ฮ่องกง - ห้องทดลองทฤษฎี Free Market ของ Adam Smith
ในปี 1980 Milton Friedman นักเศรษฐศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบลได้เดินทางไปยังฮ่องกงเพื่อยกตัวอย่างห้องทดลองทฤษฎี Free Market ของ Adam Smith บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ชาวสก็อต
2
Milton Friedman โนเบลทางด้านเศรษฐศาสตร์ 1976
Adam Smith เกิดในเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งในสก็อตแลนด์เมื่อ 300 ปีก่อน (ปลายสมัยอยุธยา) บ้านของเขาอยู่ใกล้กับตลาดซึ่งเป็นที่ที่เขาได้สังเกตุกิจกรรมการซื้อขายในตลาดของพ่อค้าและแม่ค้าและสังเกตุเห็น “มือที่มองไม่เห็น” ซึ่งเป็นกลไกในการควบคุมราคาผ่านการแลกเปลี่ยนความเห็นและข้อมูลของบุคคลในตลาดซึ่งนำไปสู่ความเชื่อมั่นในการค้าขาย และในภายหลัง Adam Smith ได้แต่งหนังสือซึ่งถือเป็นไบเบิลของเศรษฐศาสตร์ทุนนิยมขึ้นมาสองเล่มคือ “Morality and Markets” และ “Wealth of Nations” ซึ่งเชื่อในหลักการของ Free Market ที่รัฐบาลไม่ควรเข้ามาแทรกแซงกิจกรรมในตลาดเลย ปล่อยให้มือที่มองไม่เห็นทำงานของมันเองผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นในตลาด รัฐบาลมีหน้าที่เพียงปล่อยให้มี Freedom of speech เท่านั้น
1
Adam Smith บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ยุคใหม่
ทฤษฎี Free Market ตรงข้ามกับสิ่งที่ Adam Smith เรียกว่า “the Man of System” ที่เชื่อว่าตนเองมีความรู้ความสามารถและรู้ดีกว่าคนอื่นเข้ามาจัดการกับระบบจะทำให้เกิดความเป็นระเบียบและเกิดการผลิตการแลกเปลี่ยนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในตลาด (คนดังกล่าวก็คือรัฐบาลนั่นเอง)
1
บ้านของ Adam Smith ในสก็อตแลนด์
ในปี 1950-1960 ขณะที่เกาะฮ่องกงยังเป็นเพียงโขดหินโสโครกที่มีหมู่บ้านชาวประมงที่ยากจนและท่าเรือเล็กๆ ไม่กี่ท่า ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรเลย มีข้าหลวงอังกฤษคนหนึ่งชื่อ Sir John James Cowperthwaite ได้เข้ามารับตำแหน่ง Financial Secretary ของฮ่องกงในช่วง 1960-1970 ซึ่งเป็นจุดพลิกผันของเกาะฮ่องกงและเปลี่ยนฮ่องกงไปตลอดกาล
Sir John James Cowperthwaite ผู้นำ Free Market มาวางรากฐานให้แก่ฮ่องกง
ฮ่องกงในปี 1950
James Cowperthwaite เป็นชาวสก็อตบ้านเดียวกับ Adam Smith และเขามีความเชื่อในทฤษฎี Free Market อย่างแรงกล้า เมื่อมาถึงฮ่องกง เขาจึงได้นำ Free Market มาทดลองใช้กับของจริง โดยเขาได้วางหลักการที่เป็นเสาหลัก (Institutions) ของ Free Market ได้แก่ Rule of Law, Equality Under Law, Freedom of Speech, Private Property, Intellectual Property และการปลอดคอร์รัปชั่น ฯลฯ โดยรัฐบาลจะเข้าไปแทรกแซงกิจกรรมในตลาดน้อยที่สุด
ตลอด 10 ปีที่ James Cowperthwaite รับราชการอยู่ที่ฮ่องกง เขาบริหารระบบเศรษฐกิจฮ่องกงด้วยการ “ไม่ทำอะไรเลย” ปล่อยให้เอกชนดำเนินกิจกรรมในตลาดกันเองโดยรัฐบาลเก็บภาษีให้ต่ำที่สุด (ในช่วงนั้นไม่ถึง 15%) เนื่องจาก Adam Smith เชื่อว่าเมื่อมีภาระภาษีในอัตราที่ต่ำ จะทำให้เกิดการค้าขายการลงทุนเพิ่มขึ้น และสร้างรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น ซึ่งจะนำมาซึ่งรายได้ในรูปภาษีที่มากขึ้นจากการเติบโตที่มากขึ้น การปล่อยให้เอกชนตัดสินใจกันเองใน Free Market แม้จะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่ผลรวมของความผิดพลาดทั้งหมดยังสร้างความเสียหายให้แก่ทั้งระบบได้น้อยกว่าความผิดพลาดในการตัดสินใจของรัฐบาลที่ควบคุมทุกอย่างจากส่วนกลาง
และผลลัพธ์ของการทดลองทฤษฎี Free Market ของ James Cowperthwaite ก็คือมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจที่เราเห็นบนเกาะฮ่องกงนั่นเอง GDP ต่อหัวของฮ่องกงซึ่งไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรเลยพุ่งจาก 3000 USD ในช่วงปี 1950-1960 มาเป็นเกือบ 40,000USD ในปัจจุบัน สูงกว่า GDP ต่อหัวของแผ่นดินใหญ่ที่เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติซึ่งใช้ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์และเปลี่ยนมาเป็นระบบทุนนิยมลูกครึ่งแบบ “Man of System” ในปี 1980 หลายเท่าตัว
รัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนยกย่องให้ James Cowperthwaite เป็นฮีโร่ทางเศรษฐกิจตัวจริง โดยมีการสร้างรูปปั้นของ James Cowperthwaite ตามที่ต่างๆทั่วประเทศจีนและที่ผ่านมา จีนพยายามสร้างฮ่องกงขึ้นมาในเมืองจีนแต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีเมืองใดของจีนที่เทียบกับฮ่องกงได้ในแง่การเป็นศูนย์ทางการเงินการลงทุน
ที่ผ่านมาแม้ว่าอังกฤษจะคืนเกาะฮ่องกงให้จีน แต่ข้อตกลงหนึ่งประเทศสองระบบที่ให้ไว้ก็ยังช่วยให้หลักการ Free Market ของ Adam Smith ทำงานได้ต่อไป แต่หากคอมมิวนิสต์จีนเข้ามาเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจ ทำลาย institutions ที่ James Cowperthwaite ได้วางเอาไว้ ประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจของฮ่องกงจะลงไปเทียบเท่ากับระบบเศรษฐกิจแบบ Man of System ที่ใช้อยู่ในจีน