9 ก.ย. 2019 เวลา 04:34 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
โรงเรียนไทยส่งดาวเทียม!!!
เชื่อหรือไม่ว่า โรงเรียนเอกชนของไทย 'กรุงเทพคริสเตียน' จะเตรียมส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรบนอวกาศในปี 2020 ที่จะถึงนี้
2
ผมเชื่อว่าหลายๆท่านคงรู้จักกับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน โรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ที่มีผอ. ความคิดนำสมัย อ. ศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์ ผู้ริเริ่มโครงการเเต่งชุดไปรเวทมาโรงเรียนจนเป็นที่สนใจของชาวโซเชียลเมื่อหลายเดือนก่อน จนไปถึงการยกเลิกแผนการเรียนเเบบดั้งเดิมเเละเปลี่ยนมาใช้ระบบ track เพื่อประสิทธิภาพทางการศึกษา
อ.ศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์, ศิษย์เก่าเเละผอ.ของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
จากความน่าสนใจในเเนวคิดต่างๆของผอ. ศุภกิจ ผมจึงได้มีโอกาสเข้าไปหาข้อมูลต่างๆของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนมากขึ้น จนได้ไปพบกับโครงการที่ริเริ่มมาตั้งเเต่เมื่อปลายปี 2560 กับความคิดที่จะพัฒนาองค์ความรู้ด้านอวกาศเเละดาวเทียม
ใช่ครับ โรงเรียนมีแผนการณ์จะส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรรอบโลกในปี 2020 ด้วยงบประมาณกว่า 30 ล้าน กับนักเรียน 30 กว่าคน!!! โอ้วมายก้อด
โปรเจคนี้มีชื่อว่า บีซีซี สเปซโปรแกรม (BCC SPACE PROGRAM) โครงการที่มีการร่วมมือระหว่างโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย, หน่วยวิจัยด้านเทคโนโลยีอวกาศ Intelligent Space System Laboratory (ISSL), มหาวิทยาลัยโตเกียว, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และบริษัท อัสโตรเบอร์รี่ จำกัด (AstroBerry Limited) เรียกได้ว่าเป็นศูนย์รวมของโรงเรียนและบริษัทด้านอวกาศชื่อดังของหลายๆที่ทั่วโลกเลยทีเดียว connection สุดยอดมาก
2
เหล่าผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ
โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพื้นฐานและความรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศให้แก่นักเรียน รวมไปถึงการเพิ่มความรู้แบบประยุกต์ในด้านวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ เช่น ฟิสิกส์,วิศวกรรม, ดาราศาสตร์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาบุคลากรในประเทศให้สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 และยังสามารถต่อยอดไปถึงการสร้างบริษัทที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียมเเละอวกาศได้ในอนาคต
ไม่เพียงเเค่นั้น โครงการนี้ยังมีแผนการสร้างดาวเทียมขนาดเล็ก หรือ CubeSat เพื่อส่งเข้าสู่วงโคจรภายในปลายปี 2562 (ปลายปีนี้) โดยจะเป็นดาวเทียมดวงแรกในกลุ่มประเทศอาเซียน และเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ดวงในโลกที่ถูกพัฒนาและส่งเข้าสู่วงโคจรด้วยฝีมือของนักเรียนระดับมัธยม!!!
BCCSAT-1 ดาวเทียมของเด็กมัธยม!!!
ยังครับ ยังไม่พอ ทางโรงเรียนยังเตรียมสร้างห้องปฏิบัติการด้านอวกาศ (Space Laboratory) และสถานีควบคุมและสื่อสารภาคพื้นดิน (Ground Station) เพื่อรองรับการพัฒนาด้านการศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการบินและอวกาศในอนาคตอีกด้วย โอ้โห นี่มันโรงเรียนหรือศูนย์วิจัยกันเเน่ครับ 5555555 สุดยอดมากๆ
“เราต้องการให้เด็กนักเรียนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนสร้างประวัติศาสตร์ให้กับประเทศไทย เพื่อกระตุ้นให้เด็กไทยหันมาสนใจเทคโนโลยีการบินและอวกาศ ซึ่งแม้มหาวิทยาลัยทั่วโลกจะสร้างดาวเทียมมากพอสมควร แต่ในระดับนักเรียนถือว่ายังมีน้อยมาก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียนที่ยังไม่มีเลย ขณะนี้ โรงเรียนเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 มีนักเรียนระดับชั้น ม.4 จำนวน 27 คน ซึ่งเป็นเด็กกลุ่มแรกที่สมัครเข้าร่วมโครงการ โดยในปีการศึกษา 2561 เราเริ่มนับถอยหลังจากนี้ 2 ปี ดาวเทียมจะต้องสร้างให้เสร็จ เพื่อส่งเข้าสู่วงโคจรภายในปลายปี 2562 เนื่องจากได้นำงบประมาณ 7 ล้านบาทไปเช่าพื้นที่จรวดของประเทศรัสเซียเพื่อนำดาวเทียมไปปล่อยบนอวกาศ ทั้งนี้ หากจะถามว่าการสร้างดาวเทียมได้ประโยชน์อะไร ขอให้มองเรื่องดาวเทียมกับคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องเดียวกัน แนวความคิดอันดับ 1 .เปิดโลกความคิดเปิดสมองของเด็กทางการศึกษา 2. เกิดโลกของการเรียนรู้ การทำงานเป็นทีม การประกอบ การควบคุมวงโคจรของดาวเทียม เพราะดาวเทียมสามารถถ่ายรูปได้ หากเด็กต้องการถ่ายรูปกำแพงเมืองจีน เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ในการควบคุมวงโคจร การคำนวณเวลา 3. เมื่อมีดาวเทียมก็จะต้องมีสถานีภาคพื้นดิน (Ground Station) จะเกิดการสื่อสารระหว่างกันทั่วโลก เมื่อดาวเทียมไปหยุดอยู่ที่สถานีไหนของประเทศนั้นจะใช้ประโยชน์ของดาวเทียมที่มีอยู่ได้มากมายบนอวกาศ” นายศุภกิจกล่าว (ขอขอบคุณบทความสัมภาษณ์จาก https://www.thaipost.net/main/detail/7549)
อ่านมาถึงตอนนี้ หลายๆคนอาจจะมีคำถามขึ้นในใจว่า ‘ทำขนาดนี้ ค่าเทอมจะขนาดไหนกัน’ แต่จริงๆเเล้ว นักเรียนในโครงการนี้ จ่ายค่าลงทะเบียนเพิ่มเติมแค่ 25,000 บาทต่อปีครับ ต่อปีไม่ใช่ต่อเทอม!!! ถูกม๊ากกกกกกกกก
ผมได้มีโอกาสไปอ่านโพสต์ของอ. คอมพิวเตอร์ท่านหนึ่งที่เป็นเพื่อนกับผมใน Facebook และมีเนื้อความที่น่าสนใจมาก อยากเเชร์ให้ทุกท่านอ่านกันดูครับ
“ในปี 2020 นักเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จะสร้างประวัติศาสตร์ในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบดาวเทียม และปล่อยเข้าสู่วงโคจรด้วยงบประมาณกว่า 30 ล้าน กับนักเรียน 30 กว่าคน นั่นหมายความว่า #ค่าใช้จ่ายของนักเรียนต่อคนคือ1ล้านบาท นักเรียนจ่ายค่าลงทะเบียนเพิ่มเติม 25,000 บาทต่อปี ย้ำต่อปี #แน่นอนว่าขาดทุน แต่หากมองลึกลงไปจะเห็นได้ชัดว่าโครงการ Space Program หนึ่งใน 15 แผนการเรียนของระบบ BCC NEXT มุ่งเน้นพัฒนานักเรียนให้รู้ และเข้าใจในทักษะ และวิชาชีพ ทางวิศวกรรมอวกาศ กลุ่มอาชีพสายวิศวะที่ให้ค่าตอบแทนเป็นอันดับ 2 ของโลก ผ่านการเรียนรู้ และปฏิบัติ #จากสถานการณ์จริง ตั้งแต่การออกแบบ ปล่อยสู่วงโคจร การติดต่อสื่อสาร และนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการวิจัยในอวกาศ ทั้งหมด #ผ่านการออกแบบโครงสร้างวิชาใหม่ทั้งหมดผ่านโครงงานและกิจกรรมการเรียนรู้ #โดยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยโตเกียวประเทศญี่ปุ่นและคณาจารย์จากพระจอมเกล้าพระนครเหนือ #มองไกลกว่าคำว่ากำไรขาดทุน หากระบบการศึกษามองสิ่งเหล่านี้เป็น #ค่าใช้จ่าย เราก็จะมองเห็นแค่ตัวเลข กำไร ขาดทุน แต่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยมองเห็นสิ่งเหล่านี้เป็น #การลงทุน มุ่งหวังผลผลิตที่จะเกิดขึ้นกับเด็กนักเรียนในระยะยาว วันนี้เราอาจมองเห็นเด็กสามสิบกว่าชีวิตได้ปล่อยดาวเทียม แต่วันหน้าเราอาจเห็นเขากลับบอกกับเราว่าเขาเป็นคนสร้างเครื่องย้ายสสารไปในระบบสุริยะจักรวาลก็เป็นได้ หลายคนอาจมองว่ามันเป็นไปไม่ได้ #แต่ครูบีซีซีเราเชื่อมั่น #และมองเห็นอนาคตของพวกเขาแบบนั้นจริงๆ สำหรับผม30ล้านยังถูกไปถ้าเทียบกับสิ่งที่นักเรียนได้รับ”
credit จาก Facebook: Neung Wichai
โรงเรียนไทย ก้าวไกลระดับโลกครับ
#savebcc
Facebook: Neung Wichai
โฆษณา