Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เข้าใจยาก
•
ติดตาม
9 ก.ย. 2019 เวลา 13:13 • ความคิดเห็น
"ในวันที่ฉัน (เคย) อยากตาย"
เรื่องเล่าจากคนที่เคยอยากฆ่าตัวตายและผ่านพ้นมาได้อย่างสวยงาม
การฆ่าตัวตายไม่ใช่เรื่องไกลตัว และคนที่เคยพยายามฆ่าตัวตายมาแล้วก็อาจเป็นเพื่อนเรา เป็นญาติสนิท เป็นคนที่เดินสวนกันในห้าง หรือแม้แต่ตัวเราเองก็เป็นได้..
www.khaosod.co.th
คำเตือน บทความนี้เป็นบทความที่ยาวมากโปรดอย่าเพิ่งเลื่อนผ่านอ่านก่อนนะคะ
แอดอยากนำเสนอเรื่องราวที่เป็นมุมมืดในจิตใจ เพื่อให้ทุกคนได้ระแวงและระวังเกี่ยวกับปัญหานี้
หากคุณกำลังเผชิญกับชีวิตที่หนักหน่วง
อยากให้รู้ว่าคุณยังมีบทความนี้อยู่เป็นเพื่อน
และหากคุณกำลังเจอกับทางตัน ก็มีความหวัง
เล็ก ๆ ว่าบทความนี้ จะช่วยให้คุณมองเห็นชีวิตจากอีกด้านที่สดใสมากขึ้น
ก่อนที่จะไปอ่านเรื่องเล่าเราไปอ่านสาเหตุที่ทำให้เกิดที่มาของเรื่องเล่ากันก่อนค่ะ
100% ของความคิดอยากฆ่าตัวตายคือผลพลอยได้จากโรคซึมเศร้า จริงหรือ?
1
ในช่วงเวลาหลายปีมานี้ สื่อต่างๆ มีการนำเสนอข่าวคนดัง ข่าวอาชญากรรม และแม้แต่ข่าวการฆ่าตัวตายที่มีส่วนเกี่ยวโยงกับการเป็นโรคซึมเศร้าออกมาอย่างต่อเนื่อง เราจึงควรตระหนักว่า
โรคซึมเศร้าใกล้ตัวเรากว่าที่คิด เราอาจจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองหรือคนรอบข้างกำลังเสี่ยงหรือเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ เพราะข่าวที่ออกมาก็ไม่ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคในเชิงลึกสักเท่าไหร่ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักโรคซึมเศร้าในแง่มุมต่างๆ
ให้มากขึ้น เพื่อจะเป็นประโยชน์ในการระแวดระวังและหาทางป้องกันหรือรีบรักษา
โรคซึมเศร้ากับสถิติอันตราย
ปัจจุบันมีประชากรราว 300 ล้านคนบนโลก และมีคนเป็นโรคซึมเศร้าถึง 7.6 พันล้านคน หรือเกือบ 4% เลยทีเดียว ส่วนในคนไทยเองนั้นพบว่ามีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน หรือ 2.2% ของคนไทยทั้งหมด 69 ล้านคน และน่าตกใจว่าคนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จถึง 4,000 คนต่อปี ซึ่งสาเหตุสำคัญของการฆ่าตัวตายก็คือโรคซึมเศร้านั่นเอง
🌟โรคซึมเศร้าคืออะไร?
สุขภาพ - Kapook
🌟วิธีสังเกตว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?
สุขภาพ - Kapook
🌟ประเภทของโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้ามีหลายประเภท ทำให้ผู้ป่วยซึมเศร้าแต่ละคนมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป เช่น
1⃣โรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major Depression)
โรคซึมเศร้าชนิดนี้ ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ โดยมากมักมีอาการเศร้าซึมมากจนไม่มีความสุขหรือไม่สนใจในสิ่งต่างๆ ที่เคยชอบ หลับยาก น้ำหนักขึ้นหรือลงฮวบฮาบ รู้สึกหงุดหงิด เหนื่อยๆ เนือยๆ ไม่มีเรี่ยวแรง รู้สึกไร้ค่า ช่วงภาวะซึมเศร้านี้สามารถเกิดในช่วงหลังคลอดได้ และมีอาการหลง หูแว่วประสาทหลอนเกิดขึ้นร่วมด้วย ดังนั้นควรเริ่มรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้โรครุนแรงขึ้น และลดความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
2⃣โรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมีย (Dysthymia Depression)
โรคซึมเศร้าชนิดนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าชนิด เมเจอร์ ดีเพรสชั่น แต่จะมีอาการอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี อาการไม่รุนแรงถึงขนาดทำอะไรไม่ได้ เพียงแต่จะรู้สึกไม่อยากอาหารหรือกินมากไป นอนไม่หลับหรือนอนมากไป เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หมดแรง ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่ค่อยมีสมาธิ การตัดสินใจแย่ลง และรู้สึกหมดหวัง
3⃣โรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้นก่อนมีระดู (Premenstrual depressive disorder)
ผู้ป่วยจะมีอาการเกิดขึ้นในสัปดาห์สุดท้ายก่อนมีระดู อาการจะดีขึ้นใน 2-3 วันหลังจากมีระดูอาการที่พบบ่อย คือ อารมณ์แกว่ง รู้สึกเศร้า อ่อนไหวง่าย ขัดแย้งกับคนอื่นง่าย รู้สึกสิ้นหวัง ดูถูกตนเอง อาจมีอาการวิตกกังวล เครียด นั่งไม่ติด สมาธิลดลง รู้สึกล้า อ่อนเพลีย ไม่อยากทำอะไร ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง การนอนผิดปกติไปจากเดิม และมีอาการทางร่างกายร่วมด้วย เช่น เจ็บเต้านม เต้านมบวม ปวดข้อปวดกล้ามเนื้อ ตัวบวมขึ้น
🌠🌠🌠
รู้จักกับโรคซึมเศร้าไปแล้วนะคะที่นี้มาที่บทสัมภาษณ์ของคนที่เคยคิดฆ่าตัวตายกันค่ะ
คนแรก “ออม” เธอเป็นคนที่ร่าเริงสดใสมาก ๆ แต่สิ่งที่เราได้รับรู้จากการคุยกับเธอในครั้งนี้คือภายใต้ความเป็นคนตลกและเสียงหัวเราะที่ชวนให้คนอื่นต้องขำตามคือโรคซึมเศร้าที่อยู่กับเธอมาเป็นเวลากว่า 7 ปี
Line today
“เรารู้ตัวตอนอายุ 27 ปี ว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า และสาเหตุก็คืออกหัก โดนแฟนบอกเลิก
แล้วร่างกายก็ตอบโต้ด้วยการไม่นอนไป 3 วันเลย ซึ่งปกติที่เราอกหักก็จะเป็นคนดำดิ่งกับมันอยู่แล้ว แต่ก็ไม่คิดเหมือนกันว่ามันจะมาถึงจุดที่ไม่ได้นอนติดต่อกันนานถึง 3 วัน
เหตุผลที่โดนบอกเลิกคือเขาเพิ่งมาสารภาพว่าตัวเองมีแฟนอยู่แล้ว เราเป็นคนที่มาทีหลัง เรื่องมาแดงเพราะว่าอยู่ ๆ ก็มีผู้หญิงคนนึงมาโพสต์รูป
บนเฟซบุคของเขาแล้วก็เขียนแคปชั่นประมาณว่าคิดถึงนะ คือเราไม่ได้อยู่ด้วยกันตลอดเวลาเพราะเขาเป็นชาวต่างชาติ เดินทางไป ๆ กลับ ๆ เมืองไทย แต่ทุกอย่างมันชัดเจนมาก เขาพาพ่อแม่มาเที่ยวแล้วมาเจอเรา อยู่ที่ไหนไปไหนก็บอกกันตลอด ทำให้เราไว้ใจ แต่พอเจอรูปผู้หญิงคนนั้นและเราถามเขา คำตอบที่ได้คือเขามีผู้หญิงอีกหลายคนรวมถึงแฟนที่เป็นตัวเป็นตนอยู่แล้ว
1
เราไม่อยากอยู่คนเดียวเลย โทรหาเพื่อนบอกว่าจะขับรถไปเสม็ด เพื่อนก็อาสามาเป็นเพื่อน กลับมาก็ไปค้างคอนโดเพื่อนอีก นางก็เห็นแหละว่าเราไม่ได้นอน ร่างกายไม่ไหวเหมือนเครื่องมันสั่นแล้วแต่ทำยังไงมันก็ไม่หลับ ก็เลยเอายาแก้แพ้ให้เรากิน เราหลับไปเพราะฤทธิ์ยา คิดว่าตัวเองหลับไปนานมากแต่จริง ๆ แล้วเวลาผ่านไปแค่ 2 ชั่วโมง
และสิ่งที่เราเห็นหลังจากตื่นขึ้นมาคือทุกอย่างเป็นสีเทา เราตกใจแล้วก็ร้องไห้ ไม่เข้าใจว่าทำไมทุกอย่างถึงกลายเป็นแบบนี้ เข้าใจประโยคที่เขาบอกกันว่าโลกเป็นสีเทามันคืออย่างนี้จริง ๆ อะ เพื่อนก็บอกว่ามึงควรจะไปหาหมอ กูไม่ไหวกับมึงแล้วจริง ๆ ก็เลยขับรถไปมนารมย์เลย และจากที่ได้คุยกับคุณหมอ เราก็ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า”
..........ออมเล่าให้ฟังถึงครั้งแรกของเธอกับโรคนี้
เธอป่วยมาโดยตลอดและหลังจากที่เผชิญกับปัญหาความรัก เธอก็ต้องต่อสู้กับอีกหลาย ๆ เรื่อง จนความคิดอยากฆ่าตัวตายแว้บเข้ามาในหัวในฐานะทางออกของปัญหา.........
