12 ก.ย. 2019 เวลา 06:40
บ๊ายบายพลาสติก!!!
ถือเป็นนวัตกรรมเปลี่ยนโลกก็ว่าได้ (ถ้าทำได้จริง) เมื่อนักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศษ Christofer Costes สามารถสร้างเครื่องจักรเปลี่ยนพลาสติกให้เป็นเชื้อเพลิงเหลว (liquid fuel)
เครื่องจักรนี้มีชื่อว่า 'Chrysalis' ทำงานโดยการใส่พลาสติกในเครื่องปฏิกรณ์ที่มีความร้อนถึง 450 องศาเซลเซียสเพื่อทำการ 'ไพโรไลซ์' (การสลายตัวด้วยความร้อนของวัสดุที่อุณหภูมิสูงในบรรยากาศเฉื่อย)
จากนั้นเครื่องจะทำการแปรรูปพลาสติกให้เป็นเชื้อเพลิงเหลว ซึ่ง 65% ของเชื้อเพลิงนั้นจะเป็นน้ำมันดีเซลที่สามารถใช้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือมอเตอร์ของเรือ, 18% จะเป็นน้ำมันเบนซินสำหรับการผลิตเชื้อเพลงในตะเกียง, 10% เป็นเเก๊สที่ใช้กับการเผาไหม้ และ 7% จะเป็นคาร์บอนสำหรับการผลิตสีเทียนและสารเติมแต่งสีต่างๆ
ในปัจจุบัน คุณ Costes ทำงานกับหน่วยงานทางด้านสิ่งเเวดล้อม Earth Wake ในการพัฒนาเครื่อง Chrysalis และเตรียมสร้างเครื่องจักรนี้ในเชิงพาณิชย์ โดยจะมีราคาประมาณเครื่องละ 50,000 ยูโรหรือ 2 ล้านบาทไทย
พวกเขายังวางเเผนสร้างเครื่องที่มีขนาดใหญ่ขึ้นในช่วงปี 2019 นี้ สำหรับการผลิตเครื่องแปรรูปนำ้มันที่มีกำลังการผลิต 40 ลิตรต่อชม.
การใส่เม็ดพลาสติกในเครื่อง
"เราต้องการสร้างโมเดลเครื่องจักรที่ขายได้ เพื่อองค์กรของเราจะได้มีเงินทุนในการพัฒนาเครื่อง และเพิ่มการผลิตได้เรื่อยๆ" Francois Danel, ผู้บริหารของ Earth Wake กล่าว
ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากหากเครื่องนี้สามารถใช้งานและผลิตในต้นทุนต่ำได้ เพราะทุกวันนี้ มีการผลิตขยะพลาสติกกว่า 260 ล้านตัน ซึ่งถุงพลาสติก 1 ใบ ต้องใช้เวลาย่อยสลายถึง 450 ปี หากนำไปเผาก็จะทำให้เกิดสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะทำให้โลกร้อนหรือ global warming ที่เป็นปัญหาใหญ่ของทั่วทั้งโลก
ในประเทศไทยเอง จังหวัดกรุงเทพมหานครมีรายงานการเก็บขยะมากถึง 85,00 ตัน/วัน ในจำนวนนี้คิดเป็นถุงพลาสติกถึงร้อยละ 21 หรือ 1,800 ตัน/วัน หรือรถเก๋งจำนวนประมาณ 1,800 คัน!!! นี่คือต่อ 1 วันนะครับ
อย่างไรก็ตาม จากข่าวล่าสุด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) มีเป้าหมายลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ภายในปี 2565 ด้วยการใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ 100% ภายในปี 2570 ซึ่งจะช่วยลดปริมาณพลาสติกที่ต้องนำไปกำจัดได้ประมาณปีละ 780,000 ตัน ลดงบประมาณในการจัดการขยะมูลฝอยปีละ 3,900 ล้านบาท รวมทั้งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 1,200,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ (ขอบคุณข้อมูลจากhttps://news.thaipbs.or.th/content/283923)
กองภูเขาจากพลาสติก
อ้างอิง: shorturl.at/bcjxG
โฆษณา