15 ก.ย. 2019 เวลา 04:30 • ธุรกิจ
Learning Visual Diary #26: เรามาทำงานแบบ Deep Work กันเถอะ😊
สวัสดี​ครับ​ทุกท่าน​ ในโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร​ Social​ ​network เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกเวลา​พอๆกับที่เราเปิดให้สิ่งต่างๆเข้าถึงตัวเรา​ สิ่งเหล่านี้ทำให้เรามีสมาธิ​สั้นลง​ วันนี้​ผมจึงอยากชวนคุยถึงหนึงใน​ skill ที่หาได้ยาก​ขึ้นและนับวันจะมีค่ามากขึ้น​ ไม่ใช่เรื่อง​ Big​ Data หรือ Data Science ครับ (อันนั้นก็สำคัญครับ)​ แต่เราจะคุยกันเรื่อง Deep Work ครับ
คือมันอย่างนี้ครับ...
เนื้อหาวันนี้ผมได้แรงบันดาลใจ​จากสองแหล่งที่มาหลัก คือ หนังสือชื่อ Deep Work ของคุณ Cal Newport และบทความของคุณรวิศ ใน The Standard และผมผสมความเห็นส่วนตัว​จากประสบการณ์​ทำงานของผมเข้าไป ลองตามมาชมครับ
https://images.app.goo.gl/AjZYWTSnYw5ui6K77
❓Deep Work คืออะไร
มันก็คือช่วงเวลาการทำงานที่เราอยู่ในสภาวะ 'Flow'​ คือ มีสมาธิ​ในการจดจ่อต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมาก จนเหมือนไม่รู้เวลา เหมือนหลุดไปอีกโลกอะไรแบบนี้ครับ ผมจำได้ว่าสมัยผมเด็กๆ🧒 ผมมีช่วงที่อยู่ในสภาวะ Flow บ่อยๆเลย โดยเฉพาะตอนเตรียมสอบ entrance (น้องๆสมัยนี้อาจไม่รู้จักคำนี้นะครับ) โดยเฉพาะตอนอ่านหนังสือตอนกลางคืน ผมสามารถเริ่มอ่านหนังสือไดตั้งแต่ 5 ทุ่มถึงตี 5 ได้เลย แบบชนิดจมไปในหนังสือเลยครับ ที่พูดแบบนี้เพราะเดียวนี้ทำไม่ได้แล้วครับ
โดยสรุป ผมคิดว่า Deep Work คือ การทำงานหรือกิจกรรมอะไรก็ตามที่เราอยู่ในภาวะจดจ่อมากจนไม่คำถึงสิ่งรบกวน และมีระดับการรับรู้ต่อสิ่งที่ทำอยู่อย่างเต็มที่
ข้อดีอย่างแรกของ Deep Work คือ เมื่อเราเข้าสู่สภาวะ Flow 😇มันจะเป็นช่วงที่เราสามารถเค้นพลังของสมองได้มากและลึกขึ้น อะไรที่เราไม่เข้าใจก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งการที่เราเข้าใจอะไรได้ง่ายขึ้นลึกขึ้น มันช่วยให้เราคิดอะไรได้หลายมิติมากขึ้นอีกด้วย และนั่นคือที่มาของความคิดสร้างสรรค์ครับ และอีกเรื่องที่สำคัญมากคือ เราจะถูกสิ่งเร้ามารบกวนได้ยากขึ้น
นอกจากนี้ เมื่อเราสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพแบบนี้ ก็ทำให้งานเดิมปริมาณเดิม เราใช้เวลาได้น้อยลงขณะที่คุณภาพดีขึ้นด้วย และนี่ก็คือที่มาของคำว่า Smart Work ครับ เราเคยเห็นคนที่ทำงานหนักกลับบ้านดึก แต่ไม่รู้ทำอะไร หรือผลงานไม่ชัดเจนใช่ใหมครับ ลองมาดูความต่างว่ามันต่างกันยังไง
❓Deep Work vs Shallow Work คืออะไร ต่างยังไง
Shallow Work เป็นประเภทงานที่ตรงข้ามกับ Deep Work ที่ถูกอ้างถึงในหนังสือ Deep Work ของคุณ Newport ซึ่งผมขอพูดใน Version ของผมผสมไปด้วย ดังนั้นถ้า Deep Work คือการที่เรามีสมาธิจดจ่อและมีระดับการรับรู้ต่อสิ่งที่ทำเต็มที่
Shallow Work ก็คือ งานที่ไม่จำเป็นต้องจดจ่อและไม่จำเป็นต้องมีการรับรู้ในระดับสูงก็ได้ เราอาจจะเข้าสู่รูปแบบการทำงานแบบไม่รู้ตัวก็ได้นะครับ แต่ไม่ใช่ Flow เราเรียกมันว่า Auto pilot คือ บางทีคุณเคยรู้สึกใหมว่าทำอะไรไม่รู้ จู่ๆก็ผ่านไป 2-3 ชั่วโมงเฉยๆ แบบรู้สึกไม่ได้อะไร เช่น เรานั่งไถมือถือไปเรื่อยๆ🤳 เราหลุดจากโลกภายนอกเหมือนกันแต่เราก็ไม่มีการรับรู้เต็มที่ว่าอ่านอะไรอยู่และทำเพื่ออะไร!!
ในการทำงานก็มีครับ งานที่เราทำแบบ routine จนเกิดความเคยชินมากๆ เรานั่งเช็ค email ไปยังงั้น cleansing ข้อมูลใน excel แบบไปเรื่อยๆไม่ทีเป้าหมาย ทำงานเอกสารแบบไปเรื่อยๆ เล่นมือถือไปด้วย
คือ ผมไม่ได้บอกว่างานแบบนี้ไม่สำคัญ มันสำคัญแต่ที่ทำให้มันไม่สำคัญก็เพราะเราไม่มีเป้าหมายในการพัฒนา เราแค่ทำไปเรื่อยๆแบบอัตโนมัติ ปล่อยให้ความเคยชินพาเราไป ทำให้เราไม่ได้เปิดโอกาสในการสร้าง new value กับงานนั้นๆเลย งานทุกงานมี value ของมันเพียงแต่เราต้องมีเป้าหมายและรู้แนวทางที่จะทำชัดเจนครับ ไม่ว่างานใหนต้องสร้างคุณค่าให้ตัวเราและงานได้แน่นอน
❓แล้วทำยังไงถึงทำ Deep Work ได้ละ
แต่ละคนคงมีวิธีทำ Deep Work ต่างกันครับ ผมคืดว่าผมคงเสนอความเห็นของผมเพื่อเป็นแนวทางเท่านั้น ลองมาพิจารณากันนะครับ กับ 4 วิธีการเข้าสู่ Deep Work ครับ
1. Well-Perceived of your Work ต้องรู้ว่าสิ่งที่จะทำคืออะไร เพื่ออะไร และจะให้ดีกว่านี้ต้องรู้แนวทางการทำด้วย ตามประสบการณ์​ของผม ผมคิดว่าถ้าเรามีแผนที่ดีจะทำให้เราเข้าสู่ flow ได้ง่ายขึ้น
https://images.app.goo.gl/bK1UTQQ97hDR6uWx5
เพราะมันมีกรอบ ผมใช้คำว่า Framework ละกันครับ Framework ไม่ได้จำกัดความคิดเราแต่ช่วยให้สมองเรา focus ได้ดีขึ้น เพราะมันคลายกังวลในสิ่งที่เราไม่รู้ไป เหมือนเดินทางก็ต้องมีแผนที่ครับ ทุกครั้งที่ผมจะเริ่มทำงานที่ต้องการ Deep Work ช่วงแรกผมมักจะทำงานบนกระดาษก่อน กำหนด step การทำงาน และเป้าหมายของ Deep Work รอบนี้ มันเหมือนเราทำเสร็จสองรอบ รอบแรกในใจ รอบที่สองทำจริงครับ😇
2. Find Your Prime Period แต่ละคนมีเวลาที่เป็น prime หรือเวลาที่สามารถสร้างสมาธิ​ได้ดีไม่เหมือนกันครับ อย่างตัวผม จะมีสองเวลา คือตอนเดินทางไปทำงานจนถึงชั่วโมงแรกของการทำงาน 😪กับก่อนนอน😴 แต่ช่วงก่อนนอนจะมีข้อแม้ว่าวันนั้นต้องไม่ใช่วันที่ประชุมหนักเกินไป แต่ตอนผมยังเป็นเด็ก ผมมักอ่านกลางคืน ไม่ใช่อ่านดึกนะครับ แต่มันคือกลางคืนเลย (11pm -​5am) ในทางทฤษฎี​บอกว่าเวลาที่ดีของึนส่วนใหญ่​คือ 3-5 ชั่วโมงหลังตื่นนอนครับ แต่ทุกคนผมว่าไม่จำเป็น​ต้อง​เหมือนกัน
https://images.app.goo.gl/FrwuJjBsG4itpoE79
สำคัญคือ เราต้องรู้จังหวะเวลาของเรา ว่าตอนใหนสามารถรวบรวมพลังสมองได้ดีที่สุด🚀 เวลาใหนเอื้ออำนวยที่จะหลุดจากการรบกวนได้ดีสำหรับ lifestyle ของเรา เมื่อรู้แล้วจงหวงมันไว้ครับ หวงไว้ทำอะไรที่สำคัญสำหรับคุณ ทำให้เป็น routine แล้วร่างกายคุณจะเ​ปิดสวิตช์​ให้กับสมองเองเลยครับ
3. Prepare Environment for Your Deep Work เมื่อคุณจะเตรียมพร้อมสำหรับการทำ Deep Work​คุณต้องมีพิธีกรรมครับ ผมเองก็จะมีกิจกรรมเล็กๆก่อนทำงานที่จะดำดิ่งเสมอครับ
https://images.app.goo.gl/sXNQ8eNXKwVYDqTy9
ที่ว่าพิธีกรรมไม่ใช่อะไรใหญ่โตหรือจุดธูปไหว้พระอะไรนะครับ แต่เป็นการส่งสัญญาณ​ให้ร่างกายว่าเราจะเริ่ม Deep Work เช่น การใส่หูฟัง👂 เปิดเพลงที่ฟังแล้วมีสมาธิ หรือการดื่มน้ำอึกใหญ่เรียกสติ การหามุมสงบที่ทำให้รู้สึกดี ชงกาแฟ หรือปิดโทรศัพท์ เป็นต้น ต้องทำให้เราออกห่างจากอะไรที่มารบกวนเราได้โดยเฉพาะ​โทรศัพท์​มือถือ​ครับ
4. Detach from Work ต้องพักผ่อนให้เป็น ความหมายของการพักผ่อนให้เป็นในที่นี้มีสององค์ประกอบ​
https://images.app.goo.gl/2boYdvaEqchxsgbC9
พักให้เพียงพอ อันนี้ง่ายๆคือ นอนหลับเพียงพอ ใส่ใจกับเวลานอนและสภาวะการนอน🛌
พักจากงานจริงๆ คือพยายามอย่าเอางานกลับบ้าน เราใช้เวลากับงานเยอะมาก ถ้าเป็นไปได้ (บางครั้งอาจไม่ได้😭)​ก็ควรแบ่งเขตชัดเจน ปิดสวิตช์​งานแล้วพักจริงๆดีกว่าครับ
จบไปแล้วสำหรับ Deep Work หวังว่าบทความจะมีประโยชน์ต่อท่านบ้างนะครับ สุดท้ายผมฝากข้อคิดจากคุณ Cal Newport จากหนังสือ Deep Work ตามด้านล่างครับ
ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว​เช่นนี้ skill ที่ช่วยให้เราเรียนรู้เรื่องใหม่ที่ยากๆได้รวดเร็ว และสามารถพัฒนางานที่ดีมากๆจากความเข้าใจที่ลึกซึ้ง คือ skill ที่จำเป็นต่อเราทึกคน และหนึ่งในนั้นคือ Deep Work ครับ🧘‍♂️
Happy Learning
ขอบคุณ​ครับ​
ชัช​ฤทธิ์​
โฆษณา