20 ก.ย. 2019 เวลา 03:00
เมื่อหลายวันก่อน วินเชื่อว่าผู้อ่านเกือบทุกท่านต้องได้เห็นข่าวการโจมตีบ่อน้ำมันและโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ที่สุดในโลกของซาอุดีอาระเบีย สร้างความตกใจและหวาดกลัวแก่ผู้คนจำนวนมาก
สิ่งหนึ่งที่หลายๆคนกังวลกันมากที่สุดนอกจากผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเราแล้ว คงจะเป็น 'วิธีการการโจมตี' ของผู้ก่อเหตุ ที่มีพลังทำลายมหาศาลถึงขั้นสามารถโจมตี 2 แหล่งนำ้มันที่ใหญ่ที่สุดของซาอุอย่างราบคาบได้
1
หลังจากนั้นไม่นาน โฆษกกลุ่มกบฏฮูธีในเยเมน ก็ได้ออกมาประกาศว่าตนเองนี่เเหละที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีในครั้งนี้ พร้อมชี้ว่าเป็นหนึ่งในปฏิบัติการโจมตีครั้งใหญ่ที่สุดในซาอุดีอาระเบียของกลุ่ม โดยการใช้โดรนโจมตีรุ่น Sammad 3 กว่า 10 ลำทำลายเป้าหมาย
โดรนมีพลังการทำลายล้างมากขนาดนั้นเชียวหรือ? นี่คือยุคของการก่อวินาศกรรมด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยหรือไม่? ไฮเทควันนี้เดอะเทคโนโลยีโดยวินมีคำตอบครับ
1
มาทำความรู้จักกับ 'อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle, UAV)' หรือที่รู้จักกันในนามของ 'โดรน (Drone)' เครื่องบิน/อากาศยานที่ไม่มีผู้ขับนั่งอยู่บนเครื่องและถูกควบคุมจากมนุษย์ที่อยู่ห่างไกลออกไป
โดรนลำเเรกเกิดขึ้นในทศวรรษ 1990 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นเครื่องบินแบบตรวจการณ์ทางทหาร หรือที่เรียกว่า 'อากาศยานต่อสู้ไร้คนขับ' (unmanned combat aerial vehicle, UCAV)
1
ในปัจจุบันนี้ โดรนทางการทหารได้ถูกสร้างมาในโมเดลหลายเเบบ หลายรุ่น ตามจุดประสงค์ของภารกิจที่ต่างกัน เช่น
1. เป้าหมายและเป้าล่อ - เป็นเป้าฝึกให้กับพลปืนต่อต้านอากาศยานหรือขีปนาวุธ
2. สอดแนม - เป็นหน่วยข่าวกรองในสมรภูมิ
3. ต่อสู้ - ทำภารกิจโจมตี
4. ขนส่ง - เป็นยูเอวีที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อการขนส่ง
2
หลังจากเกิดเหตุการณ์ก่อการร้าย 9/11 อเมริกาเริ่มทำการติดอาวุธให้กับเครื่องโดรนของตัวเอง โดยเฉพาะการติดตั้งจรวดความเเม่นยำสูงที่สามารถทำการโจมตีเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จนเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2001 อเมริกาก็ได้ตอกย้ำความเป็นมหาอำนาจด้านเทคโนโลยีโดยการใช้โดรนรุ่น Predator ของ CIA สังหารผู้นำกลุ่มอัลกออิดะห์ และใช้โจมตีผู้ก่อการร้ายที่เยเมนในอีกหนึ่งปีต่อมา
ซึ่งในเเต่ละประเภท ก็จะมีรุ่นของโดรนที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดี อย่างเช่น 'General Atomics MQ-9 Reaper (Predator B)' โดรนต่อสู้สุด iconic ที่สร้างมาตั้งเเต่ปี 2001 หรือกว่า 18 ปีที่เเล้ว โดยเป็นเครื่องบินระยะปฏิบัติการไกลและเพดานบินสูง ติดระบบป้องกันการตรวจจับด้วยการใช้ระบบควบคุมการปฏิบัติการจากภาคพื้นดิน ที่พัฒนามาจากโมเดล Predator รุ่นก่อนๆ ติดตั้งด้วยเครื่องยนต์ระดับเทพเเละเทคโนโลยีแบบล้ำสมัย
- เครื่องยนต์พละกำลังสูง Honeywell TP331-10 ขับแรงม้าสูงสุด 670 กิโลวัตต์หรือ 898.4848 แรงม้า
- จุดติดตั้งอาวุธ 6 จุด
- ขีปนาวุธจากอากาศสู่ภาคพื้นดิน AGM-114 Hellfire
- ขีปนาวุธจากอากาศสู่อากาศประสิทธิภาพการทำลายล้างสูงรุ่น AIM-92 Stinger
- ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ GBU-12 Paveway II
- รัศมีการปฏิบัติการ 49 ชั่วโมง
- ระยะเวลาการบินสูงสุด 14 ชั่วโมง
- สมรรถนะการทำความเร็วสูงสุด 400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
MQ-9 Reaper (Predator B) ที่มักจะเห็นในหนังฮอลิวู้ด
'Avenger (Predator C)' โดรนต่อสู้รุ่นใหม่ที่สร้างขึ้นในปี 2009 เป็นรุ่นที่มีการพัฒนาปรับปรุงมาจาก MQ-1 Predator และ MQ-9 Reaper (Predator B) โดยเพิ่มระบบใหม่ๆเพื่อความทันสมัย อย่าง
- เครื่องยนต์แบบ turbofan เครื่องยนต์ไอน้ำชนิดลมที่เงียบเเละเร็วกว่ารุ่นก่อนหลายเท่า
- คุณสมบัติลดการสะท้อนเรด้าห์ (ล่องหน) ขั้นสูง
- ช่องเก็บอาวุธภายในลำตัว
- ท่อไอเสียเเบบ S-shape ช่วยลดการปล่อยรังสีอินฟราเรดและการตรวจจับบนเรดาร์ (radar signatures)
- ขีปนาวุธจากอากาศสู่ภาคพื้นดินAGM-114 Hellfire
- ระเบิด GBU-39 SDB
- ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ GBU-12 Paveway II
- ระเบิดความเเม่นยำสูง GBU-31 JDAM (Joint Attack Direct Munition) ระบบอัฉริยะที่สามารถควบคุมตำแหน่งการตกผ่านการนำทาง โดยระบบบอกพิกัดตำแหน่งดาวเทียม หรือ GPS ควบคู่กับระบบนำทางภายใน หรือ INS ที่จะคอยนำทางลูกระเบิดที่ถูกทิ้งลงมาจากเครื่องบินรบ ให้เข้าสู่เป้าหมายอย่างแม่นยำ
- สมรรถนะการบินสูงสุด 18 ชม.
- สมรรถนะการทำความเร็วสูงสุด 460 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
Avenger (Predator C) หน้าตาไฮเทค
'Black Hornet Nano' โดรนสอดเเนมและเฝ้าระวังขนาดเล็กที่พัฒนาโดยบริษัท Prox Dynamics AS ของนอร์เวย์ โดรนเล็กพริกขี้หนูที่มาพร้อมกับ
- ขนาดที่ใหญ่กว่าแมลงปอเพียงเล็กน้อย
- สมรรถนะการบินสูงสุด 25 นาที
- น้ำหนักเพียง 16 กรัม (รวมแบตเตอรี่)
- กล้อง 3 มุม: ข้างหน้า, ข้างล่าง, เเละหน้า 45 องศา
- กล้องดูภาพเวลากลางคืนคุณภาพสูง
- เครื่องตรวจจับแบบคลื่นอินฟาเรดเเนวยาว (long-wave infrared)
- กล้องวิดีโอคุณภาพสูง
1
Black Hornet Nano กับสุดยอดเเห่งการสอดเเนม
'NORTHROP RQ-4A GLOBAL HAWK' โดรนสอดเเนมที่มีราคาเเพงที่สุดในโลก โดยมีราคากว่า 131 ล้านดอลลาร์หรือ 4 พันล้านบาท!!! โดรน GLOBAL HAWK เป็นอากาศยานของกองทัพอากาศอเมริกัน ที่มีจุดเด่นอยู่ที่เพดานบินอันสูงลิบและพิสัยบินในการปฏิบัติการไกลข้ามประเทศ ออกแบบสำหรับการบินปฏิบัติภารกิจลับหรือต้องการอำพรางตัว พร้อมคุณสมบัติเฉพาะตัว
- ตัวเครื่องคาร์บอนไฟเบอร์และอะลูมิเนียมคุณภาพสูง ทำให้ตัวเครื่องเบาเเม้ว่าจะมีขนาดใหญ่
- กล้องถ่ายภาพพร้อมระบบ EISS ที่สามารถปรับรูรับแสงของกล้องรวมถึงการโฟกัสแบบอัตโนมัติในทุกสภาพอากาศ
- ตัวบ่งชี้เป้าหมายเรดาร์/กล้องดิจิตอล electro-optical (EO) highresolution
- เซนเซอร์แบบพิเศษ มีช่วงขยายมากกว่าครึ่งทางทั่วโลก
- ระบบแยกแยะวัตถุแบบซับซ้อน ระบุยานพาหนะทางทหารประเภทต่างๆ รวมไปถึงอากาศยานรบและกองกำลังหรืออาวุธต่างๆบนพื้นดิน ภายในเสี้ยววินาที
- ความสามารถในการบินในระดับความสูง 183,000 เมตรเหนือพื้นดิน
- ระบบจับสัญญาณการสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือ
- สมรรถนะการทำความเร็วสูงสุด 629 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
NORTHROP RQ-4A GLOBAL HAWK ความเทพสมราคา
'Fuvec' (Fixed-wing Unmanned aerial vehicle with Vertical takeoff and landing Enabled Capability) โดรนไร้คนขับของคนไทย!!! ไปดูของต่างประเทศกันมาหลายรุ่นเเล้ว กลับมาดูของคนไทยกันบ้าง โดรนรุ่น Fuvec นี้ถูกสร้างโดย บริษัท ท็อป เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น โดยเป็นการร่วมมือระหว่างบริษัทเเละโครงการวิจัยกับกองทัพเรือ และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทป. ในการร่วมทำยูเอวีขนาดใหญ่สำหรับการใช้งานภายในกองทัพเรือ กับคุณภาพที่ต้องบอกเลยว่า ไม่ธรรมดา
- เครื่องยนต์ 2 รูปแบบ: น้ำมันและไฟฟ้า
- ขนาด 4.5 เมตร
- ฟังก์ชั่นระบบสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูง
- ระบบกล้องดิจิตอล
- ระบบขึ้นบินเเบบไม่ต้องใช้รันเวย์แข็ง ใช้การขึ้นลงเเบบทางดิ่ง
- ระยะบินไกล ควบคุมอัตโนมัติเกือบ 100%
- สมรรถนะการบินสูงสุด 4 ชั่วโมงครึ่ง
- สมรรถนะการทำความเร็วสูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
Fuvec โดรนสัญชาติไทย
จากตัวอย่างด้านบนจะเห็นได้ว่า โดรนถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่มีความสำคัญมากทางด้านการทหารของหลายๆประเทศ และเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ความสามารถของโดรนเหล่านี้เพิ่มขึ้นไปด้วย
2
ในขณะเดี๋ยวกัน ด้วยราคาที่จับต้องได้และความก้าวหน้าที่'มากเกินไป' ก็ส่งผลต่อการเข้าถึงเทคโนโลยีโดรนเพื่อการก่อการร้าย อย่างที่กลุ่มกบฏฮูธีใช้ในการทำลายเเหล่งขุดเจาะน้ำมันสำคัญ
1
"การโจมตีแหล่งผลิตน้ำมันของซาอุดิอาระเบียด้วยจรวดและโดรนจากระยะไกลครั้งนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนเกมการรบใหม่ โดยการใช้โดรนติดอาวุธดังกล่าวจะเป็นแนวรบใหม่สำหรับสงครามในอนาคตด้วย" คุณ Jeffrey Price ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงและอาจารย์ผู้สอนด้านการจัดการอากาศยานที่มหาวิทยาลัย Metropolitan State University ในนครเดนเวอร์กล่าว
การโจมตีซาอุดิอารเบีย
โดรนรุ่น Sammad 3 ของกลุ่มกบฏฮูธีที่ใช้ในการก่อการครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม การโจมตีด้วยโดรนของกลุ่มกบฏฮูธีในครั้งนี้ ไม่ใช่ครั้งเเรก เพราะเมื่อวันที่ 14 มิถุนายนที่ผ่านมา สื่อของทางการซาอุฯ เคยรายงานว่ากองทัพอากาศและหน่วยป้องกันภัยทางอากาศของซาอุฯ สามารถสกัดกั้นและทำลายอากาศยานไร้คนขับ 5 ลำ ที่กบฏฮูตีส่งมาโจมตีท่าอากาศยานระหว่างประเทศอับฮา และเมืองคามิสมูชาอิต ได้ครั้งหนึ่งเเล้ว โดยมีผู้โดยสาร 2 คน ซึ่งรวมถึงชาวอินเดีย 1 คน ที่ต่างได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยจากเหตุการณ์นั้น
โฆษณา