17 ก.ย. 2019 เวลา 03:35 • การศึกษา
Code ของสายการบินนั้นสำคัญไฉน!!!
หลายท่านคงเคยสังเกตในบัตรโดยสาร เวลาที่เราเดินทาง
ในส่วนของชื่อสายการบินนั้น มักจะเป็นภาษาอังกฤษ 2 ตัว
ที่จะมานำหน้าหมายเลขของเที่ยวบิน
ภาษาอังกฤษ 2 ตัวนั้น สายการบินจะได้รับหลังจาก IATA :
International Air Transport Association (ไออาต้า)
สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ
จะเป็นผู้กำหนด รหัสย่อให้กับแต่ละสายการบิน
ไออาต้าจะเป็นผู้พิจารณา ในเรื่องของความเหมาะสมของ
code ต่างๆ ที่ตั้งขึ้นว่าซ้ำซ้อนกับสายการบินอื่นหรือไม่
เราจะใช้ตัวอักษร 2 ตัวนี้เพื่อนำหน้าเที่ยวบินแต่ละเที่ยวบิน
ที่สายการบินกำหนด
สายการบินยังจะใช้อักษร 2 ตัวนี้ในการทำธุรกรรมต่าง
เช่น การจองตั๋ว, ออกตั๋ว, ตารางเที่ยวบิน, ภาษี, และการขนส่งสินค้า, รวมไปถึงการติดต่อระหว่างกันในแต่ละประเทศ
1
ตัวอย่างเช่น สายการบิน Lufthansa มีการใช้ตัวย่อของสายการบินว่า LH
แต่ละเที่ยวสายการบินจะมี code ตัวเลขตามหลังเช่น LH 907 เป็นต้น
ปัจจุบันไออาต้า ยังคงออกตัวอักษรให้กับสายการบินนั้นเหมือนเดิม แต่มีข้อจำกัด คือ ตัวอักษรใดที่เคยออกให้กับสายการบินใดไปแล้ว และสายการบินนั้นถูกยกเลิกใช้งาน อย่างน้อย 6 เดือนสามารถกลับมาใช้ชื่อเดิมได้อีก
1
มีจำกัด ดังนั้น IATA จึงนำตัวอักษรที่เคยให้กับสายการบินไปแล้ว และสายการบินนั้นถูกยกเลิกใช้ไปแล้วเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนกลับมาใช้อีกนะจ้ะ
ตัวอย่างเช่น สายการบินในบ้านเรา ที่ใช้ตัวอักษร 2 ตัว มีดังต่อไปนี้
การบินไทย = TG
บางกอกแอร์เวย์ = PG
ไทยแอร์เอเชีย = FD
นกแอร์ = DD
ไทยไลอ้อนแอร์ = SL
ไทยสมายล์ = WE
ไทยเวียดเว็ท = VZ
ไทยแอร์เอเชียX = XJ
นกสกู๊ต = XW
ก็เป็นตัวอย่างและที่มาที่ไปของรหัสย่อของสายการบินกันนะ
ครั้งหน้าหากมีอะไรน่าสนใจแอดจะนำมาฝากกันอีกเรื่อยๆนะคะ 🙏🏻
👍🏻ฝากกดไลด์ ถ้าใช่
🥰ฝากกดแชร์ถ้าชอบ
✌️ฝากกดให้กำลังใจให้กันต่อไปเรื่อยๆนะคะ
#เด็กการบิน
โฆษณา