6 ต.ค. 2019 เวลา 12:35 • ไลฟ์สไตล์
ครั้งหนึ่งในปี 2009 เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
โดยเริ่มที่สหรัฐก่อนจะโดมิโนไปทั่วโลก
เราเรียกวิกฤตินี้ว่า “Subprime Crisis”
ควีนอลิซาเบธที่ 2 ประมุขแห่งสหราชอาณาจักร ได้ตรัสถามผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์ทั้งหลายของอังกฤษ ว่า “Why did nobody notice it?"
ทำไมเราถึงไม่เห็นสัญญาณ หรือเราไม่รู้มาก่อน ?
Prof Garicano หนึ่งในคณะผู้ทรงคุณวุฒิตอบพระองค์ว่า "At every stage, someone was relying on somebody else and everyone thought they were doing the right thing."
เศรษฐกิจของแต่ละประเทศล้วนต้องพึ่งพิงประเทศอื่น
และเราก็เชื่อว่าทุกประเทศกำลังทำสิ่งที่ถูกต้อง
ควีนตรัสต่อว่า awful ทำไมมันช่างแย่แบบนี้
'If these things were so large,
how come everyone missed them?’
ถ้ามันจะเกิดวิกฤติใหญ่ขนาดนั้น
เป็นไปได้อย่างไรที่จะไม่มีใครเลยสังเกตเห็น? ...
หลังจากที่ควีนเสด็จกลับ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิได้หารือกัน และส่งจดหมายตอบแบบละเอียด ให้ควีนเป็นจำนวน 3 หน้ากระดาษเต็มๆ ซึ่งผู้เขียนคือ professor Tim Besley
โดยในย่อหน้าสุดท้ายเค้าสรุปว่า
"In summary, your majesty, the failure to foresee the timing, extent and severity of the crisis and to head it off, while it had many causes, was principally a failure of the collective imagination of many bright people, both in this country and internationally, to understand the risks to the system as a whole."
สรุปสั้นๆ คือระบบมันใหญ่ เสรีและยุ่งยากซับซ้อนเกินไป กว่าที่จะมีใครสักคนเข้าใจความเสี่ยงทั้งระบบหมด
นอกจากนั้นทุกคนยังเชื่อว่าตัวเอง เข้าใจ ควบคุมได้
ดังนั้นทุกคนจึงไม่รู้ว่ามีปัญหาจนมันพังครืนลงมา
***************************************
เดิมทีเรามีความเชื่ออยู่ 2 ทาง คือ “แนวคิดที่