14 ก.ย. 2019 เวลา 08:26 • ประวัติศาสตร์
วิธีพิสูจน์พระอรหันต์ ด้วยคำถามของพระพุทธเจ้า
วิธีพิสูจน์พระอรหันต์ ด้วยคำถามของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าตรัส วิธีพิสูจน์พระอรหันต์ ไว้ในพระสูตรที่มีชื่อว่า “ฉวิโสธนสูตร” เพื่อคายความสงสัยของเหล่าพระภิกษุ และให้พระภิกษุสามารถทราบว่าพระภิกษุรูปใดบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว มีความว่า
ถ้ามีพระภิกษุรูปใดประกาศตนว่าเป็นพระอรหันต์ ขออย่ารีบเชื่อและไม่เชื่อว่าภิกษุรูปนั้นเป็นพระอรหันต์ จงถามพระภิกษุรูปนั้นด้วยคำถาม 4 ประการนี้
1. ท่านเห็นอารมณ์ที่ตนเห็นแล้วรู้สึกอย่างไร
2. ท่านได้ยินอารมณ์ที่ตนได้ฟังแล้วรู้สึกอย่างไร
3. ท่านทราบในอารมณ์ที่ทราบแล้วรู้สึกอย่างไร
4. ท่านรู้ชัดในอารมณ์ที่รู้ชัดแล้วรู้สึกอย่างไร
หากเป็นพระภิกษุผู้สิ้นซึ่งอาสวกิเลสแล้ว จะตอบด้วยธรรมอันสมควรว่า”เราไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่มีกิเลสแล้ว ไม่พัวพัน ไม่สามารถเห็น ได้ยิน ทราบ และรู้ชัดในอารมณ์”
จากนั้นถามพระภิกษุรูปนั้นว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุปาทานขันธ์ 5 ไว้คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ท่านมีความเห็นในขันธ์ 5 นี้อย่างไร
ถ้าภิกษุรูปนี้เป็นพระอรหันต์ จะตอบว่า
“เรารู้แจ้งในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณว่าไม่ใช่ที่ตั้งแห่งความน่าชื่นชม พอทราบชัดดังนั้น จิตจึงสลัดซึ่งอุปาทานที่ยึดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณแล้ว รวมทั้งอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นในรูป ”
จากนั้นให้ถามพระภิกษุรูปนั้นต่อว่า
ท่านเห็นอย่างไรในเรื่องธาตุ 6 ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาศธาตุ และวิญญาณธาตุ
ถ้าพระภิกษุรูปนั้นสิ้นซึ่งกิเลสแล้วจะตอบว่า “เราครองธาตุทั้ง 6 นี้ด้วยความไม่มีตัวตน (อนัตตา) มิได้ครองธาตุเหล่านี้ด้วยการมีตัวตน (อัตตา) ดังนั้นจิตของเราจึงพ้นแล้วจากธาตุทั้ง 6”
จากนั้นให้ถามพระภิกษุรูปนั้นต่อว่า
ท่านเห็นอายตนะภายใน 6 และอายตนะภายนอก 6 เป็นอย่างไร
ถ้าพระภิกษุรูปนั้นสิ้นกิเลสแล้วจะตอบว่า “เรารู้ว่าจิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นซึ่งความพึงพอใจในความกำหนัด ความยินดี ตัณหา อุปทานที่ยึดมั่น และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นใน ดวงตากระทบรูป เกิดจักษุวิญญาณ หูกระทบเสียง เกิดโสตวิญญาณ ลิ้นกระทบรส เกิดชิวหาวิญญาณ กายกระทบสัมผัส เกิดกายวิญญาณ ใจหรือจิตกระทบอารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ (วิญญาณในที่นี่หมายถึง การรับรู้) เรารู้และเห็นเช่นนี้จิตจึงพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งปวง”
ที่มา : ฉวิโสธนสูตร
โฆษณา