6 ก.ย. 2019 เวลา 09:27 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Tasmanian Tiger สูญพันธุ์เพราะมนุษย์
83 ปีผ่านไป เทคโนโลยี Cloning ช่วยคืนชีพได้ไหม?
วันนี้ (6 กันยายน 2019) ครบรอบ 83 ปี ที่เสือทัสมาเนียนสูญพันธุ์ไปจากโลกเรา โดยฝีมือมนุษย์ ทำให้คนในรุ่นเราแทบไม่เคยเห็นตัวจริงของเสือชนิดนี้
คลิปเสือทัสมาเนียนในสวนสัตว์ที่เคยมีการบันทึกไว้ ก่อนสูญพันธุ์
Tasmanian Tiger นับว่าเป็นสัตว์สายพันธุ์ผู้ล่า ประจำบนแผ่นดินออสเตรเลียและนิวกินี
แม้จะหน้าตามุ้งมิ้ง คล้ายสุนัข และมีกระเป๋าหน้าท้องแบบจิงโจ้ ซึ่งเรียกว่าเป็น พวกมาร์ซูเพียล (marsupial)
จุดเด่นของเสือพันธุ์นี้ คือลายขวาง ตั้งแต่ช่วงกลางหลังถึงโคนหาง ที่ดูแล้วเหมือน ใครไปแอบป้ายสีทาไว้ เก๋ไก๋ไม่ใช่เล่น
ที่เสือทัสมาเนียนสูญพันธุ์ อาจเกิดจากการปรับตัวได้น้อย เมื่อต้องย้ายถิ่นตามแหล่งอาหารที่ขาดแคลน ซึ่งมาจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น ส่งผลต่อระบบนิเวศ ในช่วง 3-6 พันปีที่แล้ว
และที่สำคัญที่เป็นปัจจัยเร่ง คือ การไล่ล่าของมนุษย์ที่รุกล้ำพื้นที่ป่าบนเกาะ..ถิ่นอาศัยของ Tasmanian Tiger
หลายคนรู้จักแกะดอลลี่ จากการโคลนนิ่ง Cloning ที่ทำสำเร็จ ในปี ค.ศ.1997 โดย Wilmut และคณะ
โดยหลักการ คือ การสร้างสัตว์ใหม่ขึ้นมา ไม่ต้องมีการผสมพันธุ์แบบปกติ
นั่นคือ เป็นการทำใน Lab ที่จะเอานิวเคลียสที่มี DNA ของเซลล์ ที่ต้องการจำลอง (A) ไปใส่ในเซลล์ไข่ที่สมบูรณ์ (B) ที่เอา DNA ของ (B) ออกแล้ว
แล้วควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ให้ดีที่สุด
เพื่อให้สามารถคลอดออกมาเป็น “ลูกสัตว์” ที่มีชีวิต โดยมีพันธุกรรมต่าง ๆ เหมือน DNA (A) เรียกเทคนิคลักษณะนี้ ว่าเป็น nuclear transfer technique
กรณีของแกะดอลลี่ ใช้เซลล์จากเต้านมแกะ
(เราเรียก เซลล์ที่ไม่ใช่เซลล์สืบพันธุ์อย่างไข่และสเปิร์ม ว่า somatic cell ซึ่งเซลล์จากเต้านมของแกะ ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ใช้ในการ cloning สำเร็จ)
แต่สูตรสำเร็จที่แท้จริงย่อมไม่มี
ความยุ่งยากอยู่ตรงไหน
หากอยากคืนชีพให้เสือน้อยทัสมาเนียน ต้องเอา DNA ออกมา (จากไหน??)
โชคดีที่มีการเก็บ DNA ของลูกเสือน้อยไว้ ก่อนมันจะสูญพันธุ์ เมื่อ 110 ปีมาแล้ว (อาจใช้ได้?)
Andrew Pask หัวหน้าทีมวิจัย จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น (University of Melbourne) พยายามผลักดันทำให้โปรเจคโคลนนิ่ง Tasmanian Tiger เป็นจริง ตั้งแต่ปี 2008
1
โดยการสกัด DNA ออกมาจากส่วนกระดูกแข็งและกระดูกอ่อน ของชิ้นส่วนตัวอย่าง เพื่อฉีดลงในเซลล์ตัวอ่อนของหนู (mouse embryo)
ถ้าเทียบกับหลักการ คือ เซลล์จากกระดูกและกระดูกอ่อนจากซากเบบี้เสือทัสมาเนียน คือ (A) และเซลล์ตัวอ่อนหนู คือ (B)
ดูเหมือนจะดีแล้วใช่ไหม ทุกคนก็ลุ้นเช่นนั้น
แต่ปัญหาคือ 750 specimens (ชิ้นส่วนย่อยๆ) ที่เก็บรักษาไว้ มันมี DNA ที่ยัง active ได้น้อยมาก ๆ จึงทำให้การ cloning ไม่สำเร็จ
แต่ยังเห็นความคืบหน้า ในรูป ว่า DNA ที่สกัด มาทำหน้าที่ควบคุมพัฒนาการของกระดูกส่วนต่าง ๆ ของเซลล์ตัวอ่อนหนู (ตามที่เห็นเป็นลายเส้นสีฟ้า ๆ).. น่าอัศจรรย์
แม้ขณะนี้ ยังทำการ cloning ไม่สำเร็จตามหวัง
แต่คณะวิจัยของ Andrew Pask ก็ยังไม่สิ้นความหวังเสียทีเดียว เพราะยังมีแสงไฟน้อย ๆ จากเทียนไขอีก 13 เล่ม นั่นคือ
ซากเสือน้อยทัสมาเนียน 13 ตัว ที่ได้เคยผ่าออกมาจากกระเป๋าหน้าท้องของตัวแม่ ยังเก็บรักษา (เรียกง่าย ๆ ว่า ดอง) ไว้ในแอลกอฮอล์ Ethanol
ซึ่ง ซากเจ้า “เบนจามิน” เป็นเสือน้อยทัสมาเนียน ที่น่าเอ็นดูและดูมีสภาพ DNA ดีที่สุด
ปัญหาอย่างหนึ่ง คือ เซลล์ที่จะถ่ายทอด ย้ายนิวเคลียสไปให้ ควรจะเป็นของสัตว์ที่สปีชีส์ตรงกัน จึงจะมีโอกาสเติบโตและคลอดได้อย่างสมบูรณ์
(ซึ่งตอนนี้ ไม่มีเสือทัสมาเนียนให้ฝากท้องแล้ว)
คณะวิจัย ศึกษาจากลายพิมพ์ DNA (DNA fingerprint) แล้วพบว่า สัตว์สปีชีส์ใกล้เคียงเป็นเครือญาติของ Tasmanian Tiger ก็คือ Numbat ตัวลาย ตามรูป
ซึ่งจะมีความคืบหน้าในการวิจัยอย่างไร คงต้องลุ้นเอาใจช่วย
ไม่ว่าจะสำเร็จแค่ไหน แต่ทุกก้าว คือ องค์ความรู้ ที่จะต่อยอดให้โปรเจคใหม่ ๆ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ ๆ มาตอบโจทย์ได้ไวขึ้น
1
เหมือนที่เราเดินไป ไม่ว่าจะสำเร็จ ก้าวสู่ประตูชัยที่หวังไว้หรือไม่
สิ่งที่ได้คือ การได้รู้คำตอบ (Yes No OK Thankyou) ระหว่างเส้นทาง
นกไดโนสคูล🐦
โฆษณา