5 ต.ค. 2019 เวลา 01:47 • สุขภาพ
อันตรายจาก"น้ำยาบ้วนปาก" ..
ปัจจุบันมีการใช้น้ำยาบ้วนปากกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งน้ำยาบ้วนปากเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องปากที่นิยมใช้ เพื่อเสริมการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากนอกเหนือจากการแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟัน โดยมีอยู่หลากหลายชนิดให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้ทั้งแบบชนิดที่มีรสหอมเพื่อช่วยให้ช่องปากสดชื่น ชนิดที่มีฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ และชนิดที่มีสารระงับเชื้อ เพื่อช่วยรถปริมาณคราบจุลินทรีย์ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดกลิ่นปาก ผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากส่วนใหญ่ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดนั้น มักมีสารต้านเชื้อแบคทีเรียเป็นส่วนผสมนอกเหนือไปจากการมีรสหอมน่าใช้ เพื่อช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพในการป้องกันรักษาโรคเหงือกและฟันและปัญหากลิ่นปากได้ดีขึ้น โดยหนึ่งในสารระงับเชื้อพบว่ามีการเติมลงในผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากคือ "ไธมอน"
โครงสร้างทางเคมีและกลไกการออกฤทธิ์
ไธมอล(thymol)หรือไอโซโพลเมธิวฟีนอล (isopropylmethylphenol,IPMP) เป็นสารอนุพันธ์ในกลุ่มโมโนเทอร์ปีน ฟีนอล (monoterpene phenol ) ซึ่งพบได้ในธรรมชาติในน้ำมันที่สกัดจากต้นไธท์ (thyme)
ไธมอลมีกลิ่นหอมและยังมีฤทธิ์ดีในการระงับเชื้อ สารนี้ละลายน้ำได้ค่อนข้างน้อย แต่ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์และตัวทำละลายอินทรีย์
ไธมอลเป็นที่นิยมนำมาใช้ผสมในน้ำยาบ้วนปากดับกลิ่น และน้ำยากลั้วคอในสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.05-0.06 โดยสามารถออกฤทธิ์ระงับเชื้อโดยมีกลไกการทำงานไปทำลายผนังเซลล์แบคทีเรียที่อยู่ในช่องปาก ทำให้เสียสมดุล เซลล์แตกและตายในที่สุด โดยไธมอลจะคงตัวอยู่ในช่องปากและยังคงมีฤทธิ์ในการระงับเชื้ออยู่ภายหลังการใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
ความเป็นพิษ
ไธมอลจัดเป็นสารที่มีความเป็นพิษ เป็นอันตรายหากกลืนจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ยังเป็นอันตรายหากสูดดมหรือสัมผัสกับสารนี้โดยตรง ทั้งนี้มีรายงานค่าความเป็นพิษของไธมอล โดยพบว่าปริมาณสารไธมอลที่ทำให้หนู (rat) ตายร้อยละ 50 เมื่อให้โดยการรับประทานมีค่าเท่ากับ 980 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปริมาณที่ทำให้หนู (mouse) ตายร้อยล่ะ 50 เมื่อให้โดยการฉีด มีค่าเท่ากับ 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ยังมีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นต้องมีความระมัดระวังในการทำงานกับสารดังกล่าว สำหรับการนำไธมอลมาผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น น้ำยาบ้วนปาก ยาสีฟัน แป้งผงโรยตัว น้ำยาทำให้ปากสดชื่น เป็นต้น ต้องใช้ที่ความเข้มข้นในปริมาณที่เหมาะสมตามกำหนด
อากาพิษ
หากมีการใช้น้ำยาบ้วนปากไปในทางที่ผิด เช่น รับประทานน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของไธมอลในความเข้มข้นสูงๆ จะทำให้เกิดพิษเช่นเดียวกับฟีนอล แต่อาจมีความเป็นพิษน้อยกว่า โดยทำให้เกิดการระคายเคืองตต่อเยื่อเมือกกระเพาะอาหาร คลื่นใส้ อาเจียน เหงื่อออก ท้องเสีย ไปจนถึงหมดสติ
อย่างไรก็ตามในกรณีของไธมอล ที่ใช้ผสมอยู่ในน้ำยาบ้วนปาก (มีไธมอลผสมอยู่ในปริมาณร้อยละ 0.05 ถึง 0.06 ) ยังไม่มีรายงานถึงอันตรายหรือความเป็นพิษ
ข้อควรระวัง
ต้องหลีกเลี่ยงสัมผัสไธมอลที่มีความเข้มข้นสูงโดยตรง สำหรับน้ำยาบ้วนปากที่มีไธมอลเป็นองค์ประกอบ มักพบว่าเป็นชนิดที่มีแอลกอฮอล์ผสมในปริมาณค่อนข้างสูง (เพื่อช่วยในการละลายของไธมอลที่ละลายได้ไม่ดีในน้ำ) จึงต้องระมัดระวังในการใช้ ให้อ่านวิธีใช้ข้างขวดให้รอบคอบ ไม่ควรใช้บ่อยหรือปริมาณมากกว่ากำหนด และอย่าเผลอกลืน เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกต่างๆได้ ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณ และความถี่ของการใช้..
โฆษณา