29 ก.ย. 2019 เวลา 18:37 • ไลฟ์สไตล์
วิธีรักษาโรคเก็บเงินไม่อยู่
ถ้าคุณคิดว่าตัวเองอยากจะเก็บเงิน ฟังเทคนิคเคล็ดลับมามากมายแต่ก็ทำไม่ได้ซะที บางที คุณอาจจะศึกษา “วิธีรักษาโรคเก็บเงินไม่อยู่” กันครับ
คุณรุ้มั้ย อะไรเป็นต้นเหตุที่ทำให้เงินไหลออกจากมือไม่หยุด นั่นก็คือสมอง เราเชื่อว่าการซื้อของจะทำให้มีความสุข สมองเลยสั่งให้ร่างกายจับจ่ายใช้สอยเงินไม่ยั้งเพื่อความสุขของตัวเอง ไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวก็หาเงินใหม่ได้ เงินเป็นทรัพยากรที่ไม่มีจำกัด ถ้ายังไม่ตาย ยังไงก็หาใหม่ได้เสมอ
6
ถ้าต้องการหยุดพฤติกรรมใช้จ่ายเกินตัว เราต้องรู้ให้ชัดเจนก่อนว่า เราเอาเงินซื้อความสุข และเราเอาอะไรซื้อเงิน คนที่ไขคำตอบนี้ได้ ก็จะสามารถรักษาโรคเก็บเงินไม่อยู่ได้…!!! สมการที่เราต้องไขก็คือ เราใช้เวลาซื้อเงินในราคาเท่าไหร่
ยกตัวอย่าง
เอส อยากจะได้โทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ราคา 14,000 บาท ในระหว่างที่เอสกำลังจะควักเงินซื้อ สมองของเขาก็รีบทำงานทันที
เอสทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟอาหาร เงินเดือนของเอสคือ 12,000 บาท เอสทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน เท่ากับเอสทำงานเดือนละ 24 วันโดยประมาณ ดังนั้น ค่าแรงของเอสต่อ 1 วัน คือ 500 บาท
4
ในแต่ละวัน เอสจะต้องจ่ายค่ารถตู้ ไป – กลับ 40 บาท กลางวันก็ต้องซื้อกับข้าวอีก 50 บาท เท่ากับเอสจะเหลือกำไรจริงๆ 410 บาทต่อ 1 วัน
เอสใช้เวลาเดินทางไป 1 ชั่วโมง กลับ 1 ชั่วโมง ทำงาน 9 โมงเช้า – 6 โมงเย็น หักพักกลางวัน 1 ชั่วโมงออก เท่ากับเอสทำงานวันละ 10 ชั่วโมง
เมื่อเอากำไรที่เอสได้ในแต่ละวัน 410 บาท มาหารชั่วโมงทำงานที่แท้จริงคือ 10 ชั่วโมง จะเท่ากับทุกๆ 1 ชั่วโมง เอสจะทำเงินได้ 41 บาท
หรืออีกความหมายหนึ่ง 1 ชั่วโมงของเอสมีมูลค่า 41 บาท
1
ถ้าเอสอยากจะซื้อมือถือเครื่องละ 12,000 บาท เอสไม่ได้เอาแบงค์พัน 12 ใบไปแลก แต่เอสต้องจ่ายเวลาในชีวิตมากถึง 12,000 หารด้วย 41 จะเท่ากับ 292 ชั่วโมง
ใช่ครับ สิ่งที่เอสอยากจะได้นั้น เอสต้องใช้เวลาในชีวิต 292 ชั่วโมงไปแลกมันมา…!!!
2
ถ้ามองที่ตัวเลข 12,000 เอสอาจจะไม่เสียดายเงิน เพื่อความสุข เอสซื้อได้ แต่พอเปลี่ยนจากเงินเป็นเวลาในชีวิต เอสเริ่มคิดใหม่ทันที
2
“นี่ฉันจะต้องใช้เวลาทำงานมากถึง 292 ชั่วโมง หรือต้องทำงานวันละ 10 ชั่วโมงอีก 29 วันเต็มๆเพื่อสิ่งที่ฉันอยากได้งั้นหรือ เอ ฉันจะดีมั้ยนะ…???” เห็นมั้ย เอสเริ่มรักษาโรคเก็บเงินไม่อยู่ได้แล้ว
1
อีกซักตัวอย่างไหมครับ
1
ปุ๋ยอยากจะได้กระเป๋าแฟชั่นแบรนด์เนมราคา 50,000 บาท เธอกำลังจะควักเงินแล้ว ทันใดนั้น ก็มีเสียงในหัวดังว่า
ปุ๋ยทำงานประจำเงินเดือน 30,000 บาท ทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ เวลาทำงานเท่ากันกันกับเอสเลย เท่ากับปุ๋ยมีรายได้ต่อวันอยู่ที่ 30,000 / 24 วัน เท่ากับ วันละ 1,250 บาท
ปุ๋ยจ่ายค่ารถวันละ 100 บาท ข้าวกลางวันรวมกันกับกาแฟอีก 100 บาท เท่ากับกำไรต่อวันต่อปุ๋ยอยู่ที่ 1,250 บาท ลบด้วย 200 บาท เท่ากับ 1,050 บาท
ปุ๋ยออกจากบ้าน 7 โมงเช้าและถึงบ้านตอน 2 ทุ่ม ปู่ยใช้เวลาเดินทางวันละ 4 ชั่วโมง เธอทำงาน 9 โมงเช้า – 6 โมงเย็น หักเวลาพักออก 1 ชั่วโมง เท่ากับปุ๋ยใช้เวลาทำงานวันละ 12 ชั่วโมง เมื่อหาเวลาทำเงินที่แท้จริง ปุ๋ยมีกำไรต่อชั่วโมงอยู่ที่ 1,050 บาท หารด้วย 12 ชั่วโมง เท่ากับ 87 บาท…!!!
นั่นหมายความว่า เวลาของปุ๋ย 1 ชั่วโมง มีมูลค่า 87 บาท และถ้าปู่ยต้องการซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมราคา 50,000 บาท นั่นหมายถึงปุ๋ยจะต้องเอาเวลาในชีวิตมากถึง 50,000 บาท หารด้วย 87 ชั่วโมง จะเท่ากับ 574 ชั่วโมง หรือปุ๋ยจะต้องทำงานวันละ 12 ชั่วโมงไปอีก 47 วันเต็มๆ เอา 47 วันในชีวิตไปแลกกระเป๋าเพียงใบเดียว
พอปุ๋ยรู้อย่างนี้ ปุ๋ยก็เริ่มคิดเยอะขึ้นทันที เห็นมั้ย ปุ๋ยกำลังรักษาโรคเก็บเงินไม่อยู่แล้ว
ใช่ครับ เราทุกคนเอาเงินไปซื้อความสุข แต่ก็ลืมไปว่าเราต้องเอาเวลาในชีวิตไปซื้อเงิน
1
เพื่อให้คุณหลุดพ้นจากสมการนี้ คุณต้องทำ 3 อย่างนั่นก็คือ
พัฒนาตัวเอง ทำงานให้เต็มที่เพื่อเพิ่มศักยภาพและเงินเดือน
หาอาชีพเสริมเพื่อให้เรามีรายได้หลายๆทาง มีหลากหลายอาชีพที่คุณไม่ต้องทำงานเองตลอดเวลาก็ยังมีรายได้ มันมีเยอะมากๆ
เรียนรู้เรื่องการลงทุน เพื่อศึกษาเรื่องให้เงินทำงาน (โดยส่วนตัวผมชอบกองทุนรวม)
ถ้าวันนี้ คุณยังติดนิสัยใช้เงินไม่ยั้งคิดจนไม่เหลือเงินเก็บ ลองเปลี่ยนจาก ฉันจะใช้เงินซื้อความสุข เป็น ฉันต้องใช้เวลาเท่าไหร่ซื้อเงิน เพื่อเอาเงินไปซื้อของที่ฉันอยากจะได้ คุณสามารถค้นหาคำตอบได้ด้วยสมการ
3
((เงินเดือน / วันทำงาน = รายได้ต่อวัน ) – ค่าเดินทางและอาหาร) หารด้วย (เวลาที่ใช้ในการนั่งรถไปกลับ + เวลาที่ใช้ทำงาน = ชั่วโมงที่ใช้ทำงานต่อวัน) = มูลค่าเงินต่อ 1 ชั่วโมง
1
ด้วยหลักคิดนี้ จะทำให้คุณสามารถชั่งใจก่อนใช้เงินซื้อของแน่นอนครับ ว่าแต่คุณมีวิธีรักษาโรคเก็บเงินไม่อยู่ยังไงบ้าง คอมเม้นท์มาเล่าให้ฟังกันบ้างนะครับ
1
โฆษณา