4 ต.ค. 2019 เวลา 10:50 • ไลฟ์สไตล์
พอดีวันนี้ผมอ่านเจอเรื่องราวของเมืองที่ถูกเปลี่ยนจากเมืองที่อันตรายติดอันดับต้นๆของโลก ถูกพัฒนาให้กลายมาเป็นเมืองน่าอยู่ติดอันดับต้นๆของโลกในเวลาสิบปี ผมเลยค้นหาข้อมูลจากหลายๆแหล่งแล้วนำมาสรุปคร่าวๆมาให้ทุกท่านลองอ่านดูครับ
เมืองโบโกต้า เมืองที่อันตรายติดอันดับต้นๆของโลก สู่การเป็นต้นแบบเมืองจักรยาน
เมืองโบโกต้า เป็นเมืองหลวงของประเทศโคลัมเบียตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ อดีตเป็นเมืองเต็มไปด้วยอันตรายจากอาชญากรรม ยาเสพติด และความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างคนรวยและคนจน และเป็นมืองที่มีการจราจรติดขัดที่เต็มไปด้วยอากาศเสีย แถมไม่มีพื้นที่สีเขียวอีกต่างหาก
แต่จากการพัฒนากว่าสิบปีโดย นายเอนริเก้ เพนาโลซ่า เป็นนายกเทศมนตรี(ปีค.ศ.1998-2001) เขามองว่าเมืองต้องเป็นที่อยู่อาศัยที่ทำให้ประชาชนทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และประชาชนของเขาต้องได้รับสิทธิและโอกาสในการใช้พื้นที่สาธารณะอย่างเท่าเทียมกัน (สมชาย หาญญานันท์,2556.โบโกต้า จากเมืองยาเสพติด อาชญากรรมสู่เมืองจักรยาน) เนื่องจากเดิมพื้นที่สาธารณะที่สำคัญที่สุดคือถนนและทางเท้า จะมีผู้ที่ใช้รถยนต์ส่วนตัวเข้ายึดพื้นที่ดังกล่าวไปหมดจากความเหลือมล้ำทางสังคมที่เกิดขึ้นมายาวนาน
สิ่งที่เป็นจุดเปลี่ยนที่นายเอนริเก้ ทำเป็นอันดับต้นๆ คือ
1.กำหนดบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เคร่งครัดทางด้านจราจร เช่น ไม่ให้รถยนต์ขึ้นไปจอดบนทางเท้า โดยมีการสร้างเสาเหล็กกันไว้เพื่อให้เป็นพื้นที่สำหรับคนเดินเท่านั้น
2.เพิ่มช่องทางสำหรับคนเดินมากขึ้นกว่า 1,200 แห่ง
3.ปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นกว่าแสนต้น ให้เมืองมีพื้นที่สีเขียวมากขึ้น
4.ขึ้นราคาน้ำมัน และเก็บค่าที่จอดรถแพงขึ้นและนำเงินมาเข้ากองทุน เพื่อใช้สำหรับการพัฒนาโครงข่ายรถสาธารณะเพื่อมวลชน
5.สร้างทางจักรยานอย่างดีมีต้นไม้สีเขียวเชื่อมกับทางเดินเท้าในเขตชุนชนยากจนที่ไม่เคยมีแม้แต่ถนนลาดยาง เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น
6.เปลี่ยนย่านธุรกิจหลายๆแห่งเป็นถนนคนเดินเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน
ผลจากการพัฒนาตามนโยบายของนายเอนริเก้ คือ
1.รถติดน้อยลง คนหันมาใช้รถยนต์น้อยลง ทำให้การนำเข้าน้ำมันลดลง มลพิษก็ลดลง อากาศดีขึ้น
2.คนหันมาใช้จักรยานมากขึ้นเพราะเมืองสร้างไว้สำหรับการสัญจรโดยทางเท้าและจักรยาน จะมีความคล่องตัวมากกว่า 3.ปัจจุบันมีการแบ่งถนนหนึ่งเลนส์เพื่อปิดถนนสายหลักในเมืองโบโกต้าทุกวันอาทิตย์ และถูกเรียกว่าเป็นวัน CAR FREE DAY ตลอดเส้นทางกว่า 120 กิโลเมตร (เส้นทางนี้รถยนต์เข้าไม่ได้นะครับ เพราะเป็นพื้นที่สำหรับคนเดิน คนวิ่ง และจักรยานเท่านั้น)
4.เกิดอาชีพซ่อมและขายอะไหล่จักรยาน ทำให้ปัญหาด้านอาชญากรรมลดลงมาก
ทำให้เห็นว่าการสร้างเมืองให้น่าอยู่นั้นบางครั้งไม่ได้อยู่ที่งบประมาณเพียงด้านเดียว แต่อยู่ที่การมองและจัดลำดับความสำคัญในการแก้ปัญหาเพื่อมุ่งสู่การพัฒนามากกว่า
สุดท้ายผมก็ลองคิดเล่นๆว่า เขาเริ่มจากเมืองหลวงของเขา แล้วอนาคตเราจะเริ่มที่ กทม. บ้างไหม???
ข้อมูลจาก :
MGRonline,2556
Pracob Cooparat,2014
ภาพจากอินเตอร์เน็ต
ภาพจากอินเ
โฆษณา