2 พ.ย. 2019 เวลา 15:28 • ไลฟ์สไตล์
046 🌿India almond tree🌿 หูกวาง
ไม้ยืนต้นสูงสง่าใบเยอะให้ร่มเงาแก่ผู้มาพักพิง แถวบ้านเรียก "ฮ่มกว้าง" น้อยคนจะรู้ว่าต้นหูกวางมีดีกว่าแค่ให้ร่มเงา 🌳🌳🌳
เรามาทำความรู้จัก "หูกวาง" ให้สนิทกันยิ่งขึ้นอีกนิด ตามชื่อสามัญของเค้าก็คือ "India almond" มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชีย
เป็นพันธุ์ไม้ที่ขึ้นตามป่าชายหาดกระจายตามชายฝั่งทะเล พบปลูกทั่วไปตั้งแต่อินเดียจนถึงตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย และยังเป็นต้นไม้พระราชทานประจำจังหวัดตราดด้วย
ต้นหูกวางเป็นพืชทิ้งใบ โดยทั่วไปแล้วจะทิ้งใบ 2 ครั้ง ในรอบ 1 ปี หรือในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือยกุมภาพันธ์ และอีกช่วงในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งก่อนจะทิ้งใบ ใบหูกวางจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีส้มแดง
เครดิต https://www.flickr.com
เมื่อต้นไม้ใหญ่ใบเยอะเริ่มผลัดใบ ชาวบ้านร้านตลาดทั่วไปก็จะกำจัดใบหูกวางด้วย
การเผา โดยเฉพาะช่วงนี้ เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศเริ่มไม่มีความชื้น ใบไม้จะแห้งดีเป็นพิเศษ เหมาะแก่การจุดไฟเผาเป็นอย่างมาก แต่ถ้าทุกบ้านทำแบบนี้จริงๆ
คงไม่ดีแน่ เพราะมันคือสาเหตุของหมอกควัน ที่เต็มไปด้วยค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน PM 2.5
แต่ภูมิปัญญาล้านนาช่วยได้ ด้วยการทำ "เสวียน" โดยทั่วไป จะนิยมสานด้วยไม้ไผ่ล้อมรอบโคนต้นไม้ในระดับความสูง 60-80 เซนติเมตร หรือจะใช้วัสดุเหลือใช้ภายในบ้านมาล้อมรอบโคนต้นไม้ก็ใช้ได้เหมือน
วัตถุประสงค์ของการทำเสวียนก็คือ ใช้เป็นที่เก็บใบไม้ที่ร่วงหล่นลงมา เพื่อหมักเป็นปุ๋ยบำรุงต้นไม้ไปในตัวและช่วยลดการเผาไม้ใบลง ป้องกันปัญหาหมอกควันในชุมชน หากทุกบ้านทำเสวียนไว้ในบ้าน มันเป็นการกำจัดขยะอินทรีย์แบบไม่ต้องพึ่งพา รถเก็บขนะจากเทศบาลเลย
เสวียนทำจากเศษไม้เหลือใช้
หลังจากที่ใบไม้เริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีแดงเข้ม
จำได้ว่าสมัยเมื่อเลี้ยงปลากัด เราจะพากันไปเก็บใบหูกวางสีแดงมาตากแห้ง เพื่อนำมาทำเป็นน้ำหมัก ไว้ใส่ในเหลี่ยม (ขวดสี่เหลี่ยม)ให้ปลากัดอยู่ นักเล่นปลากัดรู้กันดีว่าใบหูกวางแห้งเป็นยาวิเศษสำหรับเจ้าปลานักสู้สวยงามอย่างปลากัด เพราะมีสารแทนนินช่วยทำให้ปลากัดไม่เครียดแถมยังฆ่าเชื้อรักษาแผลของเจ้าปลาน้อยได้อีกด้วย
จากที่มีผู้ใช้ใบหูกวางเลี้ยงปลากัดเฉพาะกลุ่มคนไทย บ้านนักเลงปลากัดจนกลายมาเป็นธุรกิจสร้างรายได้ให้กับหลายคนที่อยู่ในวงการปลากัดจนถึงขั้นส่งออกใบหูกวางแห้งไปต่างประเทศแล้ว ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อละค่ะ ลองเสริทในเวปขายสินค้าออนไลน์ต่างๆ มีผู้ขายใบหูกวางกันหลายเจ้า จากขยะเอะอะเผา กลายมาเป็นสินค้าส่งออกสร้างรายได้อย่างงามให้กับเจ้าของสินค้าไปแล้วนะเวลานี้
เครดิต Lazada
นอกจากใบหูกวางจะเป็นที่นิยมในหมู่นักเล่นปลากัดแล้ว ผลดิบและสุกของหูกวางยังนำมาใช้เลี้ยงนกแก้วได้อีกด้วย ฟาร์มนกแก้วสายพันธุ์ขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ มักจะนำผลหูกวางมาให้เจ้านกแทะเล่นเป็นขนมยามว่าง ช่วยในเรื่องระบบย่อยอาหารของนกและเสริมสร้างความแข็งแรง ให้กับเจ้านกในฟาร์ม🐦🐦🐦
เครดิต https://m.facebook.com/121549555191700/posts/172752103404778/
เนื่องจากผลหูกวางในเมล็ดมีไขมัน โปรตีน สกัดเป็นน้ำมันแล้วไม่มีกลิ่นและมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันแอลมอน เด็กๆสมัยก่อนนิยมเอามาทุบเอาเมล็ดสีขาวข้างในมารับประทาน รสชาติคล้ายกระบก มัน มัน😁
ใบหูกวางยังสามารถนำย้อมสีผ้าฝ้าย
ผ้าไหม ใยกัญชง หรือเส้นใยธรรมชาติอื่นได้ด้วย
เครดิตภาพ http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/tint/?page_id=121
ต้นไม้ต้นเดียวมีคุณสมบัติพิเศษมากมายให้มนุษย์ไว้ใช้ประโยชน์ หากบ้านไหนมี
ต้นหูกวางไว้ในบ้านก็ดูแลเค้าดีดี ทำเสวียนให้เค้าได้กินปุ๋ย อย่าเผาใบเค้าเลยนะคะ
เรามาช่วยกันค่ะ
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
สวัสดี zero-waste alternative
ชอบกดไลก์
กดแชร์
กดติดตามเพจ Plants in garden
เพื่อเป็นกำลังให้แอดด้วยนะจ๊ะ www.blockdit.com/plantsingarden
กราบบบบงามมมม😅🤣😆😍

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา