดงาม
ขอบคุณสำหรับการติดตาม
Bizhookk
Sep.5, 2019
#Bizhookk #คนเจ้าชู้ #ความรักเหมือนปลูกดอกไม้ #ความเจ้าชู้หยุดตอนไหน
แหล่งข้อมูล
- บ้านจอมยุทธ (ออนไลน์). https://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/social_animals/01.html
- กรมสุขภาพจิต สถาบันราชานุกูล,2559
- ภาพการ์ตูนจาก pinterest
โฆษณา