29 ก.ย. 2019 เวลา 12:33 • ธุรกิจ
ถ้าเราทำธุรกิจส่วนตัว จัดตั้งบริษัท หรือทำในนามบุคคลธรรมดา "อันไหนดีกว่ากัน" 🤔🤔🤔
มาต่อเลยยย
3.จะต้องจดทะเบียนภาษีหรือมีค่าใช้จ่ายอะไรด้วยไหมและต้องทำอะไรบ้าง (Part2)
วันนี้เนื้อหา มาแน่นๆเนื้อๆจ้าา
หลังจากจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทแล้ว จะต้องจัดทำงบการเงิน ที่น้อง Eazie เคยอธิบายไว้แล้วใน เรื่องงบการเงินว่ามีอะไรบ้าง(สามารถไปดูย้อนหลังได้เลยนะคะ)​ ซึ่งหนึ่งในเรื่องการดำเนินธุรกิจ ก็มีเรื่องให้ผู้บริหารของบริษัท ต้องมาดูต่อในเรื่องภาษี ว่าบริษัทมีหน้าที่ในการนำส่งภาษีอะไรบ้าง
สมมติว่า คนที่มาถามน้อง Aizie เป็นเจ้าของบริษัท ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ด้วยนะคะ สรุปธุรกิจของเค้าอีกรอบก่อนนะคะ
    1.เป็นบริษัทขายน้ำหอมรถยนต์์
    2.จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT (อัตราภาษี 7%)
    3.มีรายได้เดือนละ 200,000 บาท
    4.มีค่าโฆษณาเดือนละ 10,000 บาท
    5.มีต้นทุนซื้อวัตุดิบมาทำน้ำหอมเดือนละ 100,000 บาท
    6.มีค่าจ้างพนักงานขาย(สมมติว่ารายได้พนักงานขายยังไม่ถึงเกณท์ต้องหักภาษี) เดือนละ 18,000 บาท
    7.ค่าใช้จ่ายและต้นทุนซื้อจากบริษัทที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
    8.รอบของงบการเงินคือ 12 เดือน ตั้งแต่ ม.ค -​ธ.ค
    9.อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 20%(จากยอดกำไรสุทธิทางภาษี)
    10.นอกนั้นไม่มีรายการอื่นๆอีก
สรุปเดือนนี้ บริษัทมีหน้าที่ดังนี้
    1.หัก ภาษี ณ ที่จ่าย ค่าโฆษณา ไว้ 2% จากยอด 10,000 บาทในวันที่จ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้ค่าโฆษณา สมมติวันที่จ่ายคือวันที่ 7 ดังนั้น ภาษี หัก ณ ที่จ่าย = 200 บาท ดังนั้นเจ้าหนี้จะได้เงินไปแค่ 9,800 บาท
2.ทำงบการเงิน ที่ยกตัวอย่างจะมีแค่ งบกำไร(ขาดทุน)​สุทธิ เพื่อให้เห็นภาพง่ายๆนะคะ แต่ของจริงอาจจะมีเยอะกว่านี้ ดังนั้น ในแต่ละเดือนบริษัทนี้จะมีกำไร =72,000 บาท(200,000-10,000-100,000-18,000)
3.ต้องนำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่าย 200 บาท ที่หักไว้ ให้กับสรรพากร ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป(กรณียอดแบบออนไลน์นับเพิ่มได้อีก 8 วัน)​
4.นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้กับกรมสรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป(กรณียอดแบบออนไลน์นับเพิ่มได้อีก 8 วัน)​ ยอดภาษีขาย = 14,000 บาท(200,000×7%) และยอดภาษีซื้อ = 7,700 บาท((100,000+10,000)×7%) ไม่เอาค่าจ้างพนักงานขายมาคิดเพราะพนักงานขายเป็นบุคคลธรรมดาไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนะคะ ดังนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ต้องส่งสรรพากร =6,300 บาท(14,000-7,700)
5.ทำแบบนี้ทุกๆเดือน จนครบ 12 เดือน
6.คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ครึ่งปี หรือที่เรียกว่า ภงด.51 นำส่งต่อกรมสรรพากร จากที่เราทำขั้นตอนที่ 2 คือทำงบการเงิน จะได้กำไรเดือนละ 72,000 บาทและเราคาดว่าทั้งปี จะมีกำไร 864,000 บาท(สมมติไม่มีหักหรือเพิ่มอะไรแล้วสำหรับกำไรที่ต้องเสียภาษี) ภาษีประมาณการทั้งปีที่จะต้องจ่าย 172,800 บาท(864,000×20%) ดังนั้น ครึ่งปีก็จะต้องจ่าย ภงด 51=86,400 บาท และต้องจ่ายเงินให้สรรพากร ภายใน 2 เดือน นับจากสิ้นเดือน 6 นั่นก็คือสิ้นเดือน 8 นั่นเอง
7.นำส่งงบการเงินประจำปีต่อกรมสรรพากรและกรมพัฒน์ธุรกิจการค้า ตามบทความเรื่องนี้ ที่แจ้งไว้ใน Part1 ค่ะ(ซึ่งขั้นตอนนี้ก็ต้องมีผู้สอบบัญชีมาตรวจสอบข้อมูลงบการเงิน และต้องมีการประชุมอนุมัติงบการเงินด้วยนะคะ ก่อนจะยื่นงบการเงิน)​
8.คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ประจำปี นำส่งต่อกรมสรรพากร พอครบ 12 เดือนแล้ว ต้องทำตามข้อ 7 และคิดภาษีเงินได้ประจำปี ตามตัวอย่างนี้ เราจะต้องเสียภาษีเงินได้ประจำปี =172,800 บาท แต่เราจ่ายครึ่งปีไปแล้ว 86,400 บาท ดังนั้น จ่ายเพิ่มอีก 86,400 บาท และต้องจ่ายเงินให้สรรพากร ภายสิ้นเดือน พ.ค นะคะ
ดังนั้น จะเห็นวงจรการทำข้อมูลต่างๆที่บริษัทจะต้องจัดทำแล้วใช่ไหมค่ะ แต่นี่แค่ยกตัวอย่างให้เข้าใจกันง่ายๆนะ ถ้าธุรกิจอื่นก็อาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง และนี่ก็เป็นอีก เรื่องที่นักธุรกิจทุกคนต้องรู้และทำความเข้าใจ รวมทั้งเอาไปประกอบเพื่อตัดสินใจต่อไป ก่อนที่จะจัดตั้งบริษัท เพราะถ้านักธุรกิจมีพื้นฐานในเรื่องที่เล่าๆมาจะได้ไม่โดนหลอก หรือเข้าใจอะไรผิดค่ะ
พอมาถึงตรงนี้ทุกคนอย่าพึ่งถอดใจว่ายุ่งยากเหลือเกิน เดี๋ยวจะมาเล่าต่ออีกว่าแล้วทำไม เค้ายังนิยมจัดตั้งบริษัทอยู่หล่ะทั้งๆที่ก็มีเรื่องให้ทำ ให้คิดมากมาย เดี๋ยวมาเจอกัน กับข้อดีของการจัดตั้งบริษัทในบทต่อไปนะจ๊ะ
โฆษณา