18 ก.ย. 2019 เวลา 05:30 • สุขภาพ
"อยากรู้เรื่องยาคูลท์ ถามสาวยาคูลท์สิคะ"
1
สโลแกนนี้เชื่อว่าหลายคนคงจะคุ้นหูกันใช่ไหมคะ❓
บางคนดื่มมาตั้งเด็กๆ จนถึงปัจจุบัน จอยก็เช่นเดียวกันคะ
จำความได้ว่าดื่มยาคูลท์มาตั้งแต่อนุบาล จนปัจจุบันอายุ 35+แระ😂😂Oops‼️
มาคะ…วันนี้ "อยากรู้เรื่องยาคูลท์ อ่านเรื่องยาคูลท์สิคะ" 😁😁พอได้เนอะ อิๆ
ดื่มทุกวัน วันละ1ขวด
ยาคูลท์เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีต้นกำเนิดจากประเทศญีปุ่น
โดยผู้ที่คิดค้นยาคูลท์คือ ดร.มิโนรุ ชิโรตะ เป็นคนจังหวัด
นากาโนะ โดยคุณชิโรตะเป็นคนหัวดีและเรียนเก่ง
Dr.Minoru Shirota
ครอบครัวของคุณชิโรตะ ทำธุรกิจขายส่งกระดาษและเลี้ยงไหม มีฐานะครอบครัวค่อนข้างดีค่ะ แต่ความเป็นอยู่ของคน
ในหมู่บ้านที่คุณชิโรตะอยู่นั้น ค่อนข้างลำบากมาก
มีเด็กหลายคนตายเพราะโรคบิด คุณชิโรตะเลยตั้งใจจะเป็นแพทย์ตามความต้องการของพ่อ และจะได้ค้นคว้าหาทางป้องกันโรคเพื่อช่วยเหลือเด็กๆ ให้ได้
ในปีค.ศ. 1921 คุณชิโรตะก็เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเกียวโตเทโกะกุ และเริ่มการค้นคว้าวิจัยอย่างจริงจัง และในปี ค.ศ. 1930 คุณชิโรตะก็ได้ทำการเพาะเชื้อจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัสได้ครั้งแรกของโลก
จึงได้รับการตั้งชื่อว่า แลคโตบาซิลลัสสายพันธุ์ชิโรต้า
และกลายมาเป็นจุลินทรีย์ยาคูลท์ (L คาเซอิ สายพันธุ์ชิโรต้า)
คุณชิโรตะทำจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัส ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ชนิดดีที่อยู่ในลำไส้ คอยต่อสู้กับจุลินทรีย์ที่ไม่ดี อย่างเชื้อบิด หรือเชื้อไข้รากสาดใหญ่ให้ดื่มง่ายขึ้น และตั้งชื่อผลิตภัณฑ์นี้ว่า "ยาคูลท์" เป็นภาษาแอสเปอแรนโต มีความหมายเหมือนกับคำว่า "โยเกิร์ต" แปลว่า การมีอายุยืนยาว ที่ตั้งชื่อว่า
"ยาคูลท์" เพราะคุณชิโรตะคิดว่า มันเรียกง่ายดี
นอกจากยาคูลท์จะมีนมเปรี้ยวที่มีส่วนผสมของจุลินทรีย์สายพันธุ์ชิโรต้าเป็นตัวชูโรงแล้ว ยาคูลท์ได้แตกไลน์ผลิตภัณฑ์
ในหลายรูปแบบด้วย ไม่ว่าจะเป็น โยเกิร์ต, เครื่องดื่ม, เครื่องสำอาง ยา และอื่นๆ
โดยใช้เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยพัฒนา ต่อยอด
รูปแบบผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น ให้มีความหลากหลาย
ตอบโจทย์ทั้งการเก็บรักษา การขนส่ง และความต้องการ
ของผู้บริโภค
ยาคูลท์ในญี่ปุ่นมีสินค้าที่หลากหลาย สำหรับโรงงานผลิต
ยาคูลท์ในประเทศญี่ปุ่นมีทั้งหมด 12 แห่ง ครอบคลุมทั่วประเทศ
ผลิตภัณฑ์ยาคูลท์ในญี่ปุ่น
ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของบริษัทยาคูลท์ในญี่ปุ่น
มีเครื่องสำอางด้วยคะ
มียาด้วยนะคะ
กำลังการผลิตสินค้ายาคูลท์ต่อวันจะอยู่ที่ 1,200,000 ชิ้น
ซึ่งหนึ่งในนั้นมีฐานการผลิตอยู่ใกล้กับภูเขาไฟฟูจิ🗻🗻
โดยเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญในโรงงานบอกถึงสาเหตุ
ของการตั้งโรงงานแห่งนี้เพราะสามารถเข้าถึงน้ำแร่ที่ดี
รวมถึงมีพื้นที่กว้างขวางเหมาะสม
หนึ่งในโรงงานยาคูลท์ที่ตั้งอยู่ใกล้ฟูจิ
สาวยาคูลท์รูปแบบการขายที่มากกว่าความเป็นมิตร
คุณชิโรตะตั้งใจจะขายยาคูลท์ ในราคาเท่าไปรษณียบัตร
1 แผ่น จะได้มีคนดื่มเยอะๆ เนื่องจากจุลินทรีย์ยาคูลท์เป็นสิ่ง
มีชีวิต ความสดใหม่จึงเป็นเรื่องสำคัญ จึงต้องส่งตรงถึงบ้านลูกค้า
ส่วนใหญ่คนที่ซื้อยาคูลท์เป็นแม่บ้าน ดังนั้นถ้าคนส่งเป็น
ผู้หญิงจะรู้สึกสนิทใจมากกว่า ส่วนสาเหตุที่ไม่ใช้หนุ่มยาคูลท์เนื่องจากปี 1960-1970 ผู้ชายมักจะออกไปทำงาน
ส่วนผู้หญิงจะอยู่บ้านเลี้ยงลูก และการจะผลักดันให้มี
หนุ่มยาคูลท์ไปส่งของถึงบ้านที่มีเพียงผู้หญิง และเด็กก็คง
ไม่เหมาะสม
ด้วยเหตุนี้ในปี ค.ศ. 1963 จึงเกิด "สาวยาคูลท์" ขึ้น
ในยุคนั้นผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องเป็นแม่บ้าน สาวยาคูลท์จึงเหมือนงานพิเศษที่ช่วยให้ผู้หญิงได้เข้าสู่สังคมมากขึ้น
เพราะต้องสร้างความเข้าใจ หรืออธิบายถึงคุณประโยชน์
ของยาคูลท์
สาวยาคูลท์ในญี่ปุ่น
การจะเป็นสาวยาคูลท์ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจะต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรและระเบียบข้อบังคับต่างๆ ซึ่งในแต่ละเดือนจะต้องตั้งเป้าหาลูกค้ารายใหม่ โดยจะไม่เน้นการขายของ (Hard Sale) แต่จะเน้นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
ระหว่างสาวยาคูลท์กับลูกค้าเป็นหลัก
ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มลูกค้ายาคูลท์ญี่ปุ่นจะอยู่ในช่วง 50-60 ปี และเป็นลูกค้าที่คุ้นเคยและรู้จัก ทุกครั้งที่สาวยาคูลท์ไปส่งของให้ก็จะพูดคุยเพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน💓
สำหรับ packaging ของยาคูลท์นั้น เริ่มแรกก็มีการใช้ขวดแก้วในการบรรจุ และใน ค.ศ. 1968 ก็เปลี่ยนภาชนะบรรจุจากขวดแก้วเป็นขวดพลาสติก
ที่ยาคูลท์มีลักษณะขวดเล็ก และขวดต้องคอดกลาง
เพราะในปริมาณ 65 มิลลิกรัมจะมีจุลินทรีย์ยาคูลท์อยู่มากกว่า 15,000ล้านตัว ซึ่งเพียงพอสำหรับการสร้างสมดุลภายในลำไส้แล้ว ส่วนที่ทำขวดคอดกลาง เพื่อให้ถือสะดวก และจะได้ลิ้มรสช้าๆ ไม่ดื่มทีเดียวหมดนั่นเองค่ะ
ในยาคูลท์ก็มีส่วนผสมของน้ำตาลอยู่ด้วย อย่าดื่มเกินวันละ 1ขวดนะคะ น้ำตาลในร่างกายจะได้ไม่สูง แต่ในปัจจุบัน
ยาคูลท์แบบ low fat หรือ low sugar ก็มีแล้วนะคะ
ลองหาดื่มในSuperใกล้บ้าน หรือในเซเว่นบางสาขาก็มีจำหน่ายคะ
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพบางส่วนจาก Sanook.com และ Minano Nihongo
Complied: ENJOY With Joy
โฆษณา