10 ก.ย. 2019 เวลา 04:26 • ธุรกิจ
อนาคตที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นกับ LAZADA และ Shopee
กับการปรับตัวของผู้ขาย
ทั้ง2เจ้า มาจากจีนเหมือนกัน
lazada เจ้าของคือ Alibaba Group
shopee เจ้าของคือ Tencent
ลงทุนในไทยมาไม่ต่ำกว่า 4-5ปี ขาดทุนหลักพันล้านต่อปี
7 เรื่องที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นในอนาคตกับ
LAZADA และ Shopee
1 Lazada และ Shopee จะคล้ายกับ Amazon ของอเมริกา
คือยอดขาย E-commerce ทั้งประเทศ มากกว่า 80% มาจาก Amazon
Lazada และ Shopee กำลังจะเป็นแบบนั้น
2 แยกผู้ขายอย่างชัดเจนเพื่อทำกำไร คือผู้ขายทั่วไปกับผู้ขายที่เป็นบริษัท
Lazada อาจจะเปิดเป็น L-mall
Shopee อาจจะเปิดเป็น S-mall
เหมือนที่ Taobao เปิดเป็น T-mall
ซึ่ง T-mall จะเข้าได้ต้องเป็นบริษัทเท่านั้น
ผู้ขายเสียค่าคอมให้กับเจ้าของ ลูกค้าได้ของที่พอใจ เจ้าของแพลตฟอร์มอยู่ได้
Win Win กันทุกฝ่าย
3 จะมีสินค้า House Brand ที่เป็นของ Lazada และ Shopee เกิดขึ้นเหมือน Amazon
อย่างที่รู้กันเมื่อไหร่ที่สินค้าตัวไหนขายดีหรือ Amazon วิเคราะห์แล้วว่าน่าจะขายดี
Amazon จะผลิตสินค้าตัวนั้นขึ้นมาขายแข่ง อย่างในไทยก็เหมือน 7-11 homepro วัตสัน ฯลฯ
ที่ผลิตสินค้าแล้วนำมาขายในช่องทางของตัวเอง
โกดังของ alibaba ที่เปิดตัวในฉะเชิงเทรา
ปลายปีนี้เราอาจจะเห็นสินค้าที่เป็น House Brand ของ lazada
ฉะนั้นใครที่ขายสินค้าที่เป็น mass สินค้าที่หาซื้อได้ทั่วไปหรือก็อปปี้ได้ง่าย จะเริ่มอยู่ยาก
4 LAZADA FBL ซึ่งลอกมาจาก Amazon FBA
FBA ย่อมาจาก Fulfillment By Amazon
คือการที่ผู้ขายนำสินค้าไปฝากไว้ที่คลังของ Amazon
และ Amazon เป็นผู้กระจายสินค้าและแพ็คส่งให้กับลูกค้า
เพื่อความรวดเร็วและน่าเชื่อถือ
ซึ่งผู้ขายจะต้องเสียค่าวางสินค้าในคลังกับทาง Amazon
ข้อดีของการทำ Fulfillment
Amazon จะช่วยดันสินค้า ให้อยู่อันดับบนๆ ทำให้โอกาสขายได้มากขึ้น
ถามว่าทำไม? เพราะเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น Amazon สามารถจัดการแก้ปัญหาได้ทันที
เพราะสินค้าอยู่ที่คลัง
ส่วนข้อเสียของการทำ Fulfillment
ถ้าเราสต็อกสินค้าค้างไว้นานๆ อาจจะทำให้ขาดทุนหรือเจ๊งได้
ฉะนั้นก่อนทำ FBL ควรจะวิเคราะห์สินค้าและบริหารสต๊อกให้ดี
หรือถ้าสินค้าตัวไหนที่ขายดีมากๆ ค่อยเอาไปทำ FBL
ข้อ 5 LAZADA จะเป็นเหมือนธนาคาร
คือสามารถปล่อยเงินกู้ให้กับผู้ขายได้โดยตรง (ถ้าแบงก์ชาติอนุมัติให้ทำได้)
โดยวิเคราะห์จากตัวผู้ขาย เช่น ยอดขายดี ลูกค้ารีวิวดี ฯลฯ
เหมือนตอนนี้ที่ทาง Alibaba Group ปล่อยเงินกู้ให้กับผู้ขายจีนใน Taobao
ที่เรียกว่า Ant Financial
ข้อ6 LAZADA Showcase หรือ ศูนย์การเรียนรู้ผู้ขาย
เพื่อบ่มเพาะให้กับผู้ขายขายของได้ดี
จนสามารถทำ FBL กับทาง LAZADA ได้
ข้อ 7 สงครามระหว่าง LAZADA กับ SHOPEE จะไม่มีวันจบ
เพราะเจ้าของไม่ได้สนใจว่าจะขาดทุนหรือไม่ขาดทุน
แต่มองว่ามี User เพิ่มขึ้นในอัตราที่พอใจหรือไม่
และเมื่อไหร่ก็ตามที่ยึด User ได้ทั้งประเทศ
ก็จะสามารถโกยเงินกลับได้ในอนาคต
หรือบางคนวิเคราห์ว่าเอา Data จาก User ไปแอบขาย
เหมือนที่ Facebook เคยทำ
การปรับตัวของผู้ขายโดยการสร้างแบรนด์
การสร้างแบรนด์มีอยู่ 3 ส่วน
1 แบรนด์สินค้า
2 แบรนด์ร้านค้า
3 Personal Branding หรือ การสร้างตัวตน
เมื่อมีแบรนด์เราอาจไม่จำเป็นต้องขายสินค้าหลาย SKU
เพียงแต่ทำสินค้าตัวนั้นให้โดดเด่น แตกต่าง และมีจุดขายที่ชัดเจน
นอกจากจะนำสินค้าไปวางขายใน Lazada กับ Shopee แล้ว
อย่าลืมทำเว็บของตัวเองด้วย
อย่าวางไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียวกัน
เมื่อไหร่ที่คุณไม่ปรับตัว
สิ่งแวดล้อมจะบีบคุณเอง
cr.อาจารย์ตรี
กับความคิดเห็นส่วนตัว
#AroundMun
โฆษณา