1. แน่วแน่ไว้ว่า สิ่งที่เราทำนั้น เราต้องการอะไร
เพราะการตั้งเป้าหมายเราต้องตัดสินใจอย่างแน่วแน่และจริงจังกับมัน บางคนอยากเป็นนักโปรแกรมเมอร์ บางคนอยากเป็นนักกีฬา บางคนอยากมีเงินทองเยอะ ๆ จากการทำธุรกิจ ให้คิดไว้ว่า สิ่งที่เราจะทำนั้นคือสิ่งที่เราต้องการจริง ๆ ไม่ใช่ทำเพราะเห็นคนอื่นทำเลยทำตาม พอทำไม่สำเร็จคุณก็ท้อ และหยุดทำ เพราะนั่นมันไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องการจากใจจริง เป็นเพียงแค่กระแสชั่วคราวเท่านั้น
2. กำหนดเป้าหมาย
เมื่อรู้ว่าสิ่งที่เราต้องการทำคืออะไรแล้ว ลำดับถัดมาก็คือ การกำหนดเป้าหมาย เพราะการที่จะประสบความสำเร็จได้ ส่วนหนึ่งก็มาจากการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน กำหนดไปเลยว่าจะสำเร็จตรงตามเป้าหมายในวัน เดือน หรือปีใด แต่ต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงที่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วย สุดท้ายแล้วถ้าตั้งเป้าหมายแต่ไม่ยอมลงมือทำ เป้าหมายที่ตั้งไว้ก็เป็นเพียงความฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีวันเกิดขึ้นจริง ดังนั้นจึงต้องลงมือทำอย่างจริงจังด้วย
3. วางแผน
การวางแผนอาจทำควบคู่ไปกับการกำหนดเป้าหมายเลยก็ได้ โดยอาจจะให้กำหนดออกมาว่า วันนี้เราต้องทำอะไร เดือนหน้าเราต้องทำอะไรต่อ ให้เขียนเป้าหมายไว้เป็นข้อย่อย อาจดูเหมือนเป็นเรื่องยิบย่อย แต่เป้าหมายย่อย ๆ เล็ก ๆ เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ส่งต่อให้ไปถึงเป้าหมายใหญ่ทั้งนั้น เหมือนกระจายงานทำทีละเล็กละน้อย พอรวมกันเข้าก็จะกลายเป็นเป้าหมายใหญ่ ทั้งนี้ทั้งนั้นการวางแผนจะต้องสอดคล้องกับการกำหนดเป้าหมายในการทำให้สำเร็จตามที่วางไว้ด้วย
4. ลงมือปฏิบัติ
เมื่อกำหนดเป้าหมายและวางแผนเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มลงมือปฏิบัติได้เลย จงมุ่งมั่น ตั้งใจ ทุ่มเททำให้เต็มที่ หมั่นทบทวนเป้าหมายของคุณอยู่สม่ำเสมอ อย่าไปกลัวกับอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น เพราะอุปสรรคเป็นบททดสอบที่เปรียบเหมือนบันไดให้เราก้าวข้ามไปสู่ความสำเร็จ หากคิดและแก้ไขปัญหาได้ ความสำเร็จอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมอย่างแน่นอน
5. สร้างความสำเร็จต่อเนื่อง
เมื่อเราได้เริ่มทำสิ่งต่าง ๆ จนสำเร็จตามเป้าหมายแล้ว ก็อย่าลืมรักษามาตรฐานนี้เอาไว้ให้คงที่ อย่ามัวแต่หลงอยู่กับความสำเร็จที่ได้มา เพราะไม่รู้ว่าความสำเร็จที่ได้มานั้นจะอยู่กับเราไปตลอดหรือไม่ ควรเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพื่อการพัฒนาตัวเองให้ประสบความสำเร็จในทุก ๆ ด้าน