18 ก.ย. 2019 เวลา 12:39 • ความคิดเห็น
Starbucks ประเทศไทย จ้างใครผลิตขนมบ้าง??
ด้วยพลังแห่งแบรนด์ กาแฟนางเงือก สัญชาติอเมริกันอย่าง สตาร์บัคส์ (Starbucks) ทำให้ขายอะไรก็ขายดี และขายได้ราคาแพงไปหมด
Starbucks
เราไปดูข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับ สตาร์บัคส์ และขนมที่มีขายในไทยกันเลย
1) สตาร์บัคส์ ทำธุรกิจในไทยมาแล้วมากกว่า 20 ปี! สาขาแรกเปิดที่ เซ็นทรัลชิดลม เมื่อปี 2541 โดยปัจจุบันมีมากกว่า 370 สาขา และล่าสุดทางบริษัท ไทยเบฟฯ ของเสี่ยเจริญ เพิ่งซื้อกิจการสตาร์บัคส์ในไทยไป และมีแผนงานที่จะเพิ่มสาขาเป็น 600 สาขา ในอีก 5 ปี ข้างหน้า!
โดยทาง ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร คาดการณ์ว่า ในปี 2562 ตลาดร้านกาแฟจะมีมูลค่าตลาดรวมขยับขึ้นมาอยู่ที่ 25,860 ล้านบาท เติบโต ประมาณ 15-20% จากปี 2561
1
ส่วนทางยูโรมอนิเตอร์ระบุว่า เมื่อปี 2561 ประเทศไทยมีร้านกาแฟประมาณ 8,000 กว่าร้านค้า เติบโต 4.6% แต่หากมองรวม 5 ปีย้อนหลังจะเติบโต 6.2% และคนไทยบริโภคกาแฟแค่ 300 แก้วต่อคนต่อปี ยังน้อยกว่าอีกหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น 400 แก้วคนต่อปี ยุโรปเฉลี่ย 600 แก้วต่อคนต่อปี ฟินแลนด์ก็สูงถึง 1,000 แก้วต่อคนต่อปีเลยทีเดียว
2
2) สตาร์บัคส์ ไม่ได้ขายความเป็นร้านกาแฟ แต่ขายแนวคิด ความเป็น “บ้านหลังที่ 3” โดยปัจจุบัน สตาร์บัคส์ มีกิจการครอบคลุม 75 ประเทศทั่วโลก จำนวนกว่า 82,000 สาขา โดยเฉพาะ สำหรับคนที่ไปต่างประเทศ หากอยากหาห้องน้ำดีๆ ดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่รสชาติได้มาตรฐาน ก็คงต้องวิ่งเข้าร้านสตาร์บัคส์ เป็นทางเลือกหนึ่ง (พวกฟาสต์ฟู๊ด เช่น แมคโดนัลด์ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก)
1
บ้านหลังที่ 3
3) ผลประกอบการของสตาร์บัคส์ ประเทศไทย ย้อนหลัง 5 ปี
ปี 2557 รายได้ 3,985 ล้านบาท กำไร 541 ล้านบาท
ปี 2558 รายได้ 4,999 ล้านบาท กำไร 715 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ 6,052 ล้านบาท กำไร 819 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 7,007 ล้านบาท กำไร 886 ล้านบาท
1
ปี 2561 รายได้ 7,676 ล้านบาท กำไร 1,078 ล้านบาท
4) สำหรับขนมที่ขายในสตาร์บัคส์ ส่วนใหญ่มาจากการรับจ้างผลิตของแบรนด์ดังในไทย
ขอเริ่มที่ ขนมไหว้พระจันทร์ ให้เข้ากับเทศกาลกันหน่อย โดยผู้ผลิตให้สตาร์บัคส์ ไม่ใช่ใครอื่น แต่เป็น S&P นั่นเอง
โดยขนมไหว้พระจันทร์ของสตาร์บัคส์ คุณจะได้เห็นโลโก้นางเงือกผมสลวยสวยเก๋ พร้อมบรรจุภัณฑ์สวยงาม กับราคา 4 ชิ้น 1,450 บาท (ขายพร้อมกระเป๋านะราคานี้) ส่วนราคาปกติชิ้นละประมาณ 155 บาท เทียบ S&P ช่วงลดราคา 20% ชิ้นละประมาณ 80 กว่าบาท!
4 รสชาติใหม่
และในปีนี้ทางสตาร์บัคส์ ออก 4 รสชาติใหม่ ได้แก่ ชากุหลาบและเบอร์รี่, มันม่วงและอัลมอนด์, ชาโฮจิฉะ, และมอคค่า (สีสันพาสเทลมากๆ)
5) ขนมถัดไป อันนี้เป็นการ Co-brand คือ After you ทำหลายอย่างทั้ง Honey Toast และปังเนยโสด ให้ สนนราคาที่สตาร์บัคส์ กับ After You ขาย ก็ถือว่า ขายได้ราคาแพงพอๆกัน (ฮ่าๆ)
Starbucks x After You
6) เค้กมะพร้าวกับ สตรอเบอรี่เฟรชครีม อันล้ำค่า รับมาจาก ร้านกาแฟอีกร้าน คือ คอฟฟี่บีน บายดาว (สาขาใน กทม.) ส่วนที่เชียงใหม่ เช่น แมงโก้ชีสพาย มาจากร้าน Upper crust
เค้กมะพร้าว
Baby Boom Strawberry cake @Coffee bean by Dao
Cheese Cake Mango@Upper Crust
7) และขนมปัง ส่วนใหญ่ มาจาก เครือโรงแรมแมริออท
เบเกอรี่ Starbucks
8) ปิดท้ายด้วย “วัตถุดิบปริศนา” ก็ไม่เชิงปริศนาเท่าไหร่หรอก ก็คือ “เมล็ดกาแฟ” โดยไทยผลิตกาแฟ ได้เพียง 32,000 ตันต่อปี ต่ำกว่าปริมาณการบริโภคในประเทศ ทำให้ผู้บริษัทต่างๆ ทั้ง เนสท์เล่, ซีพี ออลล์ (7-11), สตาร์บัคส์ ต้องยื่นขอนำเข้าเมล็ดกาแฟจากต่างประเทศ
นอกจากนี้เมล็ดกาแฟไทยยังราคาแรงมาก ที่ประมาณ 70 บาท/กก. เทียบเมล็ดนำเข้าที่ 47-50 บาท/กก.  ทำให้ปริมาณนำเข้าเมล็ดกาแฟ ของไทยในปี 2561 อยู่ที่ 64,685 ตัน มูลค่า 4,487 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ซึ่งมีปริมาณนำเข้า 57,997 ตัน มูลค่า 5,015 ล้านบาท โดยทางสตาร์บัคส์ นำเข้าเป็นลำดับที่ 2 รองจาก เนสท์เล่
จะเห็นได้ว่าพลังแห่งแบรนด์ ช่วยเพิ่มราคาขายสินค้าได้เป็นอย่างดี และก็ยังมีโอกาสดีๆ สำหรับผู้ประกอบการไทยอีกมาก ทั้งทำสินค้าเพื่อสนับสนุนบริษัทใหญ่ หรือการสร้างแบรนด์ของตัวเอง แล้ว Co-branding แบบที่ After You ทำได้อย่างยอดเยี่ยม
1
นอกจากนี้ ตลาดกาแฟก็ยังเป็นตลาดที่ใหญ่ แต่ผู้ประกอบการคงต้องพลิกแพลงหน่อย เช่น การให้บริการส่งกาแฟถึงที่ทำงานเลย การใช้เมล็ดกาแฟท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ หรือการนำเข้าเมล็ดกาแฟ สายพันธุ์ ดีๆ จากต่างประเทศ เพื่อให้เกิดจุดขายที่แตกต่างจากร้านทั่วๆ ไป...
ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์, the Bangkok insight, Pantip.com, promotion to you, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, postjung
💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ และกลยุทธ์ทางธุรกิจ
ติดตาม "นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า" ได้หลายช่องทาง
4
✌️Blockdit (อ่านสนุกกว่า): https://www.blockdit.com/pages/5cf403f48a04c80fff7950bb
👌Line openchat (พูดคุยแลกเปลี่ยน ระหว่างผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก): https://line.me/ti/g2/hxcbVyO45-1yxNkh-vKf1g
โฆษณา