“เราเคยรู้สึกว่าอยากตายตอนเด็ก ๆ พออกหักปุ๊บรู้สึกว่าไม่อยากจะมีชีวิตอยู่แล้ว แต่อารมณ์เหล่านั้นอาจจะเป็นเพราะเราเด็ก เรายังไม่ได้เข้าใจชีวิตดีและแค่รู้สึกอย่างนั้นเพราะอยากประชดอะไรสักอย่าง แต่ความรู้สึกอยากตายที่เพิ่งเข้ามาล่าสุดคือไม่กี่เดือนมานี้
เรารู้สึกว่าหลายอย่างเข้ามาในชีวิตมาก ๆ แต่เราช่วยเหลืออะไรตัวเองไม่ได้แล้ว จิตใจตัวเองเข้มแข็งขึ้นนะและจากที่เรารักษามาโดยตลอด เราก็รู้ทันว่าตัวเองจะดิ่งตอนไหน จะฉุดตัวเองขึ้นมาตอนไหน
1
แต่ที่เครียดครั้งนี้เป็นปัญหาเรื่องงาน ความคาดหวังจากคนอื่น การที่เราเสียเพื่อนไปเพราะเรื่องงาน เป็นหนี้ และคำพูดเสียดแทงจากคนในครอบครัว เรารู้สึกว่าพอโตแล้วเรื่องพวกนี้ไม่มีใครที่อยากจะฟังแล้ว ทุกคนต่างก็มีภาระของตัวเองและเราก็ต้องอยู่กับตัวเองให้ได้ มันก็เลยมีความคิดที่แว้บเข้ามาว่า ‘ไม่อยากอยู่แล้วว่ะ จะตายยังไงดีวะ’”
“มันอาจจะเป็นความคิดที่แย่นิดนึงแต่มันก็ช่วยเราได้ คือเวลาที่เราคิดถึงความตายเราจะคิดถึงสเต็ปในการตายเว่ย สมมติว่าเราจะโดดตึก ถ้าตกเตี้ย ๆ เราอาจจะไม่ตายและต้องทรมาน ถ้าจะเอาให้ตายจริง ๆ คือต้องโดดสูง แต่พอโดดสูง เราก็จะมีเวลาประมาณ 5 วินาทีตอนที่ตัวลอยอยู่ในอากาศ และเรามั่นใจว่าตอนนั้นอะ เราอาจจะเสียดายชีวิตและไม่อยากตายก็ได้ พอความคิดนั้นมันติดเข้ามาในหัว วิญญาณเราจะไม่ได้ไปในที่ดี ๆ แน่ ๆ และเราไม่อยากจบชีวิตตัวเองแบบนั้น”
ออมเล่าให้ฟังถึงวันที่เธอตัดสินใจจะฆ่าตัวตายว่า
“วันนั้นคือวันที่เราคิดไว้แล้วว่าอยากตาย มองหามีด หาอะไรก็ได้รอบ ๆ ที่ทำให้ตัวเองตายได้แล้ว แต่อยู่ดี ๆ ก็มีภาพแม่แว้บขึ้นมาในหัว”
“เราตัดสินใจโทรไปบอกแม่ตรง ๆ ว่าเราอยากตาย มันหลุดจากความคิดตัวเองไม่ได้ และเราไม่มีทางออกให้ตัวเองได้แล้วโดยเฉพาะเรื่องหนี้
พอได้ฟังเสียงแม่ที่สั่นเครือกลับมาในโทรศัพท์คือแม่งแบบ เราทำเขาไม่ลงอะ เราทำคนที่เรารักขนาดนี้ไม่ได้
1
ถึงแม้ว่าเราจะมองไม่เห็นตัวเองหรือใครแต่เราลืมไปเลยว่ามีแม่อยู่ตรงนี้ทั้งคน เราตายไป เราไม่รู้หรอกว่าตัวเองไปไหน แต่คนที่รักเราและต้องอยู่ มันคงทรมานจิตใจเขาไม่แพ้กัน”
Line Today
"มะปราง" ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่สองเล่าเรื่องของเธอให้ฟังว่าจุดเริ่มต้นมาจากปัญหาเรื่องความรักที่นำไปสู่อาการซึมเศร้าเช่นกัน และในที่สุดทั้งหมดก็นำพาเธอไปสู่จุดที่อยากจะหนีปัญหาด้วยความตาย
1
“4 ปีที่แล้ว เราเลิกกับแฟน มันไม่โอเคตรงที่เขาเลิกเพื่อไปคบกับเพื่อนของเรา และเป็นช่วงที่เรามีปัญหากับเพื่อนอีกคนด้วยเรื่องนี้ เพิ่งมารู้ว่าเขาเป็นสาเหตุที่ปั่นให้เราเลิกกับแฟน ตอนนั้นเรารู้สึกว่าทุกอย่างมันแย่ไปหมด คนที่เรารักและเชื่อใจมาหักหลังพร้อม ๆ กัน เราก็ได้แต่โทษตัวเองว่าทำไม่ดีตรงไหน รู้สึกอยากตาย
เราร้องไห้ทั้งวันแบบควบคุมตัวเองไม่ได้ ออกจากบ้านก็ร้อง ขึ้นรถไฟฟ้าก็ร้อง ไปทำงานก็ร้อง ไม่กินข้าวเลยเป็นเวลา 2 เดือน น้ำหนักเราลดลง 12 โลภายในเวลา 2 อาทิตย์ สุขภาพก็แย่ลง เป็นลมบ่อยมาก ๆ จนแม่บอกว่าจะอยู่แบบนี้ต่อไปไม่ได้แล้วนะ แม่จะพาไปหาหมอ
หลังจากเลิกกัน เราพยายามที่จะทำให้ทุกอย่างดีขึ้นนะ แต่รู้สึกว่าไม่มีใครให้ความร่วมมือเลย ตอนนั้นเราไม่เห็นทางออก ไม่เห็นคุณค่าตัวเอง โทษแต่ว่าเราไม่ดี ๆ ไม่รู้จะอยู่ทำไมจริง ๆ”
1
มะปรางเล่าให้ฟังต่อว่าตอนที่เธอป่วยและหาทางออกให้กับตัวเองไม่ได้ เธอจะทำร้ายร่างกาย ทำให้ตัวเองรู้สึกเจ็บแล้วจะรู้สึกดีขึ้น ถึงเธอจะรักษาด้วยการกินยาตามที่หมอสั่ง แต่ทุกครั้งที่มีการปรับยา อาการของเธอจะแย่ลง เธอหายดีขึ้นเพราะตัดขาดจากกลุ่มคนที่ทำให้เธอรู้สึกเป็นพิษ แต่ตอนที่เธอกำลังจะดีขึ้นเขาก็กลับมา
2
“คราวนี้เขามาเพื่อบอกเราว่าตัวเองก็ป่วยเหมือนกันและโทษว่าเป็นเพราะเราที่ทำให้เขาต้องเป็นแบบนี้ เขาอยากมาปรึกษาว่าควรต้องทำยังไง แต่ในหัวเราตอนนั้นคิดแต่ว่าทำไมตอนที่เราแย่ เขาไม่ได้อยู่ตรงนั้นแต่กลับซ้ำเติมให้เราแย่ลงไปเรื่อย ๆ แต่ทีคราวตัวเองแย่แล้วถึงกลับมาหาเรา
เราก็โอเค ยอมเป็นเพื่อนที่ดีให้เขา แต่กลับกลายเป็นว่าสิ่งที่เขาอยากได้จากเรามีมากกว่านั้น
แฟนเก่าเราขอให้เราอยู่ในฐานะ friends with benefits (เป็นเพื่อนที่มีความสัมพันธ์ทางกายแต่ไม่ต้องผูกมัด) ให้เขา ถึงคนอื่นจะบอกว่าเราโง่มากที่ทำอย่างนั้น แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในจุดนั้นที่เราก็ยังรักและผูกพันกับคน ๆ นี้อยู่ จะไม่มีวันเข้าใจในสิ่งที่เราเลือกเลย
เรายอมเขาทุกอย่างด้วยความหวังที่ว่าความสัมพันธ์มันจะกลับมาดีได้แบบเดิม พยายามทำทุกอย่างให้มันดีขึ้นเพื่อแก้ไขอะไรที่เขาเคยบอกว่าเราแย่ แต่การกลับมาคบกันมันทำให้เราต้องกลับไปพึ่งยาอีกครั้ง
เวลาเขามีเรื่องอะไรมา ก็เอามาลงที่เรา และที่พีคที่สุดก็คือประมาณปลายปีที่แล้ว อยู่ดี ๆ เขาก็มาบอกเราว่าจะขอเลิก เขาเจอคนใหม่แล้ว เราเหมือนเป็นบ้าไปเลย ทำร้ายตัวเอง เวลาเศร้าก็ทุบตัวเอง ทำให้ร่างกายมันรู้สึกเจ็บเข้าไว้ และความคิดอยากฆ่าตัวตายก็กลับเข้ามาอีกครั้ง
เราทดลองหลายครั้งมาก ๆ ทุกครั้งจะมีการวางแผนมาอย่างดี ส่วนใหญ่จะทำตอนกลางคืนเพราะทุกคนในบ้านหลับหมดแล้ว
ครั้งแรกลองกินยาแก้ไมเกรนที่หมอให้มา กินไป 30 กว่าเม็ดได้ ค่อย ๆ กิน ค่อย ๆ กินจนหมดกระปุก แต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น มารู้ทีหลังว่ายาที่จิตแพทย์จ่ายจะโอเวอร์โดสยังไงก็ไม่มีผลต่อสมอง
เราเลยลองใหม่อีกครั้ง คราวนี้เปลี่ยนยา ลองกินยาใหม่ เอาแก้วน้ำที่แตกมากรีดตัวเอง ปล่อยให้เลือดไหลออกจากตัวเยอะ ๆ แต่ก็แค่เป็นลมไป เคยแม้กระทั่งลองผูกคอตาย แต่ก็ไม่สำเร็จ”
ความลังเลที่เกิดขึ้นระหว่างลงมือทำคือความกลัวความทรมาน
“เราจะฉุกคิดเมื่อวินาทีสุดท้ายของการจะลงมือทำสิ่ง ๆ นั้นแล้วอะ แล้วสติจะดึงเรากลับมาว่าไม่ๆๆๆ เราจะทำแบบนี้ไม่ได้ เราโทรหาเพื่อนเลยทันที แล้วก็รู้จากการคุยทุกครั้งว่าเราจะตายไม่ได้ และจริง ๆ แล้วเราก็ไม่อยากตาย” สิ่งที่กระชากตัวเองออกมาจากสถานการณ์นั้นได้คือ "ความรัก"
1
Line Today
"แอน" ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่สามเล่าถึงวันที่เธอเตรียมจะผูกคอตายว่า “เหตุการณ์นี้เพิ่งผ่านมาได้ไม่ถึงสัปดาห์ เราป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหลังจากที่สูญเสียคุณแม่ไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว รักษานะแต่เราก็ไม่รู้สึกว่าอาการนี้จะหายไปสักทีและมีความคิดที่อยากจะตายอยู่ตลอดเวลา
วันนั้นเราแพลนเอาไว้แล้วว่าจะตาย เตรียมผูกเชือกไว้กับลูกบิดประตูห้องนอนและก็โทรไปลาแฟน จังหวะที่เราได้ยินเสียงเขาร้องไห้ฟูมฟาย มันทำให้เราลังเลมาก ๆ เหมือนใจสลายไปเลยตอนนั้นเพราะเราไม่เคยเห็นแฟนต้องเป็นแบบนี้และเราก็รู้สึกว่าทำไม่ลงจริง ๆ
พอได้คุยกับพ่อในวันถัดไป คำพูดของพ่อที่บอกว่า “พ่อสูญเสียแม่ไปคนนึงแล้ว อย่าให้พ่อต้องสูญเสียแอนไปด้วยเลย” แค่ประโยคนี้เลยจริง ๆ ที่ทำให้เรารู้สึกว่าเราจะตายไม่ได้ ต้องมีชีวิตอยู่ต่อเพื่อพ่อ"
อาการนี้ไม่มีหายขาด มันจะกลับมาเป็นช่วง ๆ
แต่สิ่งที่จะต่อสู้กับมันได้คือจิตใจที่แข็งแรง
ตราบใดที่คน ๆ นั้นยังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า
ความคิดอยากฆ่าตัวตายจะกลับมาเยี่ยมเยือน
เป็นช่วง ๆ แต่ถ้าคน ๆ นั้นมีสภาพจิตใจที่เข้มแข็งและฝึกให้จิตรู้เท่าทันความคิดที่เกิดจากอาการป่วย มันก็จะแปรสภาพเป็นแค่ลมแผ่ว ๆ ที่พัดเข้ามาและผ่านไป
“ตอนที่เราอยากฆ่าตัวตาย เรารู้สึกแค่ว่ามันไม่มีทางเลือกอื่นในชีวิตแล้ว แต่จริง ๆ แล้วพอมองย้อนกลับไป ทางมันมีให้เลือกแหละ แต่เราแค่ไม่ได้มองหาหรือเดินไปหามันเอง เราแค่อยากจบปัญหาด้วยวิธีง่าย ๆ และอยากหนีความทรมานให้มันเร็วที่สุดมากกว่า” ปรางบอกว่าวิธีที่เธอใช้เยียวยาตัวเองนอกจากปล่อยให้เวลาเป็นตัวช่วยที่ดีแล้วก็คือการออกเดินทาง พาตัวเองไปหาสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ
“พยายามอย่าอยู่กับตัวเองบ่อยจนเกินไป
เพราะบางทีช่วงเวลานั้นมันจะทำให้เราจมอยู่กับความคิด พยายามออกไปเจอเพื่อนบ้าง เปลี่ยนสถานที่บ้าง อย่างถ้าทุกทีนัดเจอกันสยาม วันนี้ก็ย้ายที่หน่อย ให้เราได้เจอกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ อีกวิธีที่เราใช้แล้วเวิร์กก็คือการออกเดินทาง
ไปเที่ยวคนเดียวเลย มันก็ทำให้เรารู้สึกว่าโลกนี้ก็ไม่ได้มีแค่เขาหนิ มันมีอะไรที่รอเราอยู่อีกตั้งเยอะ และถ้าเราไม่ได้ทำมันหลังจากนี้ก็คงรู้สึกเสียดายอะ”
อีกอย่างที่ออมบอกเราก็คือการหาอุดมการณ์ให้ตัวเอง
“เราเข้าใจแล้วว่าการที่คนเรามีความฝันที่จะไล่ตามอะไรสักอย่าง หรือมีเป้าหมายที่อยากทำให้มันสำเร็จมันสำคัญมาก มันทำให้เรารู้สึกว่าเราต้องใช้ชีวิตเพื่อบางสิ่งบางอย่าง ถึงแม้ว่าจะเป็นอะไรที่จับต้องไม่ได้แต่มันคือสิ่งที่เราใช้ยึดเหนี่ยวได้ดีและทำให้เรารู้สึกว่าชีวิตนี้มันมีค่า”
“คนที่เป็นซึมเศร้า เขาจะเอาเรื่องแย่ๆออกจากหัวตัวเองไม่ได้ เวลามีว่าปัญหามันจะวน ๆ อยู่ในหัวและมันไม่มีทางออก คนที่เป็นซึมเศร้าเลยต้องการคนที่จะรับฟังเรื่องพวกนั้นซ้ำ ๆ ต้องการระบาย เพราะมันออกมาไม่ได้”
สำหรับคนที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า บางคนอาจจะรู้สึกว่าทำไมปัญหาของคน ๆ นั้นช่างน้อยนิดแต่ปล่อยให้ตัวเองจมอยู่ในปัญหานั้น สิ่งหนึ่งที่เราอยากให้ทุกคนทำความเข้าใจให้ตรงกันก็คืออาการซึมเศร้าคือความป่วยที่สารเคมีในสมองมีอิทธิพลเหนือความคิดและการกระทำ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบางคนเลยควบคุมตัวเองไม่ได้และมองไม่เห็นทางแก้ไข
ความตายอาจจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในขณะนั้นคนที่คิดฆ่าตัวตายทุกคนไม่ได้มีใครชอบความเจ็บปวดหรือทรมานจากการตายทั้งนั้น พวกเขาต้องการความตายที่ฉับพลันเพื่อหนีออกจากความเจ็บปวดทางจิตใจที่ตัวเองกำลังเผชิญอยู่ ทั้งแอน ออมและมะปราง รวมไปถึงผู้ให้สัมภาษณ์แบบนิรนามอีกหลาย ๆ คนบอกว่าพวกเขาไม่อยากได้กระบวนการตายที่ทรมาน และเมื่อนึกถึงวิธีการฆ่าตัวตายที่ทำให้ตัวเองไม่ตายในทันที จุดนั้นจะทำให้เกิดความลังเลใจว่าควรเดินหน้าหรือเลิกล้มดี
🌟การให้กำลังใจและช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
เมื่อเราพบหรือเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เราควรที่จะเรียนรู้วิธีการที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมีค่า มีกำลังใจในชีวิตมากขึ้น
การให้กำลังใจผู้ป่วย การเป็นผู้ฟังที่ดีจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายขึ้น ผู้ใกล้ชิดสามารถที่จะสื่อสารกับผู้ป่วยด้วย ประโยคเหล่านี้ เช่น
👉เธอไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวนะ ฉันจะอยู่ข้างๆ เธอเอง
👉ฉันอาจจะไม่เข้าใจเธอ แต่ฉันเป็นห่วงและอยากช่วยเธอนะ
👉เธอไหวไหม เธอเหนื่อยมากไหม
👉ชีวิตเธอสําคัญกับฉันมากๆ นะ
👉เธออยากให้เราช่วยอะไรบ้าง บอกได้นะ เราอยากช่วย
ข้อความดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่รู้สึกกดดัน และทำให้ผู้ป่วยได้พูดถึงความคิดของตนได้มากขึ้น
🌟ส่วนคำที่ชวนให้ผู้ป่วยคิดเปรียบเทียบ หรือแสดงความไม่เข้าใจว่าทำไม่ถึงต้องซึมเศร้า และจากการที่ผู้ป่วยมีปัญหาในกระบวนการคิดจากภาวะความเจ็บป่วยอยู่ ยิ่งจะเป็นการซ้ำเติม เป็นคำที่ไม่ควรพูด เช่น
❎เธอคิดไปเอง
❎ใครๆ ก็เคยผ่านเรื่องแบบนี้ทั้งนั้นแหละ
❎ลองมองในแง่ดีดูสิ
❎ชีวิตมีอะไรอีกตั้งเยอะ ทําไมถึงอยากตายล่ะ
❎หัดช่วยตัวเองบ้างสิ
❎หยุดคิดเรื่องที่ทําให้เครียดสิ
❎ทําไมยังไม่หายล่ะ
❎มีคนที่แย่กว่าเราอีกตั้งเยอะ เขายังสู้ได้เลย
🌟ทำอย่างไรจึงห่างไกลโรคซึมเศร้า
หมั่นดูแลตนเองให้มีสุขภาพดี ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ กินอาหารถูกสุขลักษณะ ไม่ใช้สารเสพติด ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้ง
ในด้านจิตใจ ฝึกให้เป็นคนคิดบวก มองโลกในแง่ดี ไม่คิดร้ายกับใคร ไม่กล่าวโทษตัวเองไปซะทุกเรื่อง ควรหางานอดิเรก คลายเครียด เข้าชมรมต่างๆ ที่เหมาะกับวัย หรือเป็นจิตอาสา ทําสิ่งที่ทำให้รู้สึกตัวเองมั่นใจ มีคุณค่า รู้ว่าใครรักและเป็นห่วงก็ให้อยู่ใกล้คนๆ นั้น และให้อยู่ห่างจากคนที่ไม่ถูกใจ
ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ควรหาเวลาออกไปทำกิจกรรมที่สนุกสนาน ไม่เคร่งเครียดหรือทำงานหนักเกินไป ไม่ไปอยู่ในสถานการณ์หรือดูข่าวร้ายที่ทำให้จิตใจหดหู่ หากมีการใช้ยาเพื่อรักษาโรคใดๆ อยู่ไม่ควรหยุดยาเอง โดยเฉพาะถ้ารักษาโรคด้านจิตเวชอยู่ควรกินยาตามแพทย์สั่ง อย่าได้ขาดหรือหยุดยาเอง
ท้ายที่สุด... เราไม่สามารถรักษาหรือบำบัดโรคซึมเศร้าได้ด้วยตัวเอง หากเริ่มรู้สึกว่าชีวิตของตนเองไม่ปกติ ขาดความสมดุล มีความเครียดสูง การพบจิตแพทย์ก็เหมือนกับการตรวจสุขภาพใจให้เราเข้าใจสภาพจิตใจของตนเองในขณะนั้น แพทย์จะแนะนำวิธีป้องกันและปรับสภาพจิตใจให้ดีขึ้นด้วยการปรับวิธีคิด หรือรักษาด้วยการใช้ยา เพราะปัญหาทางด้านจิตใจหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้น ไม่ใช่มีสาเหตุจากโรคซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว การพบจิตแพทย์จะช่วยให้เราได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
ตามหลักของพุทธศาสนาถือว่าการฆ่าตัวตายเป็นบาป เป็นกรรม ไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้อง มันต้องฆ่าความทุกข์หรือฆ่ากิเลสให้ตาย เพราะทุกข์มาจากกิเลสมันเกาะกิน ทำให้เราคิดมากคิดเกิน มีหลายคนถามว่าจะทำอย่างไรเพื่อก้าวข้ามความคิดที่จะฆ่าตัวตาย คิดแต่ว่าทุกข์อย่างนั้นทุกข์อย่างนี้ อมทุกข์ แบกทุกข์ แม้แต่การเมืองก็ยังทำให้ทุกข์ เพราะความเกลียดชัง
🌟ท่าน ว.วชิรเมธี
ได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายไว้ว่า
"การฆ่าตัวตาย มีทั้งที่เป็นบาปและเป็นบุญ"
👉การฆ่าตัวตนของเราทํ้งที่ยังเป็น ๆ ให้ตายไปแล้วก็เข้าโลง จากนั้นขึ้นสู่เมรุ เพราะต้องการหนีปัญหาหรือหนีความทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง จัดว่าเป็นการฆ่าตัวตายที่เป็นบาป
ที่ว่าเป็นบาป เพราะเป็นการ “สังหาร” ชีวิตของตัวเองให้แตกดับไป เป็นการตัดขั้นตอนการตายตามธรรมชาติ เพราะเมื่อใครคนใดคนหนึ่งฆ่าตัวตายในลักษณะอย่างนี้แล้ว ความทุกข์ของชีวิตก็ไม่ได้รับการแก้ไข ซ้ำยังเป็นการสร้างทุกข์อันใหญ่หลวงเอาไว้ให้คนที่อยู่ข้างหลังต้องมาแบกรับ
เมื่อฆ่าตัวตายไปเพราะต้องการหนีปัญหานั้น กิเลสซึ่งเป็นเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิดยังไม่ได้รับการขจัดให้สิ้นไป ถึงแม้ตัวจะตายไปแล้วในชาตินี้ แต่ยังจะต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปไม่รู้จบสิ้น
จิตของคนที่ฆ่าตัวตายไปแล้วนั้น กล่าวกันว่า
กว่าจะวิวัฒนาการมาเป็นคนได้ใช้เวลานานแสนนานจนไม่อาจคำนวณเป็นวันเวลาของมนุษย์ได้
ดังนั้นการฆ่าตัวตายจึงเท่ากับเป็นการปฏิเสธอัตภาพแห่งความเป็นมนุษย์ จิตซึ่งสูงอยู่แล้วจึงกลายเป็นจิตที่เสื่อมคุณภาพ เป็นเหตุให้จิตดวงนั้นต้องไปเรียนรู้กระบวนการ”วิวัฒน์”ใหม่อีกหลายล้านชาติภพ เพื่อที่จะได้กลับมาเป็นคนอีกครั้งหนึ่งในชาติภพไหนก็ไม่อาจรู้ได้
กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า จิตของคนที่ฆ่าตัวตายต้องไปเทคคอร์สใหม่เพื่อสั่งสมคุณภาพจิตให้สูงขึ้นมาทีละน้อย ๆ จนกว่าจะสูงมากพอที่จะได้เวียนกลับมาเกิดในอัตภาพของมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง
ในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า กว่าที่คนคนหนึ่งจะได้อัตภาพกลับมาเกิดเป็นคนนั้นใช้เวลานานแสนนาน ทรงอุปมาไว้ว่า มีมหาสมุทรแสนกว้างใหญ่ไพศาลอยู่แห่งหนึ่ง มองไปทางไหนก็ไม่เห็นฝั่ง ใต้มหาสมุทรแห่งนั้นมี “เต่า” ตาบอดอยู่ตัวหนึ่ง และเหนือผิวมหาสมุทรแห่งนั้นมี “ห่วง” อยู่อันหนึ่ง ร้อยปีเต่าตาบอดตัวนั้นจะโผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำครั้งหนึ่ง ถามว่าโอกาสที่เต่าตาบอดจะเอาหัวมาสวมเข้าพอดีกับห่วงยางเป็นไปได้ยากไหม ตอบได้เลยว่า อภิมหายาก แต่ตรัสว่า การได้โอกาสมาเกิดเป็นคนยากกว่านั้นนับล้านเท่า
ฉะนั้นคนที่เกิดมาเป็นคนซึ่งถือว่าจิตของคนคนนั้นวิวัฒนาการมาสูงที่สุดแล้วในบรรดาสัตว์ทั้งหลาย แต่เขากลับทำลายวิวัฒนาการของจิตอันเข้าถึงภาวะสูงสุดนั้นเสียด้วยการทำ “อัตวินิบาตกรรม” จึงมีแต่ต้อง “ดำดิ่ง” ลงไปเริ่มต้น “นับหนึ่ง” ความเป็นคนกันใหม่ แล้วเมื่อไรกันเล่าที่จิตซึ่งถูกปฏิเสธไปแล้วนั้นจะสามารถวิวัฒนาการขึ้นมาสู่ภาวะมนุษยภาวะได้อีก
การฆ่าตัวตายจึงเป็นบาปมหันต์ เพราะเป็นการตัดโอกาสการทำความดี เป็นการตัดโอกาสวิวัฒนาการของจิต และเป็นการปลิดชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งสูงค่าที่สุดกว่าทรัพย์สินทุกชนิดบรรดามีของมนุษย์ และที่บาปมากที่สุดก็เพราะคุณมีสิทธิ์บรรลุภาวะพระนิพพานได้ในชีวิตนี้ แต่คุณปฏิเสธโอกาสนั้นเสีย นี่คือการทำผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์ที่คิดฆ่าตัวตาย
👉ส่วนการฆ่าตัวตายที่ถือว่าไม่เป็นบาปนั้น
หมายถึงการ “ฆ่าตัวตายกู” ซึ่งเป็นความยึดติดถือมั่นที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมาหลอกลวงตัวเองให้ตายออกไปเสียจากจิตใจ ซึ่งภาษาพระเรียกว่าเป็นการ “ฆ่ากิเลส” จนกิเลสตายอย่างสิ้นเชิง ผู้ที่ฆ่ากิเลสชนิดที่ทำให้หมดความยึดติดถือมั่นใน “ตัวกู” อย่างนี้เสียได้ เรียกว่าฆ่าตัวตายโดยไม่บาป
เอาเป็นว่าการฆ่าตัวตายมีสองรูปแบบ เลือกดูเอาเองก็แล้วกันว่า จะฆ่าตัวตายอย่างไหนจึงจะเป็นการฆ่าตัวตายที่คุ้มค่าที่สุด
แอดอยากฝากนะคะว่า
🍀ถึงเสียใจแค่ไหนก็อย่าทำร้ายตัวเอง
🍀ถึงเจ็ดปวดปานใดก็อย่าคิดจะหมดลมหายใจฆ่าตัวตาย. เพราะไม่ใช่แค่คุณที่เสียใจที่เจ็บปวดแต่คนที่เขารักคุณก็เสียใจและเจ็บปวดกับคุณเช่นกัน
ทุกปัญหามีทางออกของมันเสมอ
ไม่มีประตูบานไหนที่ปิดตายไปชั่วนิรันดร์
มันจะมีสักวันที่จะค่อยๆผุกร่อน ค่อยๆแง้มให้
้เราได้เห็นถึงทางออก
แต่ถ้าคุณคิดว่าการรอประตูมันเปิดเองนั้นเสียเวลา คุณจงใช้ปัญญาและกำลังของคุณเปิดมันออกหรือไม่ก็หาทางออกทางใหม่เพราะใช่ว่าทางออกจะมีอยู่แค่ประตูบานนั้นบานเดียวเสมอไป
หากคุณประสบปัญหาและต้องการผู้รับฟัง โทรหาสมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศได้ที่ 02-713-6793 หรือสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323
🌟🌟🌟 พรุ่งนี้วันที่ 10 ก.ย. เป็นวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก ช่วยกันป้องกันอย่าให้มีการสูญเสียเลยนะคะ
Hilight Kapook
ทุกชีวิตล้วนแล้วแต่มีคุณค่าทั้งนั้นจงมองเห็นคุณค่าในตัวเอง
อ่านบทความเครียดๆไปแล้ว ฟังเพลงความหมายดีๆ แก้เครียดหน่อยละกันนะคะ
แอดชอบฟังเพลงนี้มากเลยฟังแล้วรู้สึกดี😊
youtube.com
ฉันจะเคียงข้างเธอ - ชาช่า
...
ปล.บทความนี้ยาวไปหน่อยแต่แอดหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านนะคะ. ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ😊
เรียบเรียง
~มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เข้าใจยาก~
ที่มา
โรคซึมเศร้าโดย : พญ.สุนิดา โสภณนรินทร์.
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
ศูนย์การแพทย์ คลินิกพัฒนาการเด็ก รพ.พญาไท1
บทสัมภาษณ์ โดย: Line today
ข้อคิดการฆ่าตัวตาย โดย: ท่าน ว.วชิรเมธี
เพลง
https://youtu.be/4lDGo_U-ZiQ
23 บันทึก
61
37
34
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ข้อคิด คำคน
23
61
37
34
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย