13 ก.ย. 2019 เวลา 04:25
เว้ยๆๆ...มาบอมป์ทำลายทุกข์กัน
ให้มันหยดติ๋งๆ (ตอนอวสานต์)
เมื่อคราวที่แล้ว เราพูดถึงกลไกเกิดทุกข์ วันนี้เรามารวบตอน 3-4 เพื่อให้มันจบกระบวนความ ทัั้งกลไกตามแนวคิดพุทธศาสนา(ตอนที่ 3)และจบด้วยการระเบิดทำลายล้างทุกข์กัน (ตอนที่ 4)
ตอนที่ 3 กลไกเกิดทุกข์ตามหลักพุทธศาสนา
อวิชชา >>>> สังขาร >>>> วิญญาณ >>>> นามรูป >>>> สฬายะตะนะ >>>> ผัสสะ >>>> เวทนา >>>> ตัณหา >>>> อุปาทาน >>>> ภพ >>>> ชาติ >>>> ทุกข์ทั้งหลาย
อธิบายได้ดังนี้
อวิชชา คือความไม่รู้ ด้วยความไม่รู้นี้เองนำไปสู่ สังขาร
สังขาร คือสภาวะการปรุงแต่งเติมเสริมเกินเลยความจริงไปมากน้อยตามแต่ละคน ปรุงแต่งมากก็ทุกข์มากตาม ปรุงแต่งน้อยลงหน่อยก็ทุกข์น้อยลง เมื่อการปรุงแต่งนี้เกิดขึ้นจากการไปรับรู้ทางหู คือฟัง ตา คือเห็น ลิ้น คือรับรู้รส จมูก คือรับกลิ่น กาย คือการสัมผัสผ่านทางผิวหนังกาย ใจ คือ คือรับรู้ความรู้สึกด้วยใจ การรับรู้ทั้งหมดนี้เรียกว่า วิญญาณ
วิิญาณ คือ การรับรู้ที่กล่าวมา
การรับรู้นี้เกิดได้จากสภาวะเป็นรูปธรรม คือ ได้ยิน ได้ฟัง ได้เห็น ได้รู้รสชาติ ได้กลิ่น ด้วยการสัมผัสกาย ร้อน หนาวเย็น นุ่ม แข็ง อ่อน เป็นต้น ส่วนนามธรรม คือรับรู้ด้วยใจ ชอบ ไม่ชอบ ผิดหวังสมหวัง เข้าใจ ไม่เข้าใจ เป็นต้น รูปธรรมและนามธรรมนี้ รวมเรียกว่า นามรูป
นามรูป คือ สิ่งที่มากระทบกับอวัยวะรับรู้
สฬายะตะนะ คือ การรับรู้สิ่งที่มากระทบกับวิญญาน จึงกลายมาเป็นความรู้สึกต่างๆที่นามรูปมากระทบ ความรับรู้ความรู้สึกได้ยิน - เห็น - รสชาติ - กลิ่น - สัมผัส - และความรู้สึกทางใจ เมื่อมีตัวสังขารคือตัวผงชูรสมาเติมปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์ต่างๆ มันจึงไปเกิดเป็น เวทนา
เวทนา คือ ความรู้สึกจริงที่เกิดเป็น ทุกข์ สุข เฉยๆ วางเฉย แต่สังขารที่ปรุงแต่งไปปลุกเร้า จึงเกิดตัณหา
ตัณหา คือความกระหายอยากกระสันต์ตามที่ปรุงแต่ง แต่เนื่องจากมีอุปทาน คือ ความรู้สึกบางอย่างฝังเป็นฮาร์ดแวร์อยู่ในจิตใต้สำนึก ตัวตัณหาเสมือนคลื่นความถี่(เหมือนคลื่นโทรศัพท์ หรือline หากเราส่งตรงคลื่นนั้น โทรถึงเบอร์นั้น line นั้นก็ติด)มันจะวิ่งไปหาคลื่นในจิตใต้สำนึกว่าตรงกับตัวใด (เบอร์ใด lineใคร) เมื่อหาเจอ ก็จะเริ่มเกิดอารมณ์นั้น เรียกว่า ภพ
ภพ คือ การเริ่มก่อตัวเกิดว่า จะแสดงอารมณ์ ความรู้สึกใด เมื่อเริ่มเกิด จากนั้นแสดงอารมณ์ อารมณ์ที่เริ่มก่อตัวจนเกิดอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ คือ ชาติ
ชาติก็คืออารมณ์ที่แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมสุข เฉยๆ ทุกข์
ดังนั้น ทุกข์ สุข เฉยๆ จึงเป็นผลลัพธ์สุดท้ายของชาติ ที่แสดงพฤติกรรมออกมาในรูปแบบ ชอบ โกรธ เกลียด โมโห หลง หงุดหงิด รำคาญ ไม่พอใจ มีความสุขใจ หรือไม่ยินดียินร้ายใดๆ เป็นต้น
นั่นคือกระบวนการคิดแจกแจงที่อธิบายพอสังเขปให้พวกเราเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าสอนอะไรเราเรื่องนี้ ความยากแท้จริงของคำสอนคือเราไม่รู้ว่า ศัพทบาลีนั้นๆหมายถึงอะไร จึงไม่รู้ ไม่เข้าใจคำสอนนี้กัน
เมื่อเข้าใจตอนที่ 3 กลไกทุกข์ตามคำสอนพระพุทธเจ้า จึงไม่ยากในการตัดทุกข์ทิ้ง บอมป์ทำลายทุกข์ทิ้ง
ตอนที่ 4 บอมป์ทำลายทุกข์ทิ้งสิ้น
ตามกลไกตอนที่ 3 เพียงเราตัดวงจรขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งทิ้งทุกข์ก็จะเกิดต่อไม่ได้ เพราะวงจรมันขาดต่อกันไม่ติด เหมือนเราต่อวงจรไฟฟ้าไม่ครบ ไฟฟ้าย่อมไม่ติด ใช้การไม่ได้ เราต่อวงจรคอมพิวเตอร์ไม่ครบ คอมพิวเตอร์ทำงานไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น ดังนั้น ไม่ว่า เราตัดอวิชชาออก ตัดสังขารตัวปรุงแต่งออกไป ตัดวิญาณคืออวัยวะรับรู้ ตัดนามรูปออก ตัดสฬายะตะนะออก ตัดเวทนาออก ตัดตัณหาออก ตัดอุปทานออก ตัดภพออก ตัดชาติออก ตัดเพียงตัวเดียวตัวใดตัวหนึ่ง ทุกข์ก็จะถูกตัดวงจร ทุกข์จึงเกิดขึ้นไม่ได้อีก
หากเข้าใจตามนี้ เราตัดวงจรใดวงจรหนึ่ง ทุกข์ก็ดับทันที เพราะวงจรการเกิดถูกตัดไม่ให้เกิดแล้วจึงง่ายมากในการดับทุกข์ แต่ทว่าในความจริงถึงรู้แบบนี้ทำไมเราทำจริงๆไม่ได้ ไปหาคำตอบเอาดูนะ... ฮิๆๆๆๆ
สำหรับคำสอนพระุทธเจ้านั้น สอนเน้นที่ตัดอวิชชาให้เป็นวิชชาคือรู้ไปเลยแต่ต้น มันตัดไฟแต่ต้นลม จะไม่เกิดทุกข์ตลอดกาล เพราะมันรู้ตั้งแต่ก่อนเริ่มเกิดทุกข์ ซึ่งนั่นก็จะเป็นผู้ถึงนิพพานแล้วนั่นเอง แต่หากยังมีอวิชชา คือความไม่รู้ ไปตัดส่วนใดๆในขั้นตอน ก็ไม่สามารดับทุกข์ถาวรได้ เพราะมีวันเผลอเรอจะเกิดการขาดสติ เพราะความไม่รู้ยังมีอยู่
สำหรับผู้ที่เรียนรู้ศาสตร์NLP(Neuro-Linguistic Program) สามารถแก้ทุกข์ได้เป็นเรื่องๆไป หากสามารถรู้สาเหตุ แล้วไปล้วงลึกจิตใต้สำนึกนั้นมาลบออก คือเอาอวิชชาเรื่องนั้นออกจากตัวไปทิ้งเป็นเรื่องๆไป ซึ่งเทียบเคียงกับคำสอนพระพุทธเจ้าก็คือลบอวิชาเรื่องนั้นที่ทำให้ทุกข์ออกไป แต่ต้องหาทีละเรื่องจึงต้องแก้แต่ละเรื่อง ต่างจากคำสอนพระพุทธเจ้าคือ เกิดวิชชาเพราะมีญานหยั่งรู้ทุกเรื่องจึงเท่าทันอวิชชาทุกเรื่อง โดยไม่ต้องไปล้างทีละตัวแบบNLP แต่กว่าจะได้วิชชาที่ไม่ใช่อวิชชามันต้องฝึกฝนสมถะและวิปัสนากรรมฐานกันอย่างเอกอุอย่างพระพุทธเจ้า อย่างหลวงปู่มั่น หลวงปู้ฝั้น หลวงตาบัว เป็นต้น ซึ่งหากมีเวลาและว่างพอเขียนคุยเรื่อง NLP และสมถะวิปัสนากรรมฐานให้พวกเราฟังกัน และที่พวกNLPคุยกันว่าเป็นศาสตรบับมหัศจรรย์ มันมหัศจรรย์จริงหรือ?
เพื่อนพ้องน้องพี่ท่านใดมีความเห็น หรือติชม หรืออยากรู้เรื่องราวใดๆทำนองนี้ เขียนและบอกไปได้นะ ยินดีน้อมรับรับฟังทุกประเด็น และหวังว่าที่เล่ามาคงเป็นสาระประโยชน์เล็กน้อยผู้สละเวลาอ่าน
บุญเรือง
โฆษณา