17 ก.ย. 2019 เวลา 04:48 • ประวัติศาสตร์
ทําไมไทยขับรถเลนซ้าย?
ในอดีต เกือบทุกคนเดินทางชิดซ้ายของถนน ตั้งแต่สมัยสังคมศักดินา สังคมมีการต่อสู้รบราฆ่าฟัน เพราะว่าผู้คนส่วนมากถนัดขวา นักดาบเวลาเดินทางไปไหนชอบอยู่ในตำแหน่งที่ชิดซ้าย เพื่อที่ว่าฝ่ายตรงกันข้ามจะได้เข้ามาทางด้านขวา เปิดโอกาสให้นักดาบสามารถใช้อาวุธได้ถนัดกว่าในขณะที่มือซ้ายต้องถือฝักดาบ ยิ่งกว่านั้นยังลดโอกาศในการที่ฝักดาบที่ถือด้วยมือซ้ายไปกระทบกับคนอื่น
นอกจากนี้ คนที่ถนัดขวาง่ายและสะดวกที่จะปีนขึ้นม้าจากด้านซ้ายของม้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าพกดาบซึ่งส่วนใหญ่จะคาดอยู่บนเอวทางด้านซ้าย และการขี้นหรือลงม้าจากด้านซ้ายของม้านั้นขึ้นหรือลงจากริมถนนจะปลอดภัยกว่า ที่จะขึ้นลงจากกลางถนน ดังนั้นถ้าขึ้นลงม้าจากด้านซ้าย ก็ควรจะขี่ม้าชิดซ้ายของถนน
ในอังกฤษรถม้าของชาวอังกฤษจะมีขนาดเล็ก และมีที่นั่งคนขับซึ่งปกติจะอยู่ทางด้านขวาของรถม้า เนื่องจากต้องใช้แส้ยาวๆด้วยมือขวาโดยไม่ให้กระทบกับรถด้านหลัง จากเหตุผลนี้มันจึงปลอดภัยกว่าถ้าต้องขับรถม้าชิดซ้ายเพื่อให้แน่ใจว่าเวลารถสวนกันล้อจะไม่ไปกระทบกัน จากเหตุนี้ในอังกฤษหรืออาณานิคมของอังกฤษจึงยึดถือการเดินทางชิดซ้ายเป็นแบบแผน ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นรถยนต์ก็ยังคงยึดแบบเดิมอยู่
ในราวคศ.1700 รถเทียมม้าเกิดขึ้นในฝรั่งเศสและสหรัฐ ใช้สำหรับขนส่งผลิตภัณฑ์การเกษตร โดยมีลักษณะเป็นรถมีล้อขนาดใหญ่ผูกเข้ากับม้าหลายๆตัว รถเทียมม้าเหล่านี้ไม่มีที่นั่งคนขับ คนขับจะขี่บนม้าตัวซ้ายแถวหลังสุด เพื่อที่จะได้ใช้แขนขวาถือแส้เฆี่ยนม้าทุกตัวได้สะดวก จากการที่เขาต้องขับรถเทียมม้าทางด้านซ้าย มันเป็นการดีกว่าที่จะให้รถม้าคันอื่นสวนมาทางด้านซ้ายของตัวเอง เพื่อที่จะแน่ใจว่ารถมีระยะห่างพอที่จะไม่ให้ล้อของรถไปเกี่ยวกันจนเกิดอุบัติเหตุ เพราะฉะนั้นการขับรถชิดขวาของถนนจึงปลอดภัยกว่า
หลังจากการปฏิวัติในฝรั่งเศสของ 1789 ทำให้การเดินทางชิดขวาแพร่หลายในยุโรป ก่อนการปฏิวัติพวกคนชั้นสูงจะเดินทางชิดซ้ายของถนน มีการแบ่งชนชั้นกันโดยการบังคับชาวชนบทให้เดินทางชิดขวา แต่หลังจากเกิดกบฎแหกคุก Bastille และเกิดเหตุการณ์วุ่นวายต่อมา คนชั้นสูงหวาดกลัวไม่อยากทำตัวให้แปลกแยกเป็นที่สงสัย จึงจำเป็นต้องเดินทางชิดขวาตามอย่างชาวชนบท กฏหมายการเดินรถชิดขวาถูกประกาศใช้ในปารีสเมื่อปี คศ.1794 ใกล้เคียงกับประเทศเดนมาร์กซึ่งบังคับใช้ในปีคศ.1793
ต่อมาเมื่อนโปเลียนแผ่อิทธิพลเข้าไปประเทศต่างๆ อ้างกันว่าทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงการเดินรถชิดขวาในประเทศที่นโปเลียนแผ่อิทธิพลไปถึง เช่น เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักซ์เซมเบอร์ก สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมัน โปแลนด์ รัสเซีย รวมทั้งส่วนใหญ่ของสเปน และอิตาลี่ ส่วนประเทศที่ต่อต้านนโปเลียน ยังคงมีการเดินรถชิดซ้ายซี่งได้แก่ อังกฤษ อาณาจักรออสเตรีย ฮังการี และโปรตุเกส การแบ่งแยกการเดินรถชิดซ้ายชิดขวาในยุโรปหลังจากนั้น ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเป็นเวลามากกว่า 100 ปี จนกระทั่งหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1
ถึงแม้ว่าในประเทศสวีเดน(ประเทศที่ขับซ้าย) จะเสียดินแดนฟินแลนด์ให้กับรัสเซีย(ประเทศที่ขับชิดขวา) หลังจากสงคราม รัสเซีย - สวีเดนในปีคศ.1808 - 1809 กฏหมายสวีเดนซึ่งรวมถึงกฎจราจร ยังคงใช้ในฟินแลนด์ต่อมาเป็นเวลา 50 ปี จนกระทั่งปีคศ.1858 จักรวรรดิรัสเซียก็ประกาศให้ฟินแลนด์เปลี่ยนแปลงการเดินรถไปเป็นชิดขวา
แนวโน้มในประเทศต่างๆยังคงนิยมเดินรถชิดขวา แต่ในประเทศอังกฤษยังคงอนุรักษ์การขับชิดซ้ายไว้อย่างเหนียวแน่น ประเทศต่างๆในโลกมีการขยายตัวของการเดินทาง และการก่อสร้างถนนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระหว่างทศวรรษที่ 1800 กฎจราจรถูกร่างขี้นในทุกประเทศ รวมทั้งกฎการจราจรชิดซ้ายถูกบังคับใช้ประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ รวมทั้งดินแดนที่อยู่ในอาณานิคมของอังกฤษในปีคศ. 1835 ทำให้ปัจจุบันประเทศอินเดีย, ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอดีตอาณานิคมของอังกฤษในแอฟริกาเดินรถชิดซ้าย ยกเว้นประเทศอียิปต์ซึ่งถูกยึดโดยนโปเลียนก่อนเป็นเมืองขึ้นขออังกฤษ
ในช่วงต้นของอาณานิคมของอังกฤษในอเมริกาเหนือ การเดินทางเป็นแบบชิดซ้ายตามอย่างอังกฤษ แต่หลังจากได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ จากการต้องการตัดขาด ไม่ต้องการเชื่อมโยงกับอิทธิพลของอังกฤษ จึงพร้อมใจกันเปลี่ยนการเดินทางเป็นแบบชิดขวา (ซี่งอาจเป็นอิทธิพลของชนชาติประเทศชาวยุโรปประเทศอื่นๆ) กฏหมายแรกของการชิดขวาเกิดขึ้นใน Pennsylvania ในปีคศ. 1792 และกฏหมายซึ่งคล้ายกันใน New York ปีคศ. 1804 และ New Jersey ในปีคศ.1813
แม้ว่าในสหรัฐและบางส่วนของแคนาดา ยังคงชิดซ้าย แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองไม่นานนัก อาณาเขตที่ควบคุมโดยฝรั่งเศส (จาก Quebec ถึง Louisiana) ชิดขวาตามแบบฝรั่งเศส แต่อาณาเขตที่ครอบครองโดยอังกฤษ (British Columbia, New Brunswick, Nova Scotia, Prince Edward island และ Newfoundland) ยังคงชิดซ้าย ต่อมา British Columbia และ Atlantic provinces เปลี่ยนเป็นชิดขวาในปีคศ. 1920 เพื่อให้สอดคล้องกับแคนาดาและสหรัฐอเมริกา Newfoundland ชิดซ้าย จนถึงปีคศ. 1947 และรวมเป็นแคนาดาในปีคศ. 1949
ในยุโรป ประเทศที่ยังขับชิดซ้าย พากันทยอยเปลี่ยนเป็นขับชิดขวา เริ่มจากโปรตุเกสที่เปลี่ยนในปีคศ. 1920 การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นวันเดียวทั่วประเทศรวมถึงในอาณานิคมต่างๆ อีสต์ ติมอร์ อินโดนีเซีย เปลี่ยนเป็นชิดขวา แต่ได้เปลี่ยนกลับมาชิดซ้ายจากการเรียกร้องของชาวอินโดนีเซียในปี 1975 อย่างไรก็ตามยังคงเหลือประเทศในอาณานิคม ที่ห่างออกไปที่ไม่ได้ปฎิบัติตาม นั่นคือเหตุผลว่าทำไม มาเก๊า, Goa (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย) และอาณานิคมของโปตุเกสในแอฟริกาตะวันออก ที่ยังคงเป็นแบบชิดซ้ายตามระบบเก่า
ในอิตาลีการขับชิดขวา เริ่มในช่วงท้ายทศวรรษที่ 1890 กฎหมายทางหลวงอิตาลีฉบับแรก ถูกกำหนดในวันที่ 30 มิถุนายน 1912 กำหนดไว้ว่าพาหนะทั้งหมดจะต้องขับชิดขวา อย่างไรก็ตามในบางเมืองที่มีเครือข่ายรถราง ยังอนุโลมให้จัดเดินรถชิดซ้ายได้ โดยมีสัญญาณหรือป้ายเตือนก่อนเข้าเขตเมือง ต่อมาในปีคศ. 1923 การบังคับเริ่มเข้มงวด แต่กรุงโรม และทางเหนือของ Milan, Turin และ Genoa ยังคงชิดซ้าย จนกระทั่งกลางทศวรรษที่ 1920 โดยคำสั่งของกระทรวงงานสังคม (Ministry of Public Works) การขับชิดขวาก็กลายเป็นมาตรฐานทั่วประเทศ กรุงโรมเมืองหลวงของอิตาลีก็เปลี่ยนเป็นชิดขวาในวันที่ 1 มีนาคม 1925 และ Milan ในวันที่ 3 สิงหาคม 1926
ล่วงเลยมาจนถึงทศวรรษที่ 1930 สเปนยังไม่มีกฎหมายจราจรแห่งชาติ บางส่วนขับชิดซ้าย (เช่น Madrid) บางส่วนของประเทศที่ขับชิดขวา (เช่น Barcelona) Madrid เปลี่ยนไปเป็นชิดขวา ในวันที่ 1 ตุลาคม 1924
การล่มสลายของ อาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใน เชคโกสโลวาเกีย ยูโกสลาเวีย และ ฮังการี ที่ยังคงเดินรถชิดซ้าย ออสเตรียเองเป็นอะไรที่เรียกว่าแปลกประหลาด ครี่งหนึ่งของประเทศขับชิดซ้ายขณะที่อีกครี่งขับชิดขวา โดยมีเส้นแบ่งพื้นที่จากผลกระทบที่เกิดจากสงครามในสมัยของนโปเลียนในปีคศ. 1805 เมื่อเยอรมันรุกรานออสเตรียในปีคศ. 1938 Adolf Hitler สั่งให้เปลี่ยนการจราจรจากชิดซ้ายเป็นชิดขวาทั้งหมดในชั่วข้ามคืน การเปลี่ยนแปลงสร้างความยุ่งยากสับสนเป็นอย่างมาก เพราะผู้ขับรถไม่สามารถมองเห็นป้ายจราจรส่วนใหญ่บนถนน ในกรุงเวียนนาเป็นไปไม่ได้ที่จะเปลี่ยนรถรางในชั่วข้ามคืน ดังนั้นขณะที่การจราจรอื่นๆ ทั้งหมดชิดขวาของถนน รถรางยังคงวิ่งชิดซ้ายเป็นเวลาหลายสัปดาห์ เชคโกสโลวาเกียและฮังการีเป็นประเทศท้ายๆ บนแผ่นดินใหญ่ของยุโรปที่ขับชิดซ้าย การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลังจากเยอรมันเข้ายึดครองในปีคศ. 1939
ในห้วงเวลานั้น แนวโน้มของการขับชิดขวากำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ รถอเมริกันถูกออกแบบให้ขับชิดขวา โดยมีที่นั่งคนขับและอุปกรณ์ควบคุมอยู่ทางซ้าย รถอเมริกันได้ชื่อว่าประหยัดทนทาน มีการส่งออกไปในหลายประเทศ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎจราจรในหลายประเทศ เพื่อรองรับรถที่นำเข้าจากอเมริกา
ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ซึ่งเป็นรถพวงมาลัยขวาขับชิดซ้ายตามแบบอิทธิพลของอังกฤษด้วย
โฆษณา