Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เภสัชกรป้อนข่าว Pharm.NEWS
•
ติดตาม
6 ต.ค. 2019 เวลา 08:30 • สุขภาพ
ท้องผูกป้องกันได้..."จริงไหม"
คนสุขภาพปกติทั่วไปแต่ละคนจะถ่ายอุจจาระบ่อยไม่เท่ากัน
👉 การ "ขับถ่ายปกติ" ความถี่อยู่ระหว่าง 3 ครั้งต่อวัน ถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์
👉 คนที่มีอาการ "ท้องผูก" อาจมีการขับถ่ายน้อยกว่านี้ทั้งๆ ที่รับประทานอาหารปกติ หรือไม่ถ่ายอุจจาระติดต่อกันอย่างน้อย 3 วัน
ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก?
พบว่ามีหลายปัจจัยหรือหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก เช่น
1.การรับประทานอาหารที่มีกากและเส้นใยน้อย
2.โรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไทยรอยด์ต่ำ ผู้ที่มีแคลเซียมในเลือดสูง และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือผ่าตัดบริเวณสันหลัง
3. การตั้งครรภ์ เนื่องจากสรีระและระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ความเครียด รวมทั้งการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง
4.เกลือแร่บางชนิด เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ รวมถึงผลิตภัณฑ์จำพวกธาตุเหล็ก (Iron preparations)
5. ยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มแก้ปวดโอปิออยด์ (Opioid) ยาต้านมัสคารินิค (anti-muscarinics) ที่รักษาโรคพาร์กินสัน ยาต้านฮิสตามีน ยาแก้ท้องเสีย ยากดอาการไอ(cough suppressants) ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก(TCA) ฯ
อาการท้องผูกเป็นอย่างไร?
✍️ ผู้ที่ท้องผูกจะมีอาการถ่ายลำบาก มักต้องเบ่งถ่ายหรือใช้นิ้วช่วยเพื่อขับถ่าย
✍️ ถ่ายเป็นก้อนแข็ง
✍️ รู้สึกว่าถ่ายอุจจาระไม่สุด
✍️ รู้สึกว่ามีสิ่งกีดขวางการถ่ายอุจจาระ
✍️ ต้องใช้ยาระบายเพื่อขับถ่าย
✍️ ถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
การป้องกันไม่ให้เกิดอาการท้องผูกทำได้อย่างไร?
🗣️ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชสม่ำเสมอ
🗣️ ดื่มน้ำสะอาดหรือของเหลวอื่นให้ได้อย่างน้อย 8 - 12 แก้วต่อวัน
🗣️ พยายามถ่ายอุจจาระหลังตื่นนอนตอนเช้า หรือภายใน 30 นาทีหลังมื้ออาหารเช้า เนื่องจากลำไส้ใหญ่จะเคลื่อนไหวหลังรับประทานอาหาร
🗣️ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันท้องผูกได้ เนื่องจากจะกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้
🗣️หลีกเลี่ยงยาบางชนิดข้างต้นที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก
🗣️รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ช่วยระบาย เช่น ลูกพรุน น้ำลูกพรุน โยเกิร์ต เป็นต้น
🗣️ นวดบริเวณหน้าท้องหลายๆ นาที วันละ 2 ครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้
ขอบคุณภาพลูกพรุนจาก: https://bit. ly/2pRox0X
ขอบคุณภาพจาก: https://bit.ly/2VIWQc7
🗣️ เลือกใช้ยาระบายต่อเมื่อวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล
สุดท้ายนี้...... สำหรับคำแนะนำการใช้ยา หากมีอาการท้องผูกแล้วรักษาด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ได้ผล จะนำมาเล่าให้ฟังในตอนต่อไปนะครับ
ด้วยความปรารถนาดีจาก... เภสัชกรป้อนข่าว❤️
หากเห็นว่ามีประโยชน์โปรด.. กด"ติดตาม" เราได้นะครับ🙏
ขอบคุณข้อมูลจาก:Mims Pharmacy Thailand 2014. Constipation. Health topics section. 65-7.
บันทึก
2
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย