18 ก.ย. 2019 เวลา 00:21 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
บทที่ 18 น้ำท่วมอุบลราชธานี
จากข่าวนี้จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยประสบปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งอยู่เป็นประจำแทบทุกปี แสดงว่าการบริหารจัดการน้ำไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร คือยังทำไม่ครบวงจร ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้เด็ดขาดได้
ภาพถ่ายดาวเทียมเปรียบเทียบระหว่างน้ำท่วมปี 2554 และปี 2562
เครดิต gisda
จากภาพเปรียบเทียบให้เห็นว่าน้ำท่วมปี 2554 มีความรุนแรงมากกว่าปี 2562 เพราะของปีนี้น้ำท่วมเฉพาะภาคอีสาน
ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นถึงเส้นทางไหลของน้ำ สภาพความสูงต่ำของพื้นที่ได้ดี
แสดงว่าประเทศไทยยังมีพื้นที่รับน้ำหรือที่เรียกว่าแก้มลิงน้อยเกินไป พอถึงฤดูน้ำหลากก็ท่วมกัน แต่เดี๋ยวพอสักพักเข้าสู่หน้าแล้งก็จะแห้งแล้งไม่มีน้ำใช้ เป็นวัฏจักรแบบนี้มานานหลายสิบปีมาก ตั้งแต่ผู้เขียนเกิดก็เห็นแล้ว
1
ในการแก้ปัญหาขั้นแรก น่าจะต้องมีการเวนคืนที่ดินที่ติดริมแม่น้ำ ทำการขุดขยายแม่น้ำให้กว้างขึ้น และลึกขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำได้มากขึ้น
การที่ผู้เขียนเสนอโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 สวนสาธารณะ ก็เพื่อจะได้มีที่รับน้ำเพิ่มขึ้น ป้องกันปัญหาน้ำท่วมมีที่กักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในยามหน้าแล้ง และทำให้มีพื้นที่สีเขียวมากขึ้น
ปัญหาที่แท้จริงของประเทศไทยก็คือขาดพื้นที่รับน้ำที่เพียงพอ ไม่ได้เกิดจากการขาดแคลนน้ำฝน คือฝนตกเยอะแต่ไหลทิ้งทะเลเสียหมด
1
สุดท้ายนี้ผู้เขียนก็ส่งกำลังใจไปให้พี่บิณฑ์บรรลือฤทธิ์ และชาวอุบลทุกคนเพื่อให้ฟันฝ่าวิกฤตนี้ไปให้ได้ แต่เท่าที่ดูวิกฤตนี้น่าจะไม่นานนะ อีกสักอาทิตย์สองอาทิตย์ถ้าไม่มีฝนตกหนักซ้ำวิกฤตก็น่าจะคลี่คลาย
ภาพจากหนังสือพิมพ์ข่าวสด
ถ้าชอบบทความนี้อย่าลืมกดไลค์กดแชร์กดติดตาม จะได้อัพเดทสถานการณ์กันต่อไป

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา