( 2) • “ พระพุทธเจ้า “ • ทรงได้รับการยกย่อง ว่า • เป็น ครูของมนุษย์และเทวดา • เพราะทรงบำเพ็ญ “ โลกัตถจริยา “ : หรือ: “ พุทธกิจ 5 “ หรือ “ เบญจกิจจา “ • ดังปรากฏในบทสรรเสริญพระพุทธคุณ 56 ประการ • วรรคสุดท้ายของบท อิติปิโส • คำว่า “ สัตถา เทวามนุสสานัง พุทโธภควาติ •
ผิดกับ • “ ยอดมนุษย์วิเศษ • อุลตร้าแมน หรือ สไปเดอร์แมน หรือ แบทแมน • ล้วนแล้วแต่เป็น • ( ก า ร์ ตู น ) • ที่ถูกสร้างขึ้นมา เขียนขึ้นมา ด้วยกันทั้งสิ้น • ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ พระมหาบุรุษ ที่มีตัวตน ชัดเจน เฉกเช่น พระสมณโคดม
เป็นการบัง ควร หรือ • ที่ จะนำ การ์ตูน : มาเปรียบเปรย เปรียบเทียบ กับ พระพุทธองค์. ผู้เป็น พระบรมศาสดา เอกของโลก ( อเทวนิยม ) • ตรงนี้คือ ภูมิรู้ - ภูมิธรรม - ภูมิปัญญา • อันเป็น “ พื้นฐานแห่ง • ความคิด • หรือ • จินตามยปัญญา • ต้องไม่มืดบอด •และ เป็น • มิจฉาทิฐิ • ( ความเห็นผิด ) เป็นที่ตั้ง จึง คิด ผิด ( ดำริ) • พูดผิด • ทำผิด
(3 ). ภาพวาด. : พระพุทธรูปอุลตร้าแมน • ที่ วาด พระพุทธรูป อัลตร้าแมน • ทำกริยา ท่าทาง ในการต่อสู้ • ในรูปแบบท่าทางงต่างๆ. ตามจินตนาการ ของศิลปินผู้วาดรังสรรค์ชิ้นงาน • มัน บ่งบอก หรือ สะท้อน ถึง • “ พระพุทธจริยา “ • ที่ พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระบรมศาสดา ทรงบำเพ็ญหรือทรงกระทำ ปรากฏในตอนใด ส่วนใดของ พุทธประวัติ หรือ บ่งบอกถึง• “ พระพุทธคุณ “ • ในข้อใด
อย่างไร
ประการ สำคัญยิ่ง • พระพุทธองค์ • ทรง บวช (งดเว้น ออกจากสิ่งที่ ฆราวาส ปฏิบัติ ) • ถือสมณเพศ แสวงหาโมกขธรรม จนตรัสรู้ • ทรงนุ่งห่ม • ด้วย • ผ้าสามผืน •
เหตุไฉนภาพวาดศิลปะ ชุดนี้ • จึง วาดเอาชุดอุลตร้าแมน ( สวมชุดเสื้อแขนยาว สวมกางเกงขายาว ) • แล้ววาด พระเศียรพระพุทธรูป ต่อเติมประยุกต์ลงไป • ซึ่ง ชุดเสื้อผ้า กางเกง อุลตร้าแมน • มิใช่ ชุดในวิสัยของ สมณเพศ •
พระพุทธรูป ในแต่ ละยุคสมัย ของชาวพุทธ ยังคงรูปแบบของ. • จีวร ผ้าห่ม ไว้อย่างชัดเจนยิ่งนัก • ประติมากรแต่ละยุคสมัย ก็จะรังสรรค์ รายละเอียดของ ริ้วจีวร ที่ อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง เป็น อัตลักษณ์ของตนและสื่อยุคสมัย • แต่ไม่มี พระพุทธรูป ยุคสมัยใด. เลยเถิด• สวมกางเกงขายาว เสื้อแขนยาว. เฉกเช่น ภาพที่ เขียนชุดนี้. • นี้หรือ คือ • สุนทรียศาสตร์ ในศิลปะ • ต้องมีความถูกต้อง ทั้งในคติโลกและคติธรรมด้วย • มิเช่นนั้นจะกลายเป็น • องค์ความรู้ที่ผิดๆ. บิดเบือน บิดเบี้ยว จากภาพ ได้ในกาลต่อไป ยังให้เกิดความสับสนแก่สังคมได้. ในความฟั่นเฟือนเช่นนี้ ซึ่งเป็น การไม่บังควร ยิ่ง นัก
ตรงนี้ “ ศิลปิน • ผู้สร้าง ผลงานศิลปตามจินตนาการ หรือ ประยุกต์ศิลป์ • ต้อง ตอบคำถามให้ได้. และ ชัดเจน ด้วย • ในฐานะ เป็น • “ ช า ว พุ.ท ธ • สร้างสรรค์ หรือ ทำลาย • มันเสมือนเส้นด้ายครับ กรณีนี้
ศาสนาพุทธ. เป็น • วิถีทางแห่งปัญญา • มิใช่ จินตนาการ แบบมืดบอด ครับ