3 ต.ค. 2019 เวลา 03:51 • การศึกษา
"#เหตุผลว่าทำไมเราไม่ควรลดลมยางตอนฝนตก"
.
.
เพื่อนๆหลายท่านอาจจะเคยได้ยินหรือมีคนแนะนำว่า
"ให้ลดลมยางตอนขับรถหน้าฝน หรือฝนตก"
เหตุผลคือ
คิดว่าจะทำให้ยางหน้าสัมผัสมากขึ้น หรือเกาะถนนขึ้น
#ก่อนจะมาว่ากันว่าควรหรือไม่
เรามาดูการทดสอบนี้กันก่อน
.
.
.
#ในภาพเป็นการทดสอบของผู้ผลิตยาง
โดยทำการสร้างแอ่งน้ำ ใช้พื้นเป็นกระจกแล้วใช้กล้องความเร็วสูงถ่ายจากด้านล่าง น้ำได้มีการย้อมสีไว้เพื่อให้ง่ายต่อการสังเกตุ
.
.
#ในรูปแรก
ทำการเติมลมยางที่ 35 PSI (ตามสเปครถ/ยาง)
แล้วให้รถจอดนิ่งๆบนพื้นกระจก
สังเกตุว่า หน้าสัมผัสของยางกับพื้นผิวเห็นรอยชัด เห็นร่องยางชัดเจน แปลว่าหน้ายางสัมผัสกับพื้นได้เต็มที่ ส่งผ่านน้ำหนักลงพื้นเพื่อสร้างแรงยึดเกาะได้เต็มที่
.
#ในรูปสอง
ลมยางที่ 35 PSI เช่นเดิม
แต่คราวนี้วิ่งผ่านแอ่งน้ำนี้ที่ความเร็ว 96 กม./ชม.
สังเกตุว่า ความชัดของรอยยางจะลดลง
เนื่องจากความเร็วในการวิ่งผ่าน ส่งผลให้น้ำต้องถูกรีดออกจากกลางไปด้านข้างตามการออกแบบลายร่องยาง
ซึ่งไม่สามารถทำได้ 100% จากความเร็วที่มี ส่งผลให้แรงยึดเกาะอาจลดลงไปบ้าง แต่สังเกตุได้ว่าหน้าสัมผัสเข้มพอกัน
ทั้งในส่วนกลางและใกล้ๆขอบยาง ทำงานได้ดีตามที่ได้ออกแบบมา
.
#ในรูปสาม
คราวนี้ลดลมยางมาเหลือที่ 30 PSI
วิ่งที่ความเร็ว 96 กม./ชม. เช่นเดิม
เห็นได้ชัดว่าหน้าสัมผัสยางกับพื้นลดลง โดยเฉพาะช่วงกลางหน้ายาง เพราะลมที่ต่ำกว่าสเปคส่งผลให้ ยางส่วนกลางพองลมไม่พอที่จะกระจายน้ำหนักให้เท่ากันทั่วหน้ายาง
น้ำหนักจึงไปตกลงช่วงขอบยาง ซึ่งมีความแข็งกว่า
เกิดอาการน้ำไม่สามารถไหลออกจากกลาง สู่ด้านข้างตามที่ร่องยางออกแบบไว้ได้ ส่งผลเสียทันทีต่อแรงยึดเกาะยางกับพื้นถนน
.
#ในรูปสุดท้าย
ลดลมยางเหลือ 25 PSI
วิ่งที่ความเร็ว 96 กม./ชม.เช่นเดิม
จะเห็นเลยว่าหน้าสัมผัสของยาง กับพื้นถนน แทบไม่เหลือเลย เหลือเพียงช่วงขอบๆยางที่มีความแข็งกว่า ที่ยังพอส่งน้ำหนักลงสู่พื้นได้บ้าง ซึ่งผลจากรูปนี้มักทำให้รถเกิดอาการ
"เหินน้ำ" ได้ง่ายมาก เพราะลมยางไม่เพียงพอที่จะทำให้ยางสามารถพองตัว จนได้รูปทรงที่เหมาะสมและรับน้ำหนักได้
ร่องยางรีดน้ำที่ออกแบบมาจึงไม่สามารถทำงานได้นั่นเอง
.
.
.
#จะเห็นได้ว่า ลมยางไม่เพียงแค่ทำหน้าที่รับน้ำหนัก
แต่ยังช่วยคงรูปยาง และร่องรีดน้ำของยาง ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
#การไปลดลมยางต่ำกว่าสเปคโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ส่งผลเสียให้ยางที่ออกแบบมาอย่างดี ทำงานไม่ได้ตามที่ออกแบบมา
#ถ้าในกรณีถนนแห้ง อาจทำให้ยางสึกหรอสูงด้านข้าง รถอืด
บังคับเลี้ยวยาก ทรงตัวไม่ดี และร้อนจัดเพราะการเสียดสีในโครงสร้างที่สูงเกินไป จนเกิดระเบิดได้
#ยิ่งในทางเปียกหรือแอ่งน้ำ ยิ่งอันตรายสูงขึ้นตามผลการทดลองที่นำมาให้ชมกันครับ
** #การลดลมยางในทางดิน โคลน เพื่อเพิ่มหน้าสัมผัส #เป็นคนละกรณี ไม่สามารถให้ผลเดียวกันกับเงื่อนไขการใช้บนถนนบนถนนได้ จึงควรทำความเข้าใจถึงสาเหตุและผลที่ตามมาจากการทำเช่นนั่นด้วยครับ
เติมลมยางตามสเปค ไม่ลดลมยางตอนฝนตก และตรวจเช็คลมยางและสภาพยางให้สมบูรณ์อยู่เสมอ
** #สำคัญสุดคือลดความเร็วลง
ช่วยให้ท่านปลอดภัยตอนขับรถในหน้าฝนได้ครับ
- Mr.Balance -
Cr.pic.michelin tire
โฆษณา