2 ต.ค. 2019 เวลา 12:54 • ธุรกิจ
เศรษฐศาสตร์แห่งการ....กินเจ!! 🥗🥬🥒🥦🥕🌽
Social benefits of Thai-Chinease Vegan Festival 2019
เทศกาลกินเจ เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นในทุกๆปี ในวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ ตามปฎิทินจีน รวมระยะเวลาประมาณ 9 วัน บ้างก็เรียกเทศการนี้ว่า ประเพณีถือศีลกินผัก โดยมีจุดเริ่มต้นโดยชาวเปอรานากัน หรือ กลุ่มลูกครึ่งมลายู-จีน ในประเทศมาเลเซีย และตอนใต้ของประเทศไทย ซึ่งบ้างก็ว่ากำเนิดจากตำนานเล่าขานหลายตำนาน และเป็นประเพณีที่แพร่หลายในประเทศ สิงคโปร์ 🇸🇬 มาเลเซีย 🇲🇾 อินโดนีเซีย 🇮🇩และไทย 🇹🇭
ซึ่งในปีนี้ ได้จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน จนถึงเย็น วันที่ 7 ตุลาคม จากการสำรวจในสอบคนที่อาศัยในกรุงเทพฯ ของ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีนี้นั้นมีเม็ดเงินไหลเข้ามา เทศกาลกินเจ สูงที่สุดในรอบ 12 ปีเลยทีเดียว หรืออาจจะมากถึง 46,539 ล้านบาทในช่วงเวลา 9 วันของเทศกาล เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.3%
อัตราการเข้าร่วมของเทศกาลในปีนี้ อยู่ที่ 37.4% เพิ่มขึ้นจากปี 61 ที่มีอัตราการเข้าร่วมแค่ 33.8% และที่น่าสนใจกว่านั้นคือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ หันมากินเจมากขึ้นจากปีก่อน ถึง 66.7% แสดงถึง เทรนรักสุขภาพ (health concious) ในปัจจุบัน และหากมองที่ บริษัทเอกชน หรือ ภาคธุรกิจมีการปรับตัว และมุ่งเน้นออกสินค้าเพื่อสุขภาพ มาให้กลุ่มคนรักสุขภาพได้ใช้ส่อยการมากขึ้น
ในปี 2558 ประเทศไทยมีมูลค่าตลาดอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ มากถึง 1.7 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มที่กำลังโตเรื่อยๆ เทศกาลอาหารเจ นั้นจึงเป็น เสหมือน ช่วงเวลานาทีทอง ของบริษัทต่างๆ ที่จะเพิ่มยอดขายจากสินค้าและกลุ่มคนรักสุขภาพ ช่วงนี้ได้ เพราะ อย่าลืมว่า เทศการกินเจ ประกอบไปด้วย คนที่กินถาวร ( Permanent Consumer ) และ คนที่กินเฉพาะช่วงเทศกาล ( Temporary Consumer ) จึงอาจะเรียก เทศกาลการกินเจนี้เป็น Cyclical festival ที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในระยะสั้น แต่อาจจะต้องดูว่า เม็ดเงิน 46,000 ล้านบาทนั้น ได้ไหลไปที่ไหน ธุรกิจเอกชน หรือ พ่อค้าแม่ค้า ?? แล้วเศรษฐกิจดีขึ้นจริงหรือไม่ ?? เงินของเราที่ได้ทำบุญจากการถือศีลกินอาหารเจ นั้นได้ช่วยคนจน หรือ คนรวย ??
โฆษณา