3 ต.ค. 2019 เวลา 08:14 • การศึกษา
พุทธวจน (ธรรมะจากพระโอษฐ์)
"สิ้นตัณหา ก็ สิ้นกรรม”
4
ภิกษุทั้งหลาย ! มรรคาใด ปฏิปทาใด ย่อม
เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา เธอทั้งหลายจงเจริญมรรคานั้นปฏิปทานั้น.
1
มรรคาและปฏิปทา ที่เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหาเป็นอย่างไรเล่า ? คือ โพชฌงค์ ๗
โพชฌงค์ ๗ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ สติสัมโพชฌงค์
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์.
...
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พระอุทายีได้ทูลถามว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา”.
อุทายี ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ
สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (ความสละ, ความปล่อย)
อันไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีความพยาบาท
1
เมื่อภิกษุนั้นเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ อันไพบูลย์ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีความพยาบาท ย่อมละ
ตัณหาได้ ...ฯลฯ...
ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะอันไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีความพยาบาท
เมื่อภิกษุนั้นเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะอันไพบูลย์ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีความพยาบาท
ย่อมละตัณหาได้
เพราะละตัณหาได้ จึงละกรรมได้
เพราะละกรรมได้ จึงละทุกข์ได้.
อุทายี !
เพราะสิ้นตัณหา จึงสิ้นกรรม
เพราะสิ้นกรรม จึงสิ้นทุกข์
ด้วยประการดังนี้ แล.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๒๓/๔๔๙.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา