Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
WW Weapons
•
ติดตาม
27 ก.ย. 2019 เวลา 09:36 • ประวัติศาสตร์
สนามเพลาะ หัวใจของการรบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สนามเพลาะเป็นอย่างไร? ทำไมจึงทำให้ต่างฝ่ายต่างรบกันไม่ชนะสักที ผมจะอธิบายคร่าวๆให้เข้าใจง่ายขึ้น
หลังจากพ่ายแพ้การรบที่ Marne เยอรมันก็ไม่สามารถรุกคืบต่อไปได้ พลเอก Erich von Falkenhayn ตัดสินใจปกป้องพื้นที่อันมีค่าที่เยอรมันยึดได้เพื่อป้องกันการตีโต้กลับของฝ่ายสัมพันธมิตร
เขาสั่งให้ทหารขุดสนามเพลาะ เริ่มจากขุดง่ายๆก่อน ต่อมาก็มีความซับซ้อนมากขึ้นกลายเป็นที่มั่นถาวรของทหาร
หลังจากนั้นไม่กี่เดือนสนามเพลาะก็มีความยาวตลอดแนวรบของเยอรมันกับฝรั่งเศส เริ่มจากทะเลเหนือทอดยาวไปสุดยังสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อฝรั่งเศสเห็นดังนั้นจึงเริ่มขุดสนามเพลาะของตัวเองบ้าง
2
แต่การที่เยอรมันได้เลือกทำเลของสนามเพลาะที่อยู่สูงกว่าทำให้ได้เปรียบมากในการรบ ฝั่งฝรั่งเศสที่อยู่ต่ำกว่านั้น น้อยมากที่จะมีพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ถึงจะมีก็เพียงไม่กี่ฟุตเท่านั้น เมื่อขุดไปก็มักจะเจอน้ำผุดขึ้นมา สนามเพลาะฝรั่งเศสจึงเต็มไปด้วยโคลนตม
นายทหารอังกฤษเหยียบย่ำโคลนในสนามเพลาะฝรั่งเศส
ระบบการสร้างสนามเพลาะนั้นแบ่งออกเป็นสามชั้นหลักๆด้วยกัน
โครงสร้างคร่าวๆของสนามเพลาะ
ชั้นแรกเป็นชั้นแนวหน้า เป็นส่วนหลักที่ป้องกันข้าศึกจากการรุกราน พื้นที่ถัดจากสนามเพลาะไปยังแนวหน้าของข้าศึกเรียกว่าเขตปลอดทหาร โดยเขตปลอดทหารนี้จะมีทั้งลวดหนามและกับระเบิด หากข้าศึกวิ่งเข้ามาจะถูกระดมยิงใส่อย่างหนักหน่วงทั้งจากปืนใหญ่ ปืนกล และปืนเล็กยาว
ลวดหนามตั้งเพื่อชะลอการบุก
สำหรับตัวสนามเพลาะนั้นปกติจะขุดลึกประมาณเจ็ดฟุตกว้างหกฟุต ด้านหน้าเรียกว่า parapet มีแนวกระสอบทรายกั้นอยู่เพื่อป้องกันทหารจากกระสุนปืนข้าศึกหรือสะเก็ดระเบิดจากปืนใหญ่ ด้านหลังเรียกว่า parados มีแนวกระสอบทรายกั้นป้องกันสะเก็ดระเบิดเช่นกัน
ผนังแต่ละด้านของสนามเพลาะจะมีไม้กั้นเพื่อความแข็งแรง กันไม่ให้ดินด้านข้างถล่มลงมา
ที่ความลึกเจ็ดฟุตทหารจะมองไม่เห็นด้านบนเลย จึงต้องมีเนินสำหรับเหยียบขึ้นไปเพื่อยิง ตรงส่วนนี้ทหารจะขึ้นมาตั้งปืน รวมถึงวางกระสุนและระเบิดด้วย
ภาพตัดขวางสนามเพลาะ
หลังสนามเพลาะชั้นแรกจะมีป้อมคอนกรีตและรังปืนกลขนาดใหญ่เพื่อยิงสนับสนุน สาเหตุที่ไม่สร้างไว้หน้าสุดคือป้องกันการถูกยึดโดยง่าย ข้าศึกจะต้องฝ่าสนามเพลาะแนวเเรกก่อนจึงจะเข้าถึงป้อม
1
ชั้นที่สองเป็นสนามเพลาะสำหรับสนับสนุนชั้นแรก มีห้องปฐมพยาบาล ครัว คลังอาวุธและกองบัญชาการ หากสนามเพลาะชั้นแรกมีทหารไม่พอ ทหารจากส่วนนี้จะเข้าไปแทนที่โดยเร็ว
1
ครัวในสนามเพลาะ
ชั้นสามเป็นแนวสำหรับกำลังเสริม มีการเตรียมพร้อมหากสนามเพลาะชั้นก่อนหน้าต้องการทหารเพิ่ม รวมถึงรับยุทธปัจจัยต่างๆก่อนนำจ่ายไปยังสนามเพลาะชั้นที่สอง
หลังจากสนามเพลาะชั้นที่สามจะเป็นที่ตั้งของปืนใหญ่ ปืนเหล่านี้จะยิงไปยังเขตปลอดทหารที่ซึ่งข้าศึกกำลังบุกมา หรืออาจจะยิงไปยังสนามเพลาะแนวหน้าสุดหากจำเป็น
2
แนวปืนใหญ่ของอังกฤษ
ระหว่างสนามเพลาะก็จะขุดเส้นทางเชื่อมสำหรับลำเลียงพลระหว่างแนวสนามเพลาะด้วย ความลึกของสนามเพลาะจะช่วยปกปิดการเคลื่อนไหวได้ในระดับหนึ่ง รวมถึงป้องกันอันตรายจากกระสุนปืนด้านบนด้วย
การขุดสนามเพลาะจะขุดซิกแซกไปมา หากจุดใดจุดหนึ่งถูกข้าศึกเข้ามาได้ ข้าศึกจะมองไม่เห็นทหารทั้งแนว ต้องวิ่งไปตามเส้นทางเพื่อยึดสนามเพลาะทั้งแนว ซึ่งก็ต้องสู้รบกันตามมุมอีกมากมายกว่าจะบุกได้
ยิ่งสงครามยืดเยื้อมากเท่าใด สนามเพลาะก็ยิ่งทวีความซับซ้อนมากขึ้น มีการขุดเพิ่มหลายชั้นหลายแถว รวมถึงสร้างป้อมคอนกรีตเพิ่ม ช่วงปลายสงครามเยอรมันขุดสนามเพลาะจากแนวแรกถึงแนวสุดท้ายห่างกันถึง 22กิโลเมตร
ภาพถ่ายทางอากาศของสนามเพลาะ
ทหารจะอยู่ในสนามเพลาะแนวหน้าประมาณสัปดาห์หรือมากกว่านั้น ก่อนจะสับเปลี่ยนหมุนเวียนกำลังพล เนื่องจากแนวหน้ามีความกดดันมาก มนุษย์ธรรมดาสามารถทนอยู่ในที่แบบนั้นได้ไม่เกินสามสัปดาห์
1
จะเห็นได้ว่าสนามเพลาะเป็นที่มั่นที่เเข็งแกร่งมาก หากจะโจมตีต้องใช้กำลังพลมากกว่าหลายเท่าตัว ต่างฝ่ายจึงต่างไม่กล้าโจมตีกัน แต่การรบแบบสนามเพลาะสิ้นสุดลงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อเยอรมันนำรถถังมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อให้สนามเพลาะหนาแค่ไหนก็ไม่อาจหยุดยั้งการบุกอย่างรวดเร็วได้
ขอขอบคุณภาพจาก
http://canyouactually.com/wwi-trenches/
https://www.argunners.com/voices-of-first-world-war-life-in-the-trenches/
https://ww1revisited.com/2014/11/28/champagne-ww1-trenches-at-massiges/
https://hubpages.com/education/World-War-1-Trench-Living
https://gregswar.com/setting-scene-background-articles/siege-batteries-of-the-royal-garrison-artillery/
https://wwi-trenchwarfare.weebly.com/construction-and-design-of-trenches.html
https://www.dailymail.co.uk/news/article-2581167/Aerial-images-horrifying-scale-trenches-WWI.html
https://worldwariipodcast.net/2015/08/29/episode-137-all-good-deeds/
15 บันทึก
66
9
8
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
WW stories
15
66
9
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย