17 ก.ย. 2019 เวลา 15:59 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทางเลือกใหม่ของสถาปนิกในการสร้างอาคารไม้ทรงโค้งมนแบบรักษ์โลก 😉
Urbach Tower, Cr: University of Stuttgart
ถ้าบอกว่าหอคอยด้านบนนี้ทำจากไม้ที่ไม่ได้กัดกลึง ไส แม้แต่น้อย คุณจะเชื่อไหม?
หอคอยด้านบน หากเป็นปกติก็คงรู้กันว่างานนี้โรงกลึงได้ ไส กลึงไม้กันเหนื่อยแน่นอน ซึ่งเป็นงานที่สิ้นเปลืองพลังงานและมีการตัดเนื้อไม้ทิ้งเปล่าเยอะมาก
แต่ทีมวิจัยจาก Laboratory for Cellulose and Wood Materials แห่งสถาบันวัสดุ ETH Zurich และมหาวิทยาลัย Stuttgart ได้พัฒนาวิธีดัดทรงไม้ให้โค้งมนตามต้องการระหว่างการตากแห้ง โดยไม่ต้อง กลึงกัดหรือไสไม้
ไม้หดตัวเมื่อแห้ง 2 ข้างไม่เท่ากันทำให้แผ่นไม้กระดานโก่งตัว, Cr: University of Stuttgart
หลายท่านคงเคยเจออาการวงกบโก่ง ไม้กระดานปูด ประตูไม้ฝืดตอนหน้าฝนกันใช่ไหมครับ นั่นแหละคือหลักการที่ทีมนำมาประยุกต์ใช้
ขั้นตอนการทำ hygroscopic self-shaping Cr: เอกสารเผยแพร่งานวิจัย
โดยทีมจะนำแผ่นไม้ 2 ชนิดที่มีคุณสมบัติในการหดตัวเมื่อเนื้อไม้แห้งไม่เท่ากันนำมาประกบกันแบบแผ่นไม้ลามิเนต
ชิ้นงานจะประกอบด้วยไม้ส่วน Passive ซึ่งมีการหดตัวน้อยกว่าและแผ่น Activeซึ่งมีการหดตัวมากกว่าตอนแห้ง หลังจากประกบกันและปิดด้วย Locking Layer ซึ่งทำหน้าที่ล๊อครูปทรงของชิ้นไม้ให้ได้โค้งตามที่ออกแบบ
เมื่อนำมาอบแห้งไม้ก็จะเริ่มโก่ง (หรือหดตัว)ไม่เท่ากัน ทำให้ชิ้นงานได้รูปทรงโค้งมนตามที่ออกแบบโดยไม่ต้องทำการกลึงหรือไสไม้แม้แต่น้อย
การออกแบบนั้นต้องคำนวนกันโดยอาศัยคุณสมบัติการหดและขยายตัวของเนื้อไม้แต่ละชนิด, Cr: เอกสารเผยแพร่งานวิจัย
โดยตัว Urbach Tower นี้มีความสูง 14 เมตร ตั้งอยู่ที่ประเทศเยอรมัน
ชิ้นส่วนที่ประกอบขึ้นที่โรงงาน จะเห็นได้ว่าเกิดจากเนื้อไม้อย่างน้อย 3 ชั้นประกบกัน และเมื่อแห้งก็จะบิดตัวได้รูปทรงตามแบบ Cr: University of Stuttgart
ด้วยเทคนิคที่คิดค้นขึ้นมาใหม่นี้ทำให้การก่อสร้างอาคารรูปทรงโค้งมนตามที่สถาปนิกต้องการสามารถสร้างขึ้นได้โดยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ภาพระหว่างทำการติดตั้ง Cr: ICD/ITKE University of Stuttgart
ปัจจุบันเทรนการกลับมาพัฒนาเพื่อใช้ไม้เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างกำลังได้รับความสนใจเนื่องจากมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเข้ากับธรรมชาติมากกว่าอาคารปูนหรืออาคารโครงเหล็ก
ภาพเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ Cr: ICD/ITKE University of Stuttgart
ทั้งนี้การนำไม้มาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างก็ต้องมีการบริหารจัดการอย่างดี เพราะเราก็เคยมีประสบการณ์ป่าหมดกันมาแล้ว รวมถึงประเด็นการใช้ไม้เป็นวัสดุก่อสร้าง เช่น การป้องกันอัคคีภัย ปลวก
ด้วยวิธีการก่อสร้างที่พัฒนามากขึ้นและการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ดี ไม้อาจจะกลับมาเป็นวัสดุก่อสร้างที่ได้รับความนิยมอีกครั้งด้วยความสอดคล้องกับธรรมชาติมากกว่าอาคารคอนกรีต เหล็ก และกระจก 😊

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา