15 ก.ย. 2019 เวลา 10:00 • ความคิดเห็น
ค้นพบเคล็ดลับที่จะช่วยลดค่าไฟของคุณไปตลอดกาลได้ที่นี่ !
เทคนิคง่ายๆ ที่ช่วยลดค่าไฟ แบบที่ทุกบ้านต้องลอง!
เชื่อเลยว่าปัญหาปวดหัวของเจ้าของบ้านหลายๆ คน
คงหนีไม่พ้นเรื่องค่าไฟเนี่ยแหละครับ เพราะนับวันมีแต่จะยิ่งแพงขึ้นๆ
ไหนจะต้องเปิดทั้งแอร์ ทั้งพัดลม ทีวี ตู้เย็น หม้อหุงข้าว
และอื่นๆ อีกมากมาย ยิ่งคนเยอะก็ยิ่งเปลือง
เพราะแบบนี้แหละเราเลยรวบรวมเทคนิคประหยัดไฟมาให้เพื่อนๆ ดูกัน
ถ้าเราเข้าใจได้ถูกจุดก็จะช่วยลดรายจ่ายไปได้อีกเยอะเลย!
#ทำความเข้าใจเรื่องกิโลวัตต์
ทำความเข้าใจเรื่องกิโลวัตต์
อันดับแรกต้องดูกิโลวัตต์ก่อนนะครับ หรือก็คือกำลังไฟที่ใช้งานนั่นเอง
ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าไหนมีจำนวนวัตต์มากก็เท่ากับยิ่งกินไฟ
ซึ่ง 1 กิโลวัตต์จะเท่ากับ 1 ยูนิต หรือ 1 หน่วย ตามบิลค่าไฟ
เช่น บ้านมีหลอดไฟ 100 วัตต์ 10 หลอด เท่ากับ 100x10 = 1,000 วัตต์
ถ้าเปิดไฟทั้งบ้าน 2 ชั่วโมง เท่ากับ 1,000x2 = 2,000 วัตต์
เพราะฉะนั้น 2 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง = 2 ยูนิต หรือ 2 หน่วยในบิลค่าไฟนั่นเอง
Credit : กระทรวงพลังงาน
#ดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าของเรากี่วัตต์
ดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าของเรากี่วัตต์
หลังจากรู้การคำนวณคร่าวๆ แล้ว
ทีนี้ก็ไปดูเลยครับว่าตามเครื่องใช้ฟ้าต่างๆ ที่เราใช้บ่อยๆ
มันกินพลังงานกันเท่าไหร่บ้าง จะได้รู้ว่าควรประหยัดตัวไหนมากเป็นพิเศษ
ซึ่งถ้าใครขี้เกียจไปก้มๆ เงยๆ ดูเองล่ะก็
เรารวบรวมมาให้แล้วคร่าวๆ ดังนี้
#เครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรกินไฟมากสุด
เครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรกินไฟมากสุด
พัดลมตั้งพื้น 45-75 วัตต์
พัดลมเพดาน 70-104 วัตต์
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 500-1,000 วัตต์
เตารีดไฟฟ้า 700-2,000 วัตต์
เครื่องทำน้ำอุ่น 2500-12,000 วัตต์
เครื่องซักผ้า 3,000 วัตต์
ตู้เย็น (2-12 คิว) 53-194 วัตต์
แอร์ 1,200-3,300 วัตต์
โทรทัศน์ 43-95 วัตต์
เครื่องอบผ้า 650-2,500 วัตต์
คร่าวๆ ก็จะประมาณนี้ ทีนี้ก็คำนวณกันได้ง่ายแล้ว
ว่าเราจะต้องประหยัดเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวไหนในบ้านบ้าง
ทีนี้เพื่อนๆ ก็ลองดูนะว่าเราใช้งานอะไรมากที่สุด
จะได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับค่าไฟได้มากขึ้น
เช่น ถ้าชอบทำงานดึก เปิดไฟเยอะ ก็อาจจะเปลี่ยนมาทำงานตอนเช้าแทน
เทคนิคง่ายๆ นี่แหละครับ ปรับไปทีละนิดละหน่อย
รับรองค่าไฟถูกลงอย่างแน่นอนน้องมินคอนเฟริมคะ....
1
โฆษณา