22 ก.ย. 2019 เวลา 14:36
การทดลองของมิลแกรม กับการตีแผ่ด้านมืดสุดสะพรึงในตัวมนุษย์และคำถามด้านจรรยาบรรณในการทดลองหรือการวิจัย
ท่านผู้อ่านคงทราบกันดีใช่ไหมครับว่า 'การทำร้ายหรือสังหารผู้คน มันคือสิ่งที่ผิดศีลธรรมอย่างร้ายแรง' และในทุกๆ ศาสนาบนโลกใบนี้ล้วนเเต่บัญญัติข้อห้ามการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเอาไว้ด้วยกันทั้งนั้น และมันคือคุณธรรมและศีลธรรมที่ถูกปลูกฝังไว้ในใจเราเสมอมา
แต่ทว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 กลับมียอดจำนวนผู้เสียชีวิตที่เกิดจากการล่าสังหารของมนุษย์ด้วยกันเองเป็นจำนวนที่มากมายมหาศาล ทำไมมนุษย์ (ทหาร) ถึงสามารถฆ่าฟันกันได้อย่างหน้าตาเฉย ตลอดจนการทดลองและล้างเผ่าพันธุ์ที่โหดร้ายของทางฝั่งทหารนาซีนั้นอีกล่ะ
ในช่วงปี ค.ศ.1961 (หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 มาประมาณ 16 ปี) ได้มีบุรุษท่านหนึ่งได้ตั้งข้อสงสัยในจุดนี้ เขามีชื่อว่า 'สแตนลีย์ มิลแกรม (Stanley Milgram)'
สแตนลีย์ มิลแกรม (Stanley Milgram) : เครดิตภาพ https://allthatsinteresting.com/milgram-experiment
แล้ว สแตนลีย์ มิลแกรม เขาคือใครล่ะ?
สแตนลีย์ มิลแกรม เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1933 (นั้นหมายความว่า มิลแกรม ได้เติบโตในช่วงระหว่างที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นเองครับ) ในเมืองนิวยอร์คซิตี้ ประเทศสหรัฐอเมริกา
มิลแกรมเป็นนักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเยล และเขาได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับกรณีที่ 'มนุษย์เราจะยอมทำในสิ่งที่ขัดกับศีลธรรมในใจได้ เพียงเพราะพวกเขาได้รับคำสั่งหรือถูกสั่งให้ทำจากผู้มีอำนาจอย่างนั้นหรือ?'
เพื่อให้ได้คำตอบดังกล่าว มิลแกรมจึงออกแบบการทดลองหนึ่งขึ้นมา โดยปัจจุบันเราเรียกการทดลองนี้ว่า 'การทดลองของมิลแกรม (Milgram Experiment)' นั้นเองครับ
รายละเอียดการทดลองของมิลแกรม มีดังนี้ครับ
ภาพประกอบการทดลองของมิลแกรม (ต้นฉบับ) : เครดิตภาพhttps://www.nytimes.com/2008/07/01/health/research/01mind.html
เริ่มแรก มิลแกรมได้ประกาศรับอาสาสมัครไปตามหน้าหนังสือพิมพ์ โดยอาสาสมัครจะได้รับค่าตอบประมาณ 4 ดอลล่าจากงานอาสาสมัครครั้งนี้ โดยมิลแกรมได้โกหกหน้าตายไปว่าการทดลองครั้งนี้คือ 'การศึกษาเกี่ยวกับความจำ' นะจ๊ะ
1
เมื่อได้อาสาสมัครมาจำนวน 40 คนแล้ว อาสาสมัครเหล่านี้จะต้องเข้าไปในห้องทดลองที่มิลแกรมออกแบบเอาไว้ทีละคนเท่านั้นครับ
1
โดยอาสาสมัครตัวจริงจะนั่งประจำที่จุด W โดยอาสาสมัครจะทำหน้าที่คอยกดปุ่มตามคำสั่งของมิลแกรม เพื่อปล่อยกระเเสไฟฟ้าเมื่ออาสาหน้าม้าตอบคำถามผิด ซึ่งระดับไฟฟ้านั้นมีตั้งแต่ 15 โวลต์, 30โวลต์, 55โวลต์, 70โวลต์, 110โวลต์ (ค่าแรงดันไฟฟ้ามาตรฐานที่ใช้ในทวีปยุโรป), 220โวลต์ (ค่าแรงดันไฟฟ้ามาตรฐานสำหรับประเทศไทย) และสุดท้ายคือ 450 โวลต์
จุด V จะเป็นอาสาหน้าม้า ที่มีหน้าที่เป็นนักแสดงรางวัลออสการ์ที่จะต้องคอยร้องและเเสดงอาการเจ็บปวดเมื่ออาสาสมัครตัวจริงที่จุด W กดปุ่มลงโทษ และหน้าที่อีกข้อของอาสาหน้าม้านี้ก็คือ พยายามตอบคำถามให้ผิดเข้าไว้ (ซึ่งจุดนี้อาสาสมัครตัวจริงจะไม่รู้เลยว่า อาสาสมัครหน้าม้านั้นได้เล่นละครตบตาเป็นลิงหลอกเจ้าอยู่)
1
ส่วนจุด S ก็คือตัวมิลแกรมเอง (หรืออาจเป็นนักวิจัยท่านอื่นก็ได้เช่นกันครับ) โดยตัวมิลแกรมเองมีหน้าที่ถามคำถามให้อาสาหน้าม้าตอบ ซึ่งไม่ว่าหน้าม้าจะตอบอะไรกลับมาก็ตามมิลแกรมก็จะบอกว่ามันเป็นคำตอบที่ผิดเสมอ และจะขอให้อาสาตัวจริงกดปุ่มเพื่อปล่อยกระเเสไฟฟ้าอันเป็นการลงโทษ (ซึ่งทุกครั้งที่อาสาหน้าม้าตอบผิด กระแสไฟฟ้าจะต้องค่อยๆ ไต่ระดับความแรงขึ้นไปเรื่อยๆ) และมีหน้าที่ที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการทดลองในครั้งนี้นั้นก็คือ การคอยสั่งหรือโน้มน้าวให้อาสาตัวจริงกดปุ่มลงโทษในระดับต่อๆ ไปให้ได้
1
โดยจะมีกำแพงทึบกั้นแยกระหว่างจุดที่อาสาหน้าม้านั่งและจุดอาสาตัวจริงครับ แต่กำแพงดังกล่าวจะเป็นกำแพงที่บางๆ เพื่อให้อาสาตัวจริงได้ยินเสียงร้องของอาสาหน้าม้าได้แบบชัดเจนนั้นเอง
...
ช่วงเริ่มต้นของการทดลองในระดับไฟฟ้าที่ 15 - 55 โวลต์ : อาสาหน้าม้าจะร้องโวยวายเล็กน้อย
...
ในระดับ 70 โวลต์ : อาสาหน้าม้าจะร้องอุทานเสียงดังมากขึ้นเพื่อให้อาสาตัวจริงได้ยิน ถ้าในจุดนี้อาสาตัวจริงอยากจะหยุดการทดลอง ก็จะถูกมิลแกรมขอร้องให้ทำการทดลองต่อไป "กรุณาทำการทดลองต่อกันเถอะ ไม่มีอะไรต้องกังวล"
ในระดับ 110 โวลต์ : อาสาหน้าม้าเริ่มร้องโหยหวนพร้อมกับขอร้องให้หยุดการทดลองนี้ ซึ่งตรงนี้มิลแกรมจะเริ่มใช้น้ำเสียงที่ดุดันขึ้นเพื่อสั่งให้อาสาตัวจริงดำเนินการต่อไป เช่น "การทดลองนี้มันสำคัญอย่างมากที่สุด คุณต้องดำเนินการต่อไป"
ในระดับ 220 โวลต์ : อาสาหน้าม้าร้องแหกปากเสียงดังลั่นพร้อมเสียงโอดครวญ “ได้โปรดหยุดเถอะ ผมจะทนไม่ไหวอยู่เเล้ว” และเพิ่มแอ็คชั่นด้วยการทุบกำแพงให้เกิดเสียงเพื่อเพิ่มแรงกดดันให้กับอาสาตัวจริง
มาถึงตรงนี้ร้อยทั้งร้อยของอาสาตัวจริง ย่อมมีความคิดที่อยากจะหยุดการทดลองดังกล่าวนี้แล้วครับ
แต่ทว่าจุดตรงนี้แหละครับ ที่เป็นจุดสำคัญที่สุดของการทดลองในครั้งนี้ มันถึงเวลาที่จะพิสูจน์สมมติฐานที่ว่า 'มนุษย์เราจะยอมทำในสิ่งที่ขัดกับศีลธรรมในใจได้ เพียงเพราะพวกเขาได้รับคำสั่งหรือถูกสั่งให้ทำจากผู้มีอำนาจนั้นเป็นความจริงหรือไม่?' กันแล้วครับ
เมื่อมิลแกรมได้รับคำขอหยุดการทดลองนี้จากอาสาตัวจริง มิลแกรมจึงจัดการหย่อนระเบิดกลับไปด้วยน้ำเสียงที่ดุดันและมีพลังกว่าเดิม "ผลการทดลองในครั้งนี้สำคัญมากๆ ในอนาคต ไม่ว่าเขา (อาสาหน้าม้า) จะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ 'ผมจะรับผิดชอบเอง' คุณต้องดำเนินการทดลองนี้ต่อไป จนกว่าเขา (อาสาหน้าม้า) จะตอบคำถามของผมได้ถูกต้อง"
สิ่งที่เกิดขึ้นต่อไปนี้ สร้างความตกตะลึง สะพรึง และเรียกเสียงฮือฮาจากผู้คนที่ได้อ่านผลการทดลองนี้เป็นอย่างมาก เพราะจากอาสาตัวจริงจำนวน 40 คน ปรากฏว่ามีคนที่กดปุ่มไฟฟ้าระดับ 450 โวลต์เป็นจำนวนถึง 26 คน (คิดเป็น 65%) เลยทีเดียว
แม้ภายหลังจากการทดลองของมิลแกรม ได้มีนักจิตวิทยาคนอื่นๆ ทั่วโลกได้ทำการทดลองแบบเดียวกันซ้ำอีกครั้ง เพื่อยืนยันผลการทดลองของมิลแกรม ปรากฏว่ายังคงมีอาสาสมัครที่กดปุ่มไฟฟ้าระดับ 450 โวลต์ ในสัดส่วนที่แทบไม่ต่างไปจากผลการทดลองของมิลแกรมเลยครับ
ทำไมมันถึงเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมาได้?
จิตวิทยาสังคมสามารถตอบคำถามในส่วนนี้กับเราได้ครับ
จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) เป็นสาขาที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ ที่ได้ผลจากการเข้าสังคม หรือจากบุคคลอื่นๆ รอบตัว
หมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวเราตั้งแต่ ครอบครัว, กลุ่มเพื่อน, ค่านิยม หรือแม้กระทั่งแฟนของเราเอง ล้วนแต่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของตัวเราทั้งสิ้น (ทั้งในอนาคตและ ณ ขณะนั้น)
2
เช่น พฤติกรรมมนุษย์ที่แตกต่างกันระหว่างเมื่อต้องอยู่คนเดียวและเมื่ออยู่เป็นกลุ่ม เช่น กรณีนักเรียนนักเลงช่างกล ที่หากอยู่รวมกลุ่มกันมีแนวโน้มที่จะเกิดเหตุทะเลาะวิวาทมากกว่าตอนที่อยู่คนเดียว หรือกระทั่งเมื่อถูกสั่งให้ทำอะไรบางอย่างด้วยเช่นกัน ซึ่งพฤติกรรมนี้ถูกเรียกว่า 'พฤติกรรมคล้อยตาม'
1
เพราะคนเราใส่ใจและให้ความสำคัญกับการได้เป็นพวกเดียวกัน ยิ่งเมื่ออยู่เป็นกลุ่มเเล้วก็จะไม่กลัวที่จะถูกมองว่าทำอะไรแปลกประหลาด ตลอดจนสิ่งที่คนเรากลัวกันมากที่สุดคือการถูกกีดกันออกจากกลุ่ม
...
และทำให้เกิดเหตุผลหนึ่งที่น่ากลัวขึ้นมาด้วย นั้นก็คือเมื่ออยู่เป็นกลุ่มแล้ว เวลาทำอะไรผิดก็จะแยกไม่ออกว่าใครเป็นคนทำ หรือมีความรู้สึกว่าความผิดที่ตนเองก่อขึ้นนั้นได้ถูกแชร์ออกไปให้กับคนในกลุ่มเเล้ว จึงไม่รู้สึกว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นมันจะผิดอะไรมากมาย ดั่งที่เรามักเห็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมแทบจะทุกครั้งไป
1
ภาพความรุนแรงระหว่างการชุมนุมที่ฮ่องกง : เครดิตภาพ https://www.straitstimes.com/singapore/parliament-no-reports-of-singaporeans-directly-affected-by-hong-kong-protests
และ “ใครๆ เขาก็ทำกัน” วลีอันคุ้นหูที่ผมเชือว่าผู้อ่านทุกคนต้องเคยได้ยินกันมา ซึ่งส่งผลให้ลึกๆ แล้วแม้เขาจะรู้ตัวว่าเขากำลังทำผิดกฎหมายอยู่ก็ตาม แต่ในเมื่อใครๆ ก็ทำกัน จึงทำให้รู้สึกว่าความผิดนั้นมันไม่ใช่เรื่องหนักหนาอะไร (เพราะเราได้กระจายความรู้สึกผิดไปให้คนที่ทำแบบเดียวกันเเล้ว) จึงเลือกที่จะทำผิดตามคนอื่นต่อไป เช่น การขี่จักรยานยนต์บนฟุตบาท, การฝ่าไฟแดง, การรับหรือให้เงินใต้โต๊ะ และอีกมากมาย
ขี่บนฟุตบาทใครๆ เขาก็ทำกัน : เครดิตภาพ https://hilight.kapook.com/view/191186
และเจ้าพฤติกรรมคล้อยตามนี้แหละครับ ที่มันสามารถอธิบายผลการทดลองที่น่ากลัวของมิลแกรมนี้ได้อย่างกระจ่างชัด
ยังจำสิ่งที่มิลแกรมคอยพูดคอยสั่งอาสาสมัครที่ผมเปรียบเป็นระเบิดกันได้ใช่ไหมครับ “ผลการทดลองในครั้งนี้สำคัญมากๆ ในอนาคต ไม่ว่าเขา (อาสาหน้าม้า) จะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ 'ผมจะรับผิดชอบเอง' คุณต้องดำเนินการทดลองนี้ต่อไป จนกว่าเขา (อาสาหน้าม้า) จะตอบคำถามของผมได้ถูกต้อง” คีย์เวิร์ดสำคัญของประโยคนี้คือ ‘ผมจะรับผิดชอบเอง’ นั้นทำให้อาสาสมัครตัดสินใจทำตามและปล่อยให้ตัวเองอยู่ในสถานะที่ต่ำกว่าผู้สั่ง (มิลแกรม)
เมื่อมีการสัมภาษณ์อาสาสมัครภายหลังการทดลอง ถึงเหตุผลการยอมกดปุ่มไฟฟ้าระดับ 450 โวลต์ ที่เพียงพอจะสังหารมนุษย์คนหนึ่งได้อย่างสบายๆ คำสัมภาษณ์ล้วนออกมาในทิศทางเดียวกันคือ “ผมแค่ทำตามคำสั่งของนักวิจัยเท่านั้น”, “เขาสั่งให้ผมทำ ผมก็ต้องทำ” และ “ก็นักวิจัยเขาบอกว่าจะรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นเอง” ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลก็คือการโยนความผิดทั้งหมดให้กับผู้วิจัยฝั่งเดียวเนื่องจากเป็นคนสั่งการ เพื่อที่จะทำให้ตัวเองไม่รู้สึกผิดที่ได้ทำร้ายหรือสังหารผู้บริสุทธิ์ไปนั้นเอง
จึงนำไปสู่บทสรุปที่น่ากลัวว่า “ในบางเหตุการณ์ มนุษย์เราไม่สามารถหยุดการกระทำบางอย่างที่ผิด ได้ด้วยคุณธรรมที่อยู่ในใจ”
การทดลองของมิลแกรม กับการถูกตั้งคำถามถึงจรรยาบรรณในการทำการทดลอง
เนื่องจากการทดลองของมิลแกรมนั้น สร้างความกดดันและบาดแผลในใจให้แก่อาสาสมัครอย่างแสนสาหัสในระหว่างทำการทดลอง
มีรายงานบันทึกไว้ว่า อาสาสมัครแต่ละคนล้วนแต่แสดงอาการความตึงเครียดในระหว่างการทดลองได้แตกต่างกันออกไป เช่น มีเหงื่อออก, ร่างกายสั่นเทา, พูดจาติดอ่าง, เริ่มกัดริมฝีปาก, ร้องครวญครางราวกับคนเสียสติ, จิกเล็บจนเข้าเนื้อของตัวเอง และบางคนถึงกับระเบิดหัวเราะร่วนออกมาราวกับคนบ้า
ภาพที่แสดงถึงความเครียดถึงขีดสุดระหว่างการทดลองของอาสาสมัครท่านหนึ่ง : เครดิตภาพ https://talkingpointsmemo.com/edblog/our-our-national-milgram-experiment
ซึ่งการทดลองของมิลแกรมนั้น ได้ถูกนักวิจัยคนอื่นๆ ยกขึ้นมาเพื่อตั้งคำถามเรื่องจรรยาบรรณเรื่อยมา ควบคู่กับการทดลองที่โหดร้ายของนาซี
และในปี ค.ศ.1964 ได้กำเนิด ‘ปฏิญญาเฮลซิงก (Declaration of Helsinki)’ โดยเป็นเรื่องที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางที่สุดในโลก ซึ่งฉบับล่าสุดคือ ฉบับที่ได้รับการรับรองโดยสมัชชาของแพทยสมาคมโลก เมื่อปี ค.ศ.2008 ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ และการทดลองของมิลแกรมถือเป็นหนึ่งในแรงผลักดันที่ทำให้เกิดปฏิญญาดังกล่าวขึ้นด้วยนั้นเองครับ
แม้ผลการทดลองของมิลแกรมจะออกมาชวนให้เรารู้สึกหดหู่ แต่ผมเชื่อเสมอว่า ‘การทำความดีนั้น เริ่มที่ตัวเราเอง’ เเละเราต้องเชื่อมั่นในการกระทำของเราให้แน่วแน่ อย่าให้มันถูกสิ่งเร้าจากคนรอบตัวสั่นคลอนเอาได้ง่ายๆ และเมื่อนั้นเราจะเป็นอีกหนึ่งคนที่สามารถหยุดการกระทำบางอย่างที่ผิด ได้ด้วยคุณธรรมที่อยู่ในใจ และเมื่อนั้นคุณจะกลายเป็นคนที่โคตรเท่ (อย่างน้อยๆ ก็ในสายตาผมคนหนึ่งแล้วครับผม) มาลองพยายามไปด้วยกันไหมครับ?
สุดท้ายนี้ผมขอทิ้งท้ายด้วยพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่ผู้สำเร็จการศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ณ สวนอัมพร เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2525 เพื่อเป็นพลังใจและกำลังใจให้แก่ผู้อ่านทุกท่านครับ
เครดิตภาพ : https://twitter.com/gsbsociety/status/888915766141100032?lang=eu
บรรณานุกรม
พงศ์มนัส บุศยประทีป. (2555). รู้ใจคนด้วยจิตวิทยาไม่ยาก. นนทบุรี: บริษัท ธิงค์ บียอนด์ บุคส์ จำกัด.
โมโตฮิโร่ คาโต้. (24 กรกฎาคม 2552). C.M.B. พิพิธภัณฑ์พิศวง เล่มที่ 8 (การ์ตูน). กรุงเทพฯ: ห.ส.น.วิบูลย์กิจการพิมพ์.
วิกิพีเดีย. การทดลองของมิลแกรม. [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1
ประชาไท. (27 พฤศจิกายน 2560). การทดลองมิลแกรม Milgram Experiment. [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2017/11/74309
blackdogsworld. (28 ตุลาคม 2551). การทดลองเกี่ยวกับการเชื่อฟังของมิลแกรม (Milgram’s obedience experiment). [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://blackdogsworld.wordpress.com/2008/10/28/milgram-s-obedience-experiment/
Storythong. (29 สิงหาคม 2559). ความน่าเชื่อถือของคนหนึ่งคนสามารถสั่งให้คนบริสุทธิ์ฆ่ากันเองได้จริงหรือ?. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://storylog.co/story/57986e8d81a11cf91b735692
Cheka Aisya. (29 พฤษภาคม 2558). Stanley Milgram. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://hoboctn.com/2015/05/29/stanley-milgram/
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิคม ถนอมเสียง. จริยธรรมการวิจัย: ประวัติและหลักการพื้นฐาน. [PowerPoint]. สืบค้นจาก https://home.kku.ac.th/nikom/Ethics_516731u.pdf
โฆษณา