6 ก.ย. 2019 เวลา 10:53 • ปรัชญา
ซีรีส์แสงชีวิต
ตอน 'พระวินัย 1/2'
'แนวทางวิธีรับประทานอาหาร(ฝึกสติไปด้วยในตัว)อย่างมีกริยา เรียบร้อยสุภาพ งดงาม สำรวม เหมาะสม ในแต่ละคำๆ สมเป็นศิษย์พระตถาคต'
'แนวทางเรื่องอื่นๆ ฯลฯ'
พวกเราช่างโชคดีมีบุญที่สุดที่ได้มาเป็นศิษบ์พระตถาคตเจ้าผู้ทรงตรัสรู้โลกตรัสรู้ธรรมและทรงเป็นผู้รู้ควรไม่ควรกระจ่แจ้ง ทั้งยังทรงเป็นผู้มีจริยาวัตรอันงดงามสมเป็นพระโพธิสัตว์หน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์ ทรงสอนธรรมครอบคลุม สอนทางชัดเจน ทั้งยังทรงให้แนวทางประพฤติปฏิบัติขัดเกลาตนให้มีชีวิตที่ดีงาม ถูกต้อง ปลอดภัย ไม่รุ่มร่าม สง่างาม ไม่ทำและระวังตนไม่ทำสิ่งไม่สมควรหรือไม่พึงประมาท ให้เราเป็นคนงดงามทั้งกายวาจาและใจตราบเท่ายังไม่พ้นทุกข์
พระธรรมวินัยหลายๆ ข้อ แม้จะทรงตั้งไว้เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพระสงฆ์ แต่สาธุชนอย่างเราๆ ก็สามารถเลือกบางข้อมาเป็นข้อคิด เลือกบางข้อมาพัฒนาชีวิตอบรมบ่มตัวเอง แม้แต่กริยามารยาท เราก็จะเป็นผู้งามทั้งกาย กริยา วาจาและใจ ยิ่งๆ ขึ้นไป
ความจริงตั้งใจจะนำเฉพาะเรื่องพระวินัยในการฉันอาหารมานำเสนอ เพราะทรงบัญญัติไว้ละเอียดประณีตมาก ครูบาอาจารย์นำบางข้อมาแปะฝาผนังไว้ในห้องรับประทานอาหารในสถานปฏิบัติธรรม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติน้อมนำมาเป็นหลักในการรับประทานอาหารแต่ละคำๆ ฝึกตน
แต่เนื่องจากต้นฉบับมีพระวินัยเรื่องอื่นๆ ด้วย ล้วนมีประโยชน์ทั้งในการน้อมนำบางข้อมาใช้กับตัวเราเอง ทั้งยังมีประโยชน์ในการได้รู้ได้เข้าใจว่า 'พระ' ที่ปฏิบัติถูกต้อง ตรงตามพระธรรมวินัย เป็นอย่างไร เพราะในฐานะพุทธบริษัทเราจะได้แยกแยะออก เพื่อจะได้ช่วยกันถนอมรักษาพระธรรมวินัยที่แท้และตรงไว้ตราบนานเท่านาน
ลอกมาตามนี้ และไม่มีความรู้พอที่จะทราบหากมีอะไรขาดหล่นหรือเกินออกมาหากมีตกหล่นผิดพลาดขาดเกินอย่างไร น้อมขออภัย น้อมขอขมาในธรรมไว้ ณ ที่นี้
ท่านใดเห็นข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดขาดเกินตรงไหน (เผื่อมีข้อบกพร่องในการก็อปปี้มาและในการมาโพสท์) โปรดเมตตาชี้แนะ จะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง น้อมอนุโมทนาสาธุและขอบพระคุณล่วงหน้า
■■■■■■■■■■■■
สำนวนที่ ๑
■■■■■■■■■■■■
อริยวินัย : “ธัมมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา”
ธัมมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา
2. การฉันอาหาร 30 สิกขาบท
2.
โภชนปฏิสังยุต
หมวดว่าด้วยการฉันอาหาร 30 สิกขาบท
💎
สักกัจจัง ปิณฑะปาตัง ปะฏิคคะเหสสามีติ กะระณียา.
1.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ.
💎
ปัตตะสัญญี ปิณฑะปาตัง ปะฏิคคะเหสสามีติ สิกขา กะระณียา.
2.
ภิกษุพึงทำความศึกว่า เราจักจ้องในบาตรรับบิณฑบาต.
💎
สะมะสูปกัง ปิณฑะปาตัง ปะฏิคคะเหสสามีติ สิกขา กะระณียา.
3.
ภิกษุพึงทำความศึกว่า เราจักรับบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง.
(จักรับบิณฑบาต มีสูปเสมอกัน ที่ชื่อว่า สูปะ มีสองชนิด คือ สูปะ ทำด้วยถั่วเขียว 1 สูปะ ทำด้วยถั่วเหลือง 1 ที่จับได้ด้วยมือ.)
💎
สะมะติตติกัง ปิณฑะปาตัง ปะฏิคคะเหสสามีติ สิกขา กะระณียา.
4.
ภิกษุพึงทำความศึกว่า เราจักรับบิณฑบาตจดเสมอขอบบาตร.
(ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตจนล้น ต้องอาบัติทุกกฏ.)
💎
สักกัจจัง ปิณฑะปาตัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
5.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ.
(ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตโดยรังเกียจ ทำอาการดุจไม่อยากฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.)
💎
ปัตตะสัญญี ปิณฑะปาตัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
6.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักจ้องดูอยู่ในบาตร ฉันบิณฑบาต.
💎
สะปะทานัง ปิณฑะปาตัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
7.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง.
(อันภิกษุพึงฉันบิณฑบาตเกลี่ยให้เสมอ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อฉันบิณฑบาตเจาะลงในที่นั้น ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.)
💎
สะมะสูปะกัง ปิณฑะปาตัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
8.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง.
(อันภิกษุพึงฉันบิณฑบาตมีสูปะพอดีกัน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อฉันแต่สูปะอย่างเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ.)
💎
นะ ถูปะโต โอมัททิต๎วา ปิณฑะปาตัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
9.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ขยุ้มลงแต่ยอด ฉันบิณฑบาต.
💎
นะ สูปัง วา พ๎ยัญชะนัง วา โอทะเนนะ ปะฏิจฉาเทสสามิ…
10.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่กลบแกงหรือกับข้าว ด้วยข้าว.
💎
นะ สูปัง วา โอทะนัง วา อะคิลาโน อัตตะโน อัตถายะ…
11.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ขอแกงหรือข้าวสุก เพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน.
💎
นะ อุชฌานะสัญญี ปะเรสัง ปัตตัง โอโลเกสสามีติ สิกขา กะระณียา.
12.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เพ่งโพนทะนาแลดูบาตรของผู้อื่น.
(อันภิกษุไม่พึงมุ่งหมายจะเพ่งโทษ แลดูบาตรของภิกษุอื่น)
💎
นาติมะหันตัง กะวะฬัง กะริสสามีติ สิกขา กะระณียา.
13.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก.
💎
ปะริมัณฑะลัง อาโลปัง กะริสสามีติ สิกขา กะระณียา.
14.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม.
(อันภิกษุผู้ฉันอาหารพึงทำคำข้าวให้กลมกล่อม ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวใหญ่ ต้องอาบัติทุกกฏ.)
💎
นะ อะนาหะเฏ กะวะเฬ มุขะทะวารัง วิวะริสสามีติ สิกขา กะระณียา.
15.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อคำข้าวยังไม่นำมาถึงเราจักไม่อ้าช่องปาก.
💎
นะ ภุญชะมาโน สัพพัง หัตถัง มุเข ปักขิปิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
16.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราฉันอยู่ จักไม่สอดมือทั้งนั้นเข้าในปาก.
(อันภิกษุกำลังฉันอาหารอยู่ ไม่พึงสอดนิ้วมือทั้งหมดเข้าในปาก)
💎
นะ สะกะวาเฬนะ มุเขนะ พ๎ยาหะริสสามีติ สิกขา กะระณียา.
17.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า ปากยังมีคำข้าว เราจักไม่พูด.
💎
นะ ปิณฑุกเขปะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
18.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันอาหารโยนคำข้าว.
💎
นะ กะวะฬาวัจเฉทะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
19.
ภิกษุพึงความศึกว่า เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว.
(1.ไม่แกล้ง 2.เผลอ 3.ไม่รู้ตัว 4.อาพาธ 5.ฉันขนมที่แข้นแข็ง 6.ฉันผลไม้น้อยใหญ่ 7.ฉันกับแกง 8.มีอันตราย 9.วิกลจริต 10.อาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัิติแล.)
💎
นะ อะวะคัณฑะการะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
20.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย.
💎
นะ หัตถะนิทธูนะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
21.
ภิกษุทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันสลัดมือ.
💎
นะ สิตถาวะการะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
22.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเมล็ดข้าวตก.
💎
นะ ชิวหานิจฉาระกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
23.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น.
💎
นะ จะปุจะปุการะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
24.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงดังจับ ๆ.
💎
นะ สุรุสุรุการะกัง ภิญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
25.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงซูดๆ.
💎
นะ หัตถะนิลเลหะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
26.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ.
💎
นะ ปัตตะนิลเลหะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
27.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันขอดบาตร.
💎
นะ โอฏฐินิลเลหะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
28.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก.
💎
นะ สามิเสนะ หัตเถนะ ปานียะุถาละกัง ปะฏิคคะเหสสามีติ สิกขา กะระณียา.
29.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่รับโอน้ำด้วยมือเปลื้อนอามิส.
💎
นะ สะสิตะุึถึง ปัตตะโธวะนัง อันตะระฆะเร ฉัฑเฑสสามีติ สิกขา กะระณียา.
30.
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดเข้าวในละแวกบ้าน.
บิณฑบาตพอเหมาะกับแกง คือ บิณฑบาต 3 ส่วนแกง 1 ส่วน (วิ.อ. 2/604/451)
■■■■■■■■■■
อาทิพรหมจริยกาสิกขา
⭐ภิกขุวิภังค์ ภาค 1⭐
เวรัญชกัณฑ์
●1.
Pārājikapāḷi ปาราชิกะปาฬิ 1/1.Paṭhamapārājikasikkhāpada ห้ามภิกขุเสพเมถุน
1/2.Dutiyapārājikasikkhāpada ห้ามภิกขุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
1/3.Tatiyapārājikasikkhāpada ห้ามภิกขุฆ่ามนุษย์หรือชักชวนให้ฆ่าตัวตาย
1/4.Catutthapārājikasikkhāpada ห้ามภิกขุอวดอุตริมนุษธัมม์
●2.
Saṃghādisesa สังฆาทิเสสะ
1.Sukkavissaṭṭhisikkhāpada ห้ามภิกขุปล่อยสุกะ
2.Kāyasaṃsaggasikkhāpada ห้ามภิกขุถูกต้องตัวหญิง
3.Duṭṭhullavācāsikkhāpada ห้ามภิกขุพูดเกี้ยวหญิง
4.Attakāmapāricariyasikkhāpada ห้ามภิกขุพูดชมการบำเรอกาม
5. Sañcarittasikkhāpada ห้ามภิกขุเป็นผู้ชักสื่อ
6.Kuṭikārasikkhāpada ห้ามสร้างกุฏิเองโดยไม่มีผู้ถวาย
7.Vihārakārasikkhāpada ห้ามภิกขุสร้างวิหารใหญ่โดยสงฆ์ไม่ได้รับรอง
8.Duṭṭhadosasikkhāpada ห้ามภิกขุใส่ความภิกขุว่าต้องโทษปาราชิกโดยไม่มีมูล
9.Dutiyaduṭṭhadosasikkhāpada ห้ามภิกขุแต่งเรื่องใส่ความภิกขุรูปอื่นว่าต้องโทษปาราชิกโดยไม่มีมูล
10.Saṃghabhedasikkhāpada ห้ามภิกขุทำสังฆเภท โดยยุยงให้สงฆ์แตกกัน
11.Bhedānuvattakasikkhāpada ห้ามภิกขุเป็นพวกของผู้ทำให้สงฆ์แตกกัน
12.Dubbacasikkhāpada ห้ามภิกขุเป็นผู้ว่ายากสอนยาก
13.Kuladūsakasikkhāpada ห้ามภิกขุประทุษร้ายตระกูล โดยทำให้เขาเสื่อมศรัทธา
●3.
Aniyata อนิยตะ
1.Paṭhamaaniyatasikkhāpada ห้ามภิกขุนั่งในที่ลับหูลับตาสองต่อสองกับหญิง
2.Dutiyaaniyatasikkhāpada ห้ามภิกขุพูดเกี้ยวหญิง
⭐ภิกขุวิภังค์ ภาค 2⭐
●4.
Nissaggiya Pācittiya นิสสัคคียปาจิตตีย์
Cīvaravagga จีวรวัคค์
1.Kathinasikkhāpada ห้ามภิกขุเก็บไตรจีวรเกินความจำเป็นมากกว่าสิบวัน
2.Udosita(dutiyakathina)sikkhāpada ห้ามภิกขุอยู่โดยปราศจากไตรจีวรแม้แต่คืนเดียว
3.Tatiyakathinasikkhāpada ห้ามภิกขุเก็บผ้าที่จะทำไตรจีวรไว้เกินกำหนดหนึ่งเดือน
4. Purāṇacīvarasikkhāpada ห้ามภิกขุใช้ภิกขุณีซักไตรจีวร
5.Cīvarapaṭiggahaṇasikkhāpada ห้ามภิกขุรับไตรจีวรจากมือภิกขุณี
6.Aññātakaviññattisikkhāpada ห้ามภิกขุขอไตรจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ
7.Tatuttarisikkhāpada ห้ามภิกขุรับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง
8.Upakkhaṭasikkhāpada ห้ามภิกขุพูดทำนองขอไตรจีวรดีกว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม
9.Dutiyaupakkhaṭasikkhāpada เข้าไปหาผู้ถวายจีวร 2 ราย ให้รวมกันหาจีวรที่ดี
10.Rājasikkhāpada ห้ามภิกขุทวงไตรจีวรจากคนที่รับอาสาซื้อจีวรมาถวายเกินสามครั้ง
โกสิยวรรค
1. การหล่อสันถัตเจือด้วยไหม
2. การหล่อสันถัตด้วยขนเจียมดำล้วน
3. การหล่อสันถัตขนเจียมดำเกิน 2 ใน 4 ส่วน
4. การที่สันถัตเก่าใช้ยังไม่ถึง 6 ปีหล่อของใหม่
5. การหล่อสันถัตไม่นำของเก่าปนลงในของใหม่
6. เดินทางไกลนำขนเจียมไปเิิองเกิน 3 โยชน์
7.การใช้ภิกษุณีให้ซัก, ย้ิอม, สางขนเจียม
8. การรับ ให้รับเงินทอง หรือยินดีที่เขาเก็บไว้ให้
9. การทำการซื้อขาย ด้วยรูปิยะ (เงินตรา)
10. การทำการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ
ปัตตวรรค
1. การเก็บอติเรกบาตร ไว้เกิน 10 วัน
2. บาตรร้าวไม่เกิน 5 แห่ง ให้จ่ายบาตรใหม่
3. การเก็บเภสัช 5 ไว้เกิน 7 วัน
4. การหา-ทำผ้าอาบน้ำฝนนอกเวลาที่กำหนด
5. การให้จีวรแก่ภิกษุอื่นแล้ว โกรธน้อยใจ หรือชิงคืน
6. การขอด้ายมาเองให้ช่างหูกทอเป็นจีวร
7. การให้ช่างทอจีวรดีกว่าผู้ที่จะถวายสั่ง
8. การเก็บผ้าอัจเจกจีวรไว้เกินสมัยทำจีวร
9. การอยู่ป่ามีภัยเก็บจีวรในบ้านเกิน 6 คืน
10. การน้อมลาภที่จะถวายสงฆ์มาเพื่อตน
6. ปาจิตตีย์กัณฑ์
มุสาวาทวรรค
1. การพูดให้คลาดเคลื่อนจากความจริง
2. การพูดเสียดแทงให้เจ็บใจ
3. การพูดส่อเสียดให้ทะเลาะกัน
4. การใช้ให้ผู้มิได้บวชกล่าวธรรม โดยบท
5. การนอนร่วมกับผู้ไม่ได้บวช เกิน 3 คืน
6. การนอนร่วมกับผู้หญิง
7. พูดธรรมแก่ผู้หญิงโดยไม่มีผู้ชายอยู่เกิน 6 คำ
8. การบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช
9. การบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช
10. การขุด หรือใช้ให้ขุดดิน
ภูตคามวรรค
1. การพรากต้นไ้ม้
2. การพูดเฉไปเมื่อถูกสอบสวน
3. การติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบธรรม
4. การวางเตียงตั่งสงฆ์ในที่แจ้ง หลีกไปไม่เก็บที่
5. การปูที่นอนในวิหารสงฆ์ หลีกไปไม่เก็บที่
6. นอนแทกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อนในวิหารสงฆ์
7. การฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์
8. นั่งนอนทับเตียงตั่งที่อยู่บนร้านในวิหารสงฆ์
9. การพอกหลักคาวิหารเกิน 3 ชั้น
10. การรดน้ำที่มีตัวสัตว์ลงบนหญ้าหรือดิน
โอวาทวรรค
1. การสอนนางภิกษุณีโดยมิได้รับมอบหมาย
2. การสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้ว
3. การไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่
4. ติเตียนภิกษุว่าสอนภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ
5. การให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
6. การเย็บจีวรให้แก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
7. การชักชวนเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี
8. ชักชวนนางภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกัน
9. การฉันอาหาร ที่นางภิกษุณีแนะนำให้เขาถวาย
10. ภิกษุรูปเดียวนั่งในที่ลับกับนางภิกษุณีผู้เดียว
โภชนวรรค
1. การฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน 1 มื้อ
2. การฉันเป็นหมู่ ยกเว้นในสมัยที่ทรงอนุญาต
3. การรับนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น
4. การรับบิณฑบาตเกิน 3 บาตร
5. ฉันเสร็จแล้วห้ามภัตแล้วฉันของที่ไม่เป็นเดน
6. การพูดให้ภิกษุที่ห้ามภัตแล้วฉันอีก
7. การฉันอาหารในเวลาวิกาล
8. การฉันอาหารที่เก็บทำการสั่งสม
9. การขออาหารประณีตมาเพื่อตนแล้วฉัน
10. การฉันอาหารที่เขายังไม่ได้ให้
อเจลกวรรค
1. การมอบอาหารให้นักบวชอื่นด้่วยมือตน
2. การชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไ่ล่กลับ
3. การนั่งแทรกแซงในที่มีเฉพาะหญิงกับชาย
4. ภิกษุผู้เดียวนั่งในที่ลับ คือในที่กำบังกับผู้หญิง
5. ภิกษุผู้เดียวนั่งในที่ลับกับผู้หญิงผู้เดียว
6. การรับนิมนต์แล้วไปสู่ที่อื่นไม่บอกลาภิกษุ
7. ยินดีปวารณาเกิน 4 เดือน เว้นแต่เขากำหนด
8. การไปเพื่อดูกองทัพที่ยกไป
9. เมื่อมีเหตุที่จะพักอยู่ในกองทัพพักเกิน 3 คืน
10. การไปสู่สนามรบ ที่พักพล ที่จัดขบวนทัพ
สุราปานวรรค
1. การดื่มสุราและเมรัย
2. การจี้ด้วยนิ้วมือ
3. การหัวเราะในน้ำ
4. อาบัติปาจิตตีย์เพราะความไม่เอื้อเฟื้อ
5. การหลอนภิกษุ
6. การก่อไฟเพื่อผิง
7. การอาบน้ำก่อน 15 วัน(ในมัชฌิมประเทศ)
8. การไม่ทำเครื่องหมายให้เสียสีก่อนใช้ผ้าใหม่
9. เกี่ยวกับการไม่ได้ให้เขาถอนจีวรที่วิกัปไว้ก่อนใช้
10. การซ่อนบริขารของภิกษุอื่น
สัปปาณวรรค
1. การฆ่าสัตว์
2. การบริโภคน้ำมีตัวสัตว์
3. การรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว
4. การปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น
5. การอุปสมบทให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
6. รู้อยู่ชัวชวนพวกโจรเดินทางร่วมกัน
7. การชวนผู้หญิงเดินทางไกลร่วมกัน
8. การกล่าวตู่พระธรรมวินัย
9. การคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
10. การคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
สหธัมมิกวรรค
1. การพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว
2. การกล่าวติเตียนสิกขา่บท
3. การพูดแก้ตัวว่าเพื่อรู้ว่ามีมาในปาติโมกข์
4. การทำร้ายร่างกายภิกษุ
5. การเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ
6. การโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล
7. การก่อความรำคาญแ่ก่ภิกษุอื่น
8. การแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน
9. การมอบฉันทะแล้ว พูดติเตียนในภายหลัง
10. การลุกไปขณะประชุม โดยไม่มอบฉันทะ
11. การร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ติเตียน
12. การน้อมลาภที่จะถวายสงฆ์มาเพื่อบุคคล
รัตนวรรค
1. การไม่ได้รับแจ้งก่อนเข้าไปตำหนักพระราชา
2. การเก็บของมีค่าที่ตกอยู่เว้นแต่ที่ตกในที่พัก
3. การเข้าบ้านในเวลาวิกาลไม่บอกลาภิกษุ
4. ให้ทำกล่องเข็มที่ทำด้วยกระดูก งา เขาสัตว์
5. การให้ทำเตียงตั่งที่มีเท้าสูงเกินประมาณ
6. การให้ทำเตียงตั่งเป็นของหุ้มนุ่น
7. การให้ทำผ้าปูนั่งที่มีขนาดเกินประมาณ
8. การให้ทำผ้าปิดฝีที่มีขนาดเกินประมาณ
9. ให้ทำผ้าอาบน้ำฝนที่มีขนาดเกินประมาณ
10. การให้ทำจีวรที่มีขนาดเกินประมาณ
●7. ปาฎิเทสนียกัณฑ์
1. การรับของฉันจากมือนางภิกษุณีมาฉัน
2. การไม่ไล่นางภิกษุณีที่สั่งให้เขาถวายอาหารมาฉัน
3. การรับอาหารในสกุลที่เป็นเสกขสมมติ
4. การอยู่ป่าที่มีภัยรับอาหารที่ไม่ได้แจ้งไว้ก่อน
●8. เสขิยะกัณฑ์
1. ควา่มเหมาะสมแก่สมณเพศ 26 สิกขาบท
2. การฉันอาหาร 30 สิกขาบท
3. การแสดงธรรม 16 สิกขาบท
4. เบ็ดเตล็ด 3 สิกขาบท
9. อธิกรณสมถะ
อภิสมาจาริกาสิกขา
มหาวรรค ภาค 1
1. มหาขันธกะ ว่าด้วยเหตุการณ์ในสมัยที่ตรัสรู้ใหม่ ๆ
2. อุโบสถขันธกะ ว่าด้วยอุโบสถ และการแสดงปาติโมกข์
3. วัสสูปนายิกาขันธกะ ว่าด้วยการจำพรรษา
4. ปวารณาขันธกะ ว่าด้วยการให้ภิกษุอื่นว่ากล่าวตักเตือนได้
มหาวรรค ภาค 2
1. จัมมขันธกะ ว่าด้วยรองเท้า ยานพาหนะ ที่นั่งที่นอน ฯลฯ
2. เภสัชชขันธกะ ว่าด้วยเภสัช 5 การฉัน การเก็บอาหาร
3. กฐินขันธกะ ว่าด้วยกฐิน
4. จีวรขันธกะ ว่าด้วยจีวร การตัดจีวร และการใช้ผ้าต่าง ๆ
5. จัมเปยยขันธกะ เหตุการณ์ในกรุึงจำปา วิธีลงโทษของสงฆ์
6. โกสัมพิขันธิกะ เหตุการณ์ในกรุงโกสัมพีว่าด้วยสงฆ์แตกแยก
จุลวรรค ภาค 1
1. กัมมขันธกะ ขยายความลงโทษเพื่อให้แก้ไขพฤติกรรม
2. ปริวาสิกขันธกะ วิธีการอยู่ปริวาสเพื่อออกจากอาบัติ
3. สมุจจยขันธกะ เรื่องการออกจากอาบัติสังฆาทิเสสต่าง ๆ
4. สมถขันธกะ วิธีระงับอธิกรณ์
จุลวรรค ภาค 2
1. ขุททกวัตถุขันธกะ ว่าด้วยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ
2. เสนาสนขันธกะ เสนาสนะ ตั้งเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์
3. สังฆเภทขันธกะ การทำสงฆ์ให้แตกกัน
4. วัตตขันธกะ ข้อปฏิบัติตามฐานะ ข้อปฏิบัติต่อสิ่งต่าง ๆ
5. ปาฏิโมกขฐปนขันธกะ งดแสดงพระปาติโมกข์
6. ภิกขุณีขันธกะ ความเป็นมาของนางภิกษุณี
7. ปัญจสติกขันธกะ ประวัติการทำสังคายนาครั้งที่ 1
8. สัตตสติกขันธกะ ประวัติการทำสังคายนาครั้งที่ 2
(ส่วนต่อไปนี้ไม่ได้ตัดออก เป็นหัวข้อที่สำหรับผู้สนใจสามารถลองเปิดตามอ่านตามลิงค์ด้านล่างจะเห็นว่าทรงมอบมรดกธรรมมรดกวินัยอันเลิศละเอียดยิบไว้ให้กับพวกเรา)
พระอริยวินัย ที่มาในพระไตรปิฎกเล่มอื่นๆ
อานิสงค์ในการเรียนวินัย
ชื่อประเภทแห่งอาบัติและวิเคราะห์ความหมาย
ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ 5 สองหมวด
ภิกษุผู้สมาทานธุดงค์ 13
จุลศีล, มัชฌิมศีล, มหาศีล
จุลศีล
มัชฌิมศีล
มหาศีล
กุศลศีลทั้งหลาย มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์?
พรหมจรรย์นี้มีอะไรเป็นอานิสงส์ เป็นยอด เป็นแก่น เป็นใหญ่?
ถ้าภิกษุเป็นอยู่โดยชอบ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์
พระธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ
ผู้มีธรรมเป็นที่พึ่ง
อริยวงศ์ 4
ทรงชักชวนฉันอาหารวันละหนเดียว
อะไรชื่อว่าขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์
พระเจ้าปเสนทิโกศลพรรณาคุณพระภิกษุในธรรมวินัยนี้
มองดูกันและกันด้วยสายตาแห่งความรักอยู่ ได้อย่างไร
ภิกษุสงฆ์อยู่ด้วยอาการอย่างไร จึงชื่อว่าอยู่เป็นผาสุก
ทรงพอพระทัยความสามัคคีเป็นอย่างยิ่ง
ทรงประณามภิกษุที่ทะเลาะวิวาทกัน
มูลเหตุแห่งความวิวาทและวิธีระงับ
อปริหานิยธรรม แบบที่ 1
อปริหานิยธรรม แบบที่ 2
หลักใหญ่สำหรับอ้างเพื่อสอบสวนเทียบเคียงพระธรรมวินัย
ทรงเตือนให้สามัคคี มีสติ ปัญญาเมื่ออยู่ร่วมกัน
หลักการเลือกสถานที่และบุคคลที่ควรเสพไม่ควรเสพ
เพียรแต่พอดี
แต่ก็ไม่ให้เนิ่นช้า
ภิกษุเพียรตลอดเวลาทำอย่างไร ?
อานิสงส์สำหรับผู้ทำศีลให้สมบูรณ์
ตายนะคาถา
ภาคผนวก
วิธีพินทุและอธิษฐานบริขาร
วิธีัถือนิสัย
คำอธิษฐานเข้าพรรษา
คำขอขมาโทษ
คำเสียสละของเป็นนิสสัคคีย์
สมณกัปปะ
วิธีแสดงอาบัติ
กรรมวาจาสมมติเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์
กรรมวาจาสมมติกัปปิยภูมิ
ประเภทของอุโบสถ
ปาติโมกขุทเทส 5
วิธีมอบปาริสุทธิ และมอบฉันทะ
วิธีงดปาติโมกข์แก่ภิกษุ
วิธีกระทำเมื่อสงฆ์ต้องสภาคาบัติ
บุพพกรณ์-บุพพกิจ
บุพพกรณ์-บุพพกิจ(แปล)
ภิกขุปาติโมกข์ฺ
ปวารณา
กรรมวาจากฐิน
ภาคพิเศษ
ส่วนสรุปหลักเกณฑ์ฺวิธีการระงับอธิกรณ์
ส่วนช่วยศึกษาค้นคว้าสิกขาบทที่มีลักษณะเดียวกัน
ก. กลุ่มสิกขาบทเกี่ยวกับนิสสัย 4 (ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต)
ข. กลุ่มสิกขาบทเกี่ยวกับอกรณียกิจ 4 (สิ่งที่บรรพชิตไม่ควรทำ)
ค. กลุ่มสิกขาบทเกี่ยวกับอาจารวิบัติ (ผิดจรรยามารยาทของสมณะ)
ง. กลุ่มสิกขาบทเกี่ยวกับทิฎฐิวิบัติ (ความเห็นผิด)
จ. กลุ่มสิกขาบทเกี่ยวกับอาชีววิบัติ (การเลี้ยงชีพที่ผิดของบรรพชิต)
ฉ. กลุ่มสิกขาบทเกี่ยวกับสังฆสามัคคี (ความพร้อมเพรียงในหมู่สงฆ์)
ส่วนดัชนี(ค้นหาคำ เรียงลำดับตามอักษร)
ดัชนีเนื้ื่อเรื่องพระวินัย
ดัชนีเนื้อเรื่องพระธรรม
ดัชนีชื่อเฉพาะ(อสาธารณนาม)
สรุปกรรมวาจาในกิจของสงฆ์ที่ทรงบัญญัติไว้ ที่มีในพระไตรปิฎก
บันทึกท้ายเล่ม
■■■■■■■■■■■■
สำนวนที่ ๒
■■■■■■■■■■■■
การฉันของภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
กราบเรียนถามท่านอาจารย์ และผู้มีความรู้ครับ
รบกวนสอบถามเพื่อเป็นความรู้ครับ เกี่ยวกับการฉันอาหารของพระภิกษุในธรรมวินัยนี้ พระศาสดาท่านทรงมีข้อบัญญัติของการฉันไว้อย่างไรบ้างครับ เราจะได้บอกต่อคนที่ยังไม่รู้เพื่อให้เกิดรู้ แลจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเวลานำอาหารไปถวายภิกษุ ครับ
ด้วยความขอบคุณอย่างยิ่ง
ความคิดเห็นที่ 1
มารยาทอันดีงามในการฉันภัตตาหารของพระภิกษุ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เรียกว่า เสขิยวัตร(ข้อประพฤติที่ดีงาม ที่จะต้องศึกษาและน้อมประพฤติตาม) มีทั้งหมด ๓๐ ข้อ ดังนี้
๑.
