Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
13055
•
ติดตาม
29 ก.ย. 2019 เวลา 03:57 • ธุรกิจ
คำรบที่ 4 ของ Netflix
ตอนนี้กระแส Video Streaming กำลังจะกลายเป็น red ocean ที่ดุเดือด
เพราะนอกจาก Netflix แล้ว
ยังมี Apple TV plus
ยังมี Disney plus
และยังมี Amazon prime อีกด้วย
ด้วยคู่แข่งที่จะเข้ามาจำนวนมากนี้เอง
ทำให้อนาคตของ Netflix เริ่มจะสั่นคลอน
เพราะที่เข้ามานี่คือระดับตัวบิ๊กๆทั้งนั้น
ราคาหุ้นของ Netflix(NFLX) เลยรูดลงมา 30% กว่าๆ
คือจาก 380$ ลงมาเหลือราวๆ 260$ เท่านั้น
ถ้าถามว่า Netflix จะรับมือกับคู่แข่งเหล่านี้อย่างไรบ้าง
ผมตอบเลยว่าไม่รู้ครับ
แต่สิ่งที่ผมจะมาเล่าให้ฟังคือ Netflix ผ่านอุปสรรคอะไรมาบ้าง
ซึ่งอาจจะพอเป็นไอเดียให้เห็นได้ว่า Netflix จะผ่านอุปสรรคครั้งนี้ไปได้อย่างไร
ผมเชื่อว่าบริษัท Netflix น่าจะเป็นบริษัทนึงในตลาดที่มีคนรู้จักมากที่สุดบริษัทนึง
แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า Netflix ไม่ใช่บริษัท start up หรือบริษัทที่เพิ่งก่อตั้งมาใหม่ๆ
แต่ Netflix คือบริษัทที่เข้าตลาดมานานแล้วตั้งแต่ปี 2002
นับถึงวันนี้ก็ 17 ปีแล้วครับที่ Netflix เข้ามาในตลาด
ในปี 1997
Netflix ถูกก่อตั้งโดยชายที่ชื่อว่า Reed Hastings
ซึ่งในตอนแรกธุรกิจของ Netflix คล้ายๆกับธุรกิจให้เช่า Video ปกติ
ต่างกันแค่เพียงส่งไปรษณีย์ไปให้ตามบ้านเท่านั้น
ซึ่งสามารถส่งได้ภายใน 1 วัน
แต่มันก็ยังไม่ค่อยทำให้ธรุกิจของ Netflix ดีสักเท่าไหร่
1
คำรบที่ 1 ธุรกิจที่แตกต่าง
ในปี 1999
สิ่งที่ Hastings ทำก็คือเปลี่ยนจากเช่าดูหนังทีละเรื่อง
มาเป็นระบบ subscription หรือระบบสมัครสมาชิกรายเดือนแทน
สำหรับในปี 2019 หรือ 20 ปีถัดมา
โมเดลธุรกิจแบบระบบสมัครสมาชิกสำหรับเราคงไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่
ในยุคที่เรามีทั้ง Spotify, Netflix(เวอร์ชั่น 2019)
แต่ถ้าเราลองถอยกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อน
เราจะรู้ว่ามันไม่ใช่โมเดลธุรกิจปกติแน่นอน
ถ้าใครพอมีอายุหน่อย
จะรู้เลยว่าไม่ต้องย้อนไปถึง 20 ปีก่อน
เอาแค่ 10 ปีก่อนเราก็แทบไม่เคยเจอระบบสมัครสมาชิกกันสักเท่าไหร่แล้ว
เราซื้อเพลงฟังเป็นเพลงๆไป
เราเช่าการ์ตูนอ่านเป็นเรื่องๆ
เราเช่า Bluray กลับไปดูด้วยซ้ำ
(ในขณะที่ Netflix เลือกที่จะใช้ระบบสมาชิกตั้งแต่เป็น DVD แล้ว)
ในตอนนั้นก็มีเครื่องหมายคำถามมากมายว่า
ให้จ่ายเงินสมัครสมาชิกเป็นรายเดือนแล้วดูกี่เรื่องก็ได้
มันจะคุ้มต้นทุนหรอวะ ???
ผลการลองเปลี่ยนธุรกิจครั้งนั้นของ Hastings ถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร
และอีก 3 ปีต่อมาคือในปี 2002
Netflix ก็ IPO เข้าตลาดหุ้นด้วยธุรกิจโมเดลแบบสมัครสมาชิกและ logistic(ส่งแผ่น DVD)
คำรบที่ 2 จาก physical เป็น digital
จากนั้นพอ internet และ infrastructure ต่างๆเริ่มดีขึ้นมาแล้ว
Hastings ก็เห็นว่าการดู Video Streaming น่าจะต้องมาทดแทนการดู DVD ในสักวัน
สิ่งที่ Netflix ทำก็คือ disrupt ตัวเองก่อนจะถูกคนอื่น disrupt
Netflix จึงค่อยๆปรับโมเดลธุรกิจจาก logistic มาเป็น Video Streaming
จาก physical มาเป็น digital
ซึ่งปีแรกที่ Netflix ให้บริการ streaming คือในปี 2007
หรือเมื่อ 12 ปีที่แล้วโน่น
ซึ่งถือว่า Netflix ทำเร็วมากแล้ว
แต่ก็ยังทำหลัง Amazon อยู่ประมาณ 1 ปี
ซึ่ง Amazon ก็ไม่ได้ถือว่าพลาดแต่อย่างใดที่ไม่ได้มาทำตลาด Video Streaming อย่างจริงจังตั้งแต่ตอนนั้น
เพราะ Amazon ก็ได้ส่วนของร้านหนังสือและระบบ Shopping Online มาแทน
เรียกว่าแบ่งกันสำเร็จเลยทีเดียวครับคู่นี้
ซึ่งการเปลี่ยนโมเดลธุรกิจตรงนี้ของ Netflix ถือว่าน่าสนใจมากนะครับ
ระหว่างบริษัทที่ทำ Video Streaming กับบริษัทที่ส่งแผ่น DVD
มันมีโครงสร้างภายในหรือระบบแตกต่างกันมาก
ถึงจะชื่อ Netflix เหมือนกัน
แต่มันเป็นเหมือนคนละบริษัทเลยก็ว่าได้
ถ้าเป็นบริษัทที่ส่งแผ่น DVD หรือ logistic
ก็ต้องมีการ stock ของ
มีการเช็ค inventory
มีแผนกขนส่งสินค้า
แต่พอมาเป็น Video Streaming
ก็ต้องเปลี่ยนมาเป็นระบบ server เก็บข้อมูลหนัง
ระบบ AI ว่าใครชอบดูหนังแบบไหนบ้าง
(ซึ่งระบบคัดกรองหนังของ Netflix ถือเป็นระบบคัดกรองในธุรกิจที่ดีที่สุดในโลกระบบนึงเลยครับ)
ดังนั้นจากคนคัดแยกเช็ค stock DVD
โกดังเก็บแผ่นหนัง
และคนขับรถไปส่งของ
กับคนดูแล server ให้เสถียร
คนพัฒนาระบบ AI
และคนเลือกเจรจากับค่ายหนัง
มันแทบจะเป็นพนักงานคนละคนกันเลยทีเดียว
ซึ่งผมคิดว่าคนพวกนี้ไม่น่าจะ reskill กันได้
แต่น่าจะต้องเลิกจ้าง low-skill labour หรือแรงงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะมาก
อย่างพนักงานขับรถ แยกของ หรือเช็คของ
มาเป็น skilled labour หรือแรงงานที่มีทักษะอย่างพวกวิศวกรเข้ามาแทน
ถ้าเราลองมองภาพนี้เราจะเห็นเลยว่านี่คือการเปลี่ยนถ่ายเลือดครั้งใหญ่กันเลยทีเดียว
เพราะแทบจะยกเครื่องบริษัทใหม่กันทั้งบริษัท
เราต้องไม่ลืมว่านี่คือบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์มาแล้ว
นี่คือธุรกิจหลักของ Netflix ที่ต้องเปลี่ยนไป
และนี่คือการเปลี่ยนถ่ายบริษัทจาก physical เป็น digital เมื่อ 12 ปีที่แล้ว
ดังนั้นนี่คือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มากๆของ Netflix
ที่ยอม disrupt ตัวเองก่อนที่จะโดนคนอื่น disrupt
(เช่น โดน moive2fr_e disrupt เป็นต้น)
คำรบที่ 3 จาก platform provider ถึง content provider
หลังจาก Netflix ประสบความสำเร็จใน Video Streaming แล้ว
แน่นอนว่าก็มีคนที่ไม่โอเคกับการประสบความสำเร็จของ Netflix
นั่นคือ Hollywood
ซึ่ง Hollywood ไม่ได้หมั่นไส้ Netflix แบบไม่มีเหตุผลขึ้นมาเฉยๆหรือเพราะดังเกินหน้าเกินตานะครับ
แต่ Hollywood กลัวว่าถ้า Netflix โตมากๆแล้ว
Netflix อาจจะแย่ง eyeballs หรือแย่งคนดูจาก Hollywood ไปก็ได้
ดังนั้นวิธีที่ Hollywood ทำก็คือพยายามขายหนังให้ Netflix ในราคาแพงๆหรือไม่ยอมขายหนังให้เลย
ซึ่งตรงนี้ Hollywood ไม่ได้เป็นคนร้าย
แต่ก็เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจทั่วๆไปที่ Hollywood ก็มีสิทธิ์ทำ
และถ้าเป็นผม
ผมก็คงทำแบบ Hollywood ครับ
1
Hastings เห็นแล้วว่าเป็นแบบนี้ต่อไปไม่โอเคแน่นอน
เพราะธุรกิจจะไม่มีความมั่นคงเลย
ในเมื่อ Hollywood ไม่อยากขายให้ Netflix ได้
content provider หรือผู้ผลิตหนังรายอื่นอย่าง Disney หรือ Marvel ก็อาจจะไม่อยากขายให้ Netflix ได้ด้วยเช่นกัน
สิ่งที่ Hasting ตัดสินใจทำต่อมาก็คือการทำหนังเองเสียเลย
ซึ่งบริษัทที่เป็น platform provider หรือเจ้าของช่องทางฉายหนัง
กับบริษัทที่เป็น content provider
ก็ต้องใช้ทักษะที่แตกต่างกันมากอีกเช่นกัน
เพราะ Netflix ต้องไปหานักแสดงของตัวเองมา
ต้องไปเขียนบทหนังมา
ต้องไปกำกับ ไปตัดต่อหนังมา
ซึ่ง Netflix ไม่เคยทำมาก่อนแน่นอน
แต่ในที่สุด Netflix ก็สามารถทำหนังของตัวเองหรือ original series ขึ้นมาได้สำเร็จ
และสามารถต่อสู้กับหนังของ Hollywood ได้อย่างสูสี
2
โดย original series เรื่องแรกของ Netflix คือ Lilyhammer ซึ่งฉายเมื่อต้นปี 2012
แต่อาจจะยังไม่ได้ดังและประสบความสำเร็จมากนัก
Netflix จึงเอากลับไปทำการบ้านมาใหม่ให้ดีกว่าเดิม
จนได้ House of Cards ออกมาในปี 2013
และตำนาน original series ของ Netflix ก็เริ่มตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา
ซึ่งเราคงเห็นกันแล้วว่า original series ของ Netflix มันประสบความสำเร็จมากแค่ไหน
สาเหตุที่ Netflix ประสบความสำเร็จในการทำ original series ได้นั้น
ไม่ใช่แค่จากความคิดสร้างสรรค์ในการทำหนังเท่านั้น
แต่มาจากการใช้ข้อมูลจาก big data จำนวนมหาศาล
ว่าคนดูชอบดูหนังแบบไหน คนดูไม่ชอบดูหนังแบบไหน
คนดูชอบบทแบบไหน คนดูชอบดูซีนไหน
สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะ Netflix เลือกที่จะพัฒนา AI เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลมาหลายปี
ตรงนี้ต้องชม Netflix ที่รู้จักเลือกใช้การ์ดบนมือตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นั่นก็คือการใช้ big data ในการทำ original series นั่นเอง
คำรบที่ 4 สงคราม Video Streaming
มาถึงวันนี้
การเข้ามาของรายใหญ่อย่าง Disney, Apple หรือ Amazon คือบททดสอบอีกครั้งของ Netflix
ถ้าถามผมว่า Netflix จะรอดจากคำรบที่ 4 นี้ไปได้หรือไม่
ผมตอบเลยว่าผมเองก็ไม่รู้เหมือนกันครับ
เพราะผมคิดว่าผมคงไม่เก่งไปกว่า
บริษัทที่กล้าใช้ระบบ subscription เมื่อ 20 ปีก่อน
บริษัทที่กล้าเปลี่ยนถ่ายองค์กรหลังจากเข้าตลาด
และบริษัทที่กล้าสู้กับ Hollywood จนชนะ
แต่ตอนนี้หลายๆคนก็มองว่า Netflix จะย่ำแย่
(ดูจากราคาหุ้นได้เลย)
เพราะรายใหญ่หลายๆรายเริ่มเข้ามาในธุรกิจ Video Streaming
หลายคนคิดแบบนั้นเพราะคิดว่าความได้เปรียบของ Netflix คือการเป็น Video Streaming เจ้าแรกหรือเป็น first mover ของธุรกิจ
พอมีเจ้าอื่นเข้ามา
ความได้เปรียบตรงนี้ก็จะลดลงไป
แต่ถ้าเราดูจากประวัติของ Netflix
เราจะเห็นว่านั่นไม่ใช่ข้อได้เปรียบทั้งหมดของ Netflix
1
แต่ข้อได้เปรียบที่สำคัญที่สุดของ Netflix คือ ชายที่ชื่อ Reed Hastings
ชายผู้ที่กล้าเปลี่ยนองค์กรครั้งแล้วครั้งเล่า
จนทำให้ Netflix เป็น first mover ของธุรกิจนี้ต่างหาก
จากเรื่องนี้เราจะเห็นเลยว่า vision ของผู้นำองค์กรสำคัญแค่ไหน
vision ของ Hastings ถือว่าเป็น vision อันยอดเยี่ยมของผู้นำองค์กร
ที่ไม่เพียงพาองค์กรรอดจากการถูก disrupt หรือการล่มสลายเท่านั้น
แต่ยังพาองค์กรมาอยู่ในจุดสูงสุดของธุรกิจอีกด้วย
ดังนั้นคำรบที่ 4 ของ Netflix ผลจะออกมาเป็นอย่างไร
ผมว่าน่าติดตามมากๆครับ
p.s. ผมไม่ได้บอกนะว่า Netflix จะรอดหรือชนะแน่ๆนะครับ
ผมแค่ชื่นชม vision ของ Hastings เฉยๆ
ดังนั้นอย่าไปกดหุ้นกันสุ่มสี่สุ่มห้าเน้อ
57 บันทึก
239
26
64
57
239
26
64
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย