1 ต.ค. 2019 เวลา 03:15 • เกม
บทความตามใจฉัน “Goc: D-Pad”
ในการเล่นเกมนั้น สิ่งสำคัญสำหรับการเล่นคือ อุปกรณ์ควบคุม หรือในสมัยนี้คนไทยมักเรียกสั้น ๆ ว่า “จอย” และหากผู้อ่านมี “จอย” อยู่ใกล้ ๆ ให้ลองหยิบขึ้นมาดู จะเห็นปุ่มปุ่มหนึ่งเป็นรูปคล้ายเครื่องหมายบวก
ปุ่มนั้นคือ D-Pad ชื่อเต็มคือ directional pad
เราอาจจะเห็นมันบ่อย ๆ จนเป็นของปกติไปแล้ว แต่รู้รึไม่ว่าปุ่มนี้มีความสำคัญในระดับที่ปฏิวัติวงการเกมและวิธีการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้ามาจนถึงปัจจุบัน
บทความในคราวนี้ ผู้เขียนจะเล่าถึงความเป็นมาของ D-Pad ปุ่มที่ถูกใช้จนถูกลืมนี้กัน
ในการเล่นเกมนั้น D-Pad เป็นปุ่มที่มีไว้สำหรับควบคุมทิศทางที่ตัวละครในเกมจะเคลื่อนที่หรือหันไป
ในสมัยก่อน ปุ่มความคุมทิศทางของเครื่องเกมส่วนใหญ่จะใช้แกนอนาล๊อคขนาดใหญ่
แนวคิดของ D-Pad มาจากไหน ไม่มีใครทราบ
แต่ต้นคิดของ D-Pad ที่เก่าแก่ที่สุดนั้นพบได้ที่เครื่องเกมอาเขตกับเกมที่ชื่อว่า Blockade
ดูจากเกมเพลย์แล้ว มันก็คือเกมงูกินหางแบบเล่นสองคนนี่เอง
ที่เครื่องจะมีปุ่มควบคุมทั้งหมด 4 ปุ่ม แบ่งออกเป็นสองชุดสีสำหรับ 2 ผู้เล่น
ด้วยปุ่มทั้ง 4 นี้ ผู้เล่นสามารถบังคับทิศทางของ Block ที่จะไปได้ 4 ทิศทาง บน, ล่าง, ซ้าย และ ขวา
สามารถดูเกมเพลย์ของ Blockade ได้ที่ Link ข้างล่าง
ปุ่มควบคุมทิศทางที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ D-Pad ที่เรารู้จักมากที่สุด ถูกพบครั้งแรกเมื่อปี 1981
ในเครื่องเกมมือถือแบบเปลี่ยนเกมได้เครื่องแรกของโลกที่ชื่อว่า Microvision ออกวางจำหน่ายครั้งแรกปี 1979
โดยเครื่องนี้มีจุดเด่นคือเวลาเปลี่ยนเกมจะทำการเปลี่ยนทั้งหน้ากากของตัวเครื่องไปด้วย ทำให้ Controller ในแต่ละเกมไม่เหมือนกันเพราะถูกเปลี่ยนไปด้วยพร้อมกับเกม
ปุ่มควบคุมทิศทางที่คล้ายกับ D-Pad นั้นมากับเกมที่ชื่อว่า Cosmic Hunter ที่ออกวางจำหน่ายในปี 1981
D-Pad แบบที่เรา ๆ รู้จักกันนั้นเกิดขึ้นมาเมื่อปี 1982
ในตอนนั้น Nintendo กำลังผลิตและขาย Game Watch หรือในไทยมักเรียกเครื่องเกมแบบพกพาแบบนี้ว่า “เกมกด” อยู่
Nintendo มีแผนที่จะแปลงเกม Donkey Kong ที่เป็นเกมอาเขตสุดฮิตของตนเองลง Game Watch
แต่ติดปัญหาอยู่อย่างหนึ่ง Donkey Kong เป็นเกมที่ต้องควบคุมตัวละครให้เคลื่อนที่ได้ถึง 4 ทิศทาง บน, ล่าง, ซ้าย และ ขวา
ซึ่งต่างจาก Game Watch เกมอื่น ๆ ที่ใช้การเคลื่อนที่เพียง 2 ทิศทาง แค่ซ้ายและขวา
แน่นอนว่าปัญหานี้แก้ได้ง่าย ๆ โดยการใส่ปุ่มบังคับทิศทางลงไป 4 ปุ่มแบบที่ Blockade ทำก็จบแล้ว
อย่างเช่นในรูป เกม Super Mario ฉบับ Game Watch ก็ใช้เทคนิคใส่ปุ่ม 4 ปุ่มเหมือนกัน
แต่ Gunpei Yokoi (กุนเป โยคอย) วิศวกรผู้รับหน้าที่ออกแบบ Donkey Kong ฉบับ Game Watch นั้นรู้สึกว่ามันไม่ใช่
เนื่องจากเกมนี้มีหน้าจอถึง 2 หน้าจอ ทำให้ผู้เล่นจะต้องมีสมาธิที่หน้าจอมากขึ้น การละสายตาจากจอกลับมาดูปุ่มกดเพียงแว๊บเดียวอาจทำให้ Game Over ได้และนั้นทำให้ User Experience ต่อเครื่องเกมนี้ไม่ดีไปด้วย
กุนเปจึงต้องการที่จะให้ปุ่มควบคุมทิศทางนั้นรวมกันเป็นปุ่มเดียวและใช้งานได้ง่ายชนิดที่ผู้เล่นไม่จำเป็นต้องละสายตาจากจอกลับมาดูปุ่มในมือ
ตอนแรกเค้าทดลองสร้างแกนอนาล๊อคขนาดเล็กขึ้นมาทดลองใช้ดู
มัน Work ใช่ แต่ปัญหาคือ Donkey Kong Game Watch เป็นเครื่องเกมที่ออกแบบให้พับเก็บได้
แกนอนาล๊อคที่ทดลองใช้นั้นแม้จะเล็กแต่ก็ยังใหญ่เกินไปจนพับเก็บไม่ได้ การออกแบบนี้จึงต้องเก็บเข้าลิ้นชักไปก่อน
ถ้ากุนเปยังอยู่จนถึงปัจจุบัน เจ้าตัวอาจจะหัวเราะท้องแข็งเลยก็ได้ที่เดี๋ยวนี้แกนอนาล๊อคขนาดเล็กถูกใช้กันทั่วบ้านทั่วเมือง
(กุนเปเสียชีวิตเมื่อเดือนตุลาคม ปี1997 จากอุบัติเหตุรถยนต์)
จากข้อจำกัดในการพับเก็บได้ กุนเปมีตัวเลือกเดียวคือ ต้องเป็นปุ่ม
และไม่รู้ว่าอะไรดลใจแก กุนเปเลยออกแบบปุ่มบังคับทิศทางใหม่โดยให้ทั้งสี่ปุ่มรวมกันกลายเป็นปุ่มเดียวเป็นรูปเครื่องหมายบวก ซึ่งถูกเรียกสั้น ๆ ว่า "cross design” หรือ "cross button”
ด้วยปุ่มแบบนี้ทำให้ผู้เล่นบังคับทิศทาง บน ล่าง ซ้าย ขวา ได้ด้วยปุ่มปุ่มเดียวและสามารถรู้ได้ว่าจะต้องกดที่ใดเพื่อไปทิศทางไหนได้โดยไม่ต้องละสายตาจากจอเลยเพราะใช้แค่สัมผัสจากนิ้วก็รู้แล้ว
ในประวัติศาสตร์ของ D-Pad เกมแรกที่ได้ใช้ปุ่มบังคับทิศทางแบบใหม่นี้จึงเป็น Donkey Kong Game Watch
แต่ในตอนนั้นก็ไม่มีใครสนใจปุ่มนี้เท่าไหร่ แม้แต่ Nintendo เอง
มันถูกละเลยขนาดที่ว่าการออกแบบของ "cross" design นี้เกือบที่จะไม่ถูกจดสิทธิบัตรโดย Nintendo ด้วยซ้ำ
“cross design” ถูกพูดถึงอีกครั้งในตอนที่ Nintendo กำลังออกแบบเครื่อง Famicom ของตนเองอยู่
ในตอนนั้นทีมวิศวกรกำลังถกกันว่าปุ่มบังคับทิศทางจะใช้แบบไหนดี
แล้วก็มีวิศวกรคนหนึ่งเสนอขึ้นมาว่า “ทำไมไม่ใช้ cross button ล่ะ”
ในตอนแรกทุกคนงงว่ามันคืออะไร ต่อมาคือสงสัยว่ามันจะใช้ได้จริงรึ
แต่จากการสร้างต้นแบบขึ้นมาทดสอบใช้งาน ทุกคนเห็นตรงกันว่า มัน Work
ด้วยเหตุนี้ D-pad แบบ cross button จึงถูกเลือกใช้ในจอยของ Famicom และได้รับความนิยมอย่างมาก
“cross design” จึงได้ถูกยื่นจดสิทธิบัตรในชื่อ Multi-directional switch เมื่อเดือนสิงหาคม 1983 เพียง 1 เดือนหลังจากวางจำหน่าย Famicom ครั้งแรกในญี่ปุ่นแต่ถ้านับจากที่ใช้ครั้งแรกใน Donkey Kong Game Watch ก็หนึ่งปีกว่า ๆ
ประสิทธิ์ภาพและความสะดวกของ D-pad แบบ cross button นั้นได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง
ทำให้บริษัทผลิตเครื่องเกมคู่แข่งก็ทยอยสร้าง cross button ของตัวเองเลียนแบบของ Nintendo บ้าง
และเพื่อไม่ให้ถูกฟ้องเรื่องละเมิดสิทธิ์บัตร แต่ละบริษัทจึงใช้การออกแบบ, เทคนิคและวิธีการที่แตกต่างออกไปจาก Nintendo ในการสร้าง cross button ของตัวเอง
ในรูปคือ Design การออกแบบของ Nintendo D-pad จะเห็นว่าใต้ปุ่มกาบาทจะมีอะไรกลม ๆ อยู่ นั้นคือจุดหมุนที่ช่วยให้หนุนตรงกลางปุ่มกาบาทให้สูงขึ้น สร้างช่องว่างและจุดไม่สมดุลให้สามารถกดปุ่มทิศทางต่าง ๆ ได้
ทีนี้มาดู Design การออกแบบ D-pad ของบริษัทผลิตเครื่องเกมคู่แข่งอย่างเช่น Sega กัน
จากรูปจะเห็นว่า D-pad ของ Sega นั้นขึ้นรูปเป็นวงกลมแล้วมีตัวกาบาทอยู่ตรงกลาง
คาดว่าการ Design แบบนี้ก็เพื่ออำนวยความสะดวกเวลาผู้เล่นเวลากดปุ่มสองทิศทางพร้อม ๆ กัน เช่น กดนั่งการ์ด, คลานไปข้างหน้า หรือ กระโดดไปข้างหลัง เป็นต้น
ส่วนกลไกสำคัญข้างใต้ปุ่มกาบาทโดยเฉพาะจุดหนุนปุ่มนั้น Sega เล่นมุกง่ายแต่ได้ผลโดยการเอาจุดหนุนที่เดิมจะติดอยู่กับปุ่มนั้นมาแปลงเป็นลูกบอลเล็ก ๆ วางอยู่ที่แป้นกดข้างล่างเพื่อหนุนตัวปุ่มแทน
ทั้งหมดนี้สร้างความแตกต่างจาก D-pad ของ Nintendo ได้มากพอที่จะไม่โดนข้อหาละเมิดสิทธิ์บัตร Sega จึงมี D-pad ของตัวเองในที่สุด
นี่เป็นตัวอย่างที่ดีที่ว่า ในงานสร้างสรรค์ต่าง ๆ การจดสิทธิ์บัตรนั้นมักปกป้องได้เพียงการออกแบบและวิธีการทำงานภายในเท่านั้นแต่ไม่สามารถปกป้องไอเดียไม่ให้ถูกเลียนแบบได้
จากนั้นแต่ละบริษัทที่ผลิตเครื่องเกมหรือจอยเกมก็ทยอยพัฒนา D-pad เวอร์ชั่นของตัวเองออกมา
ในรูปคือ ซ้ายบนคือ Design ของ D-pad อีกแบบหนึ่งของ Sega และขวาบนคือ D-pad ของ Logitech
นี่ทำให้ D-pad กลายเป็นปุ่มที่มีใช้กันแทบทุกเครื่องเกม
ส่วนบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าก็ประยุกต์เอา D-Pad มาใช้เป็นปุ่มควบคุมผลิตภัณฑ์ของตนเอง
ตัวอย่างเช่น ซ้ายล่างคือรีโมทคอนโทรล Apple TV ที่ใช้ D-pad เป็นปุ่มควบคุมหรือภาพขวาล่างคือโทรศัพท์มือถือของ LG ที่มี D-pad ในการเลือกตัวเลือกต่าง ๆ
Nintendo เองนั้นได้นำ cross button มาใช้เป็นปุ่มควบคุมในเครื่องเกมของตนเองมาตลอดแม้เทรนจะเปลี่ยนไปเป็น
แกนอนาล๊อคหรือ Movement Sensor แล้วก็ตามก็ยังใส่มาให้จนถึงปัจจุบัน ยกเว้นเครื่องเกมรุ่นล่าสุดขณะที่เขียนบทความนี้คือ Nintendo Switch ที่กลับไปใช้ปุ่ม 4 ปุ่มเหมือนสมัยก่อน จะใส่มาเฉพาะจอยแบบโปรที่ขายแยกต่างหาก
ส่วนสิทธิบัตรของ Nintendo D-Pad นั้นได้หมดอายุลงแล้วเมื่อปี 2004 และสถานะปัจจุบันคือ abandoned(ถูกทิ้ง) ทำให้ใคร ๆ ก็สามารถเข้าไปดูข้อมูลการออกแบบและสร้างเลียนแบบได้
ผู้ที่สนใจเข้าไปดูและโหลดข้อมูลการออกแบบได้ที่
ทว่าแต่ละบริษัทก็มีเทคโนโลยี D-Pad ของตนเองแล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่จะเลียนแบบ Nintendo D-Pad มาใช้อีกต่อไป
แต่กระนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า Nintendo D-Pad มีส่วนในการเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานของวิธีควบคุมการทำงานของทั้ง Hardware และ Software เกือบทั้งหมดในปัจจุบัน
โดยขณะที่เขียนบทความนี้ มีสิทธิบัตรอื่น ๆ ถึง 129 สิทธิบัตรของบุคคลและบริษัทใหญ่น้อยต่าง ๆ ที่อ้างอิงถึงการออกแบบของ Nintendo D-Pad นี้
อ้างอิงถึง ปุ่มพลาสติกชิ้นเล็ก ๆ นี้
REF
Who Invented the D-Pad? | Gaming Historian
Google Patents: Multi-directional switch
โฆษณา