17 ก.ย. 2019 เวลา 09:29 • ธุรกิจ
วันนี้จะขออนุญาตมาเขียนบทความเกี่ยวกับหุ้นสักเล็กๆน้อยๆครับ
“ ฉันต้องวางแผนเกษียณ โดยการทยอยลงทุนไปเรื่อยๆทุกเดือน โดยต้องการผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี 8% (ฉันรับความเสี่ยงสูงได้) เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายเกษียณในอนาคต (อีก 20 ปีข้างหน้าในวัยเกษียณของฉัน) “
นี่อาจจะเป็นคำกล่าวของใครหลายๆคนในอดีตเมื่อ 19 ปีที่แล้ว…
…..คำถามที่พบมาบ่อยก็คือ แล้วไอ้ 8 % ที่ว่าเนี่ยมันไปลงกับอะไร? มันได้ 8% ยังงี้ทุกปีเลยหรอ? ขายฝันปะเนี่ย ? ไม่มีทางหรอกที่เงินที่เราลงทุนมันจะได้แบบนี้ไปเรื่อยๆจนถึงเกษียณ………. ใช่ครับ ที่หลายๆคนคิดนั้นไม่ผิดหรอก ใครๆก็อยากได้ผลตอบแทนเยอะๆจากสินทรัพย์ที่เราเอาไปลงทุนทั้งนั้น และ ต้องวงเล็บด้วยนะว่า ไม่อยากเงินหาย หรือพูดง่ายๆว่า ไม่ชอบความเสี่ยง 555 แต่ !!! บอกเลยครับว่า ในโลกนี้ไม่มีหรอกครับ Low Risk – High Return ไม่งั้น เขาก็รวยไปทั่วทั้งโลกละครับ……
วันนี้จึงอยากจะมาเขียนอธิบายให้มันสั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ (เผื่อบางคนไม่ค่อยชอบอ่าน)
…ไอ้ที่บอกว่า ไอผลตอบแทน 8% 9% หรือ 10% เนี่ย มันก็ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดขึ้นจริงไม่ได้นะครับ เพราะมีความคำถามที่ถกเถียงมามากมายเลย ว่ามันจะสามารถเป็นไปได้หรอ ที่มันจะได้ผลตอบแทนที่สูงแบบนี้ไปตลอด ขอยกตัวอย่างง่ายๆละกันนะครับ เอาตัวอย่างที่เห็นชัดๆเลยละกันคือ “หุ้น” (ที่ใครๆหลายๆคนกลัว และ ไม่กล้าเข้าถึง) ถ้าพูดถึงหุ้นนั้น มันมีพฤติกรรมที่ไม่สามารถคาดเดามันได้เลย อารมณ์เหมือนไบโพรล่า ฮ่าๆ เพราะ วันไหนมันจะขึ้นก็ขึ้น จะลงก็ลงซะงั้น ทำคนติดดอยมาก็มาก ทำคนขาดทุนมาก็นับไม่ถ้วน….. แต่ รู้ไหมว่า การจะลงทุนในหุ้นนั้น มันสามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะๆให้เห็นชัดๆเลยก็คือ
1. นักลงทุนเทรดเดอร์ ที่เกรงกำไรระยะสั้น ( 1 ปี) และ
2. นักลงทุนมูลค่าหรือ นักลงทุนที่ลงทุนในระยะยาว (ถือยาว มากกว่า 10 ปี)
ขอยกตัวอย่าง
จากภาพที่ 1 ในตารางนะครับ เมื่อย้อนไปในอดีตชาติ หากนักลงทุนทั้งหลายได้เข้าซื้อหุ้นไทยเมื่อปี ค.ศ. 1,999 หรือ ช่วก่อนหน้านั้น ซึ่งช่วงเวลานั้นผมจำได้คือ มันเกิดเหตุการณ์ Y2K ไปทั่วโลกในปี 2,000 (สามารถไปเสิร์ตกูเกิ้ลหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวปรากฏการณ์นี้ได้ครับ) ….
นักลงทุนประเภทแรกในบางคนจะเกิดความกังวลใจมาก เพราะ ผลตอบแทนของหุ้นไทยในปี 1,999 จะเห็นว่า มีผลตอบแทนถึง 36.27% (อารมณ์แบบฝากเงิน 100 บาทในปีนั้น แล้วสิ้นปี เงินงอก 37 บาท ) แต่ในปีถัดมา ผลตอบแทนของหุ้นไทยนั้น กลับติดลบไป 43.15% !!!!! เหอะๆ ตายๆ นักลงทุนบางคนอาจจะขายหน่วยลงทุนคืน และ ไม่กล้าเข้าไปยุ่งกับตลาดหุ้นอีก ถึงขั้นขยาดกับตลาดหุ้นไทยไปเลย…. ในทางกลับกัน นักลงทุนเทรดเดอร์ที่เก่งๆก็สามารถจับตลาดได้ และก็สามารถทำกำไรจากหุ้นได้สูงมากๆได้เช่นกันหารอจังหวะหุ้นขึ้นช่วงที่เหมาะสม…
โดยนักลงทุนประเภทที่ 2 คือ นักลงทุนมูลค่านั้นจะอดทน ทะยอยฝากเงินในหุ้นไทยต่อไป และ ไม่หวั่นไหวมากกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยมองว่า ในระยะยาว มันจะมีโอกาสฟื้นตัว ซึ่งมองว่าเป็นไปตามกลไกเศรษฐกิจ….หุ้นมันคงไม่ตกไปตลอดชีวิตหรอกครับ ความซวยในชีวิตเราก็เหมือนกัน !! เอ๊ะ ฮ่าๆ
เมื่อเวลาผ่านไปจะเห็นว่า ในช่วง ค.ศ. 2,001 – 2,003 นั้นผลตอบแทนกลับมาเป็บบวกอีกครั้ง !! โดยครั้งนี้ในปี ค.ศ. 2003 ผลตอบแทนในหุ้นไทยนั้นบวกถึง 120.68% โอ้ว มายก้อดดด!!!
และจากนั้นก็จะเห็นว่า ตลาดหุ้นไทยก็ยังมีความผันผวนเช่นเคย โดยอาจจะติดลบในช่วงปีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ของ USA ปี 2,008 , วิกฤตการเมืองไทย 2,012 และอื่นๆ เป็นต้น
บางปี ตลาดหุ้นไทยบวก 120% บางปีลบ 40% บางปีกลับมาบวก 69% ปีต่อไปดันทะลึ่งติดลบ 44% ……นี่แหละครับ คำว่า ผลตอบแทนเฉลี่ย ก็คือการนำผลตอบแทนในแต่ละปีที่เกิดขึ้นจริง แล้วมาเฉลี่ยตามปีที่เราถือหุ้น มันก็จะได้ค่า เฉลี่ยเลขคณิต มาเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีทบต้นที่เราได้ยังไงล่ะครับ
โดยหากสรุปให้เห็นภาพแล้วจะเห็นว่า ระยะเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1,999 – 2,018 (19 ปีย้อนหลัง)
1. นักลงทุนแบบเทรดเดอร์ระยะสั้น ก็มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงมากๆเช่นกัน จากการซื้อถูกขายแพง หรือจังหวะตลาดหุ้น (หากเขาขายหุ้นในช่วงปี ค.ศ. 2,003 จะได้ผลตอบแทนเพียวๆ 120.68% ) แต่ก็จะมีความกังวลใจมากกว่า เพราะ เห็นผลตอบแทนบางปีที่ติดลบหนักๆ (เช่น ปี 2,008) นั้น นักลงทุนบางคนอาจจะท้อไม่ลงทุนต่อ และมีโอกาสที่จะขาดทุนจากการลงทุน และ ออกจากตลาดหุ้นไปในที่สุด ก็ต้องวัดใจกันช็อตต่อช็อตครับ
2. นักลงทุนมูลค่า หรือ นักลงทุนระยะยาวนั้น เขาจะยังทยอยลงทุนในหุ้นไปเรื่อยๆ เน้นถือยาวๆเลย โดยตั้งแต่ ปี 1,999 – 2,018 (เป็นเวลา 19 ปี) พอร์ทการลงทุนในหุ้นของเขาจะมีผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่เกิดขึ้นจริงคือ “12.13 %” (ซึ่งเปรียบเป้าหมายในตอนแรกของบทความนี้นั้น เขาแค่ต้องการผลตอบแทนที่คาดหวังต่อปี “ 8%” ต่อปีเท่านั้น ก็เพียงพอต่อเป้าหมายของเขา)
เห็นไหมครับ ผลตอบแทนเฉลี่ยที่เราคาดหวังแต่แรกที่ 8% นั้น มันสามารถเกิดขึ้นจริงได้ และ นี่คือการยกตัวอย่าง แค่ในส่วนของผลตอบแทนของ หุ้น เพียวๆนะครับที่มีความเสี่ยงที่สูง ไม่นับการกระจายลงทุนไปสินทรัพย์อื่นๆที่มีความเสี่ยงต่ำลงมา เช่น พันธบัตร ตราสารหนี้ หรือ กองทุนรวม….
ซึ่งเราอยากจะเป็นนักลงทุนประเภทไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ทางการเงินของแต่ละคนล่ะครับว่ารับความเสี่ยงได้มากแค่ไหน ? ระยะเวลาในการใช้เงินของคุณนานเท่าไหร่ ? มีเป้าหมายกับเงินลงทุนในก้อนนี้เป็นอย่างไร ?
เพราะการลงทุนที่ดีที่สุด คือการกระจายการลงทุนในหลายๆสินทรัพย์ครับ (กระจายไปสินทรัพย์ความเสี่ยง ต่ำ กลาง สูง) หรือตรงกับสำนวนที่ว่า เวลาเราซื้อไข่มาเยอะๆ ควรจะวางไข่กระจายไปในตระกร้าหลายๆใบ……
จะเห็นว่า สิ่งที่จะพอทำให้เป้าหมายทางการเงินที่เราตั้งไว้ (ต้องการผลตอบแทนคาดหวังต่อปี 8 % และ ยอมรับความเสี่ยงจากหุ้นได้ ) เป็นความจริงมากขึ้นนั้น มีปัจจัยที่ง่ายๆแต่ทำได้ยาก นั่นคือ
1. เงินต้น = การที่เราทยอยออมทุกเดือน ก็เหมือนค่อยๆสะสมเงินต้นให้มากขึ้น
2.ระยะเวลา = ระยะเวลาที่ยาวพอจะทำให้เงิน มีระยะเวลาทบต้นที่เหมาะสม
3. ความมีวินัย = ต้องมีความสม่ำเสมอในการออมเงินทุกเดือน
เพราะฉะนั้น หากเรามีความเข้าใจ และ มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้ การจัดการการเงินเพื่ออนาคตจะเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และ มีเงินในอนาคตตามเป้าที่เราตั้งไว้ครับ
โฆษณา