พึงศึกษาว่า “เราจักรับบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ.”
๒.
พึงศึกษาว่า “เราจักจ้องดูอยู่ในบาตรรับบิณฑบาต.”
๓.
พึงศึกษาว่า “เราจักรับบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน.”
๔.
พึงศึกษาว่า “เราจักรับบิณฑบาตเสมอขอบ.”
๕.
พึงศึกษาว่า “เราจักฉันบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ.”
๖.
พึงศึกษาว่า “เราจักจ้องดูอยู่ในบาตรฉันบิณฑบาต.”
๗.
พึงศึกษาว่า “เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง.”
๘.
พึงศึกษาว่า “เราจักฉันบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน.”
๙.
พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ขยุมลงแต่ยอดฉันบิณฑบาต.”
๑๐.
พึงศึกษาว่า “เราจักไม่กลบแกงก็ดี กับข้าวก็ดี ด้วยข้าวสุก อาศัยความอยากได้มาก.”
๑๑.
พึงศึกษาว่า “เราไม่อาพาธ จักไม่ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน.”
๑๒.
พึงศึกษาว่า “เราจักไม่เพ่งโพนทะนาแลดูบาตรของผู้อื่น.”
๑๓.
พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก.”
๑๔.
พึงศึกษาว่า “เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม.”
๑๕.
พึงศึกษาว่า “เมื่อคำข้าวยังไม่นำมาถึง เราจักไม่อ้าช่องปาก.”
๑๖.
พึงศึกษาว่า “เราฉันอยู่ จักไม่สอดมือทั้งนั้นเข้าในปาก.”
๑๗.
พึงศึกษาว่า “ปากยังมีคำข้าวเราจักไม่พูด.”
๑๘.
พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ฉันเดาะ คำข้าว.”
๑๙.
พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว.”
๒๐.
พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ฉันทำให้ตุ่ย.”
๒๑.
พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ฉันสลัดมือ.”
๒๒.
พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ฉันทำเมล็ดข้าวตก.”
๒๓.
พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ฉันแลบลิ้น.”
๒๔.
พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ฉันทำเสียงจับๆ.”
๒๕.
พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ฉันทำเสียงซูดๆ”
๒๖.
พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ฉันเลียมือ.”
๒๗.
พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ฉันขอดบาตร.”
๒๘.
พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก.”
๒๙.
พึงศึกษาว่า “เราจักไม่รับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส.”
๓๐.
พึงศึกษาว่า “เราจักไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน.”
...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆท่านครับ...
ความคิดเห็นที่ 2
เรียนถามอาจารย์คำปั่นค่ะว่า คำว่า สูปะ แปลว่าอะไรคะ และในข้อ 7 เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง หมายความว่าอย่างไรคะ ส่วนข้ออื่นๆ พอจะเดาความหมายได้ค่ะ
ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ
ความคิดเห็นที่ 3
อ้างอิงจาก ความคิดเห็นที่ 2 โดย วิริยะ
เรียนถามอาจารย์คำปั่นค่ะว่า คำว่า สูปะ แปลว่าอะไรคะ และในข้อ 7 เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง หมายความว่าอย่างไรคะ ส่วนข้ออื่นๆ พอจะเดาความหมายได้ค่ะ
ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ
-คำว่า สูปะ หมายถึง แกงประเภทต่างๆ ครับ
-จากสิกขาบทที่ว่า เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง ก็แสดงถึงกิริยาที่งดงามในการบริโภคอาหาร คือ ภิกษุ พึงฉันบิณฑบาตเกลี่ยให้เสมอกัน หากภิกษุใดไม่เคารพในพระวินัย ฉันบิณฑบาตเจาะลงในที่นั้นๆ ต้องอาบัติทุกกฏ ครับ.
ความคิดเห็นที่ 4
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
เพจ 'ธรรมะเน้นๆ A Great Degree Dhamma'
วันศุกร์ที่ ๖ กันยาน พุทธศักราช ๒๕๖๒
วันพระ วันขึ้น ๘ ค่ำ เดือย ๑๐

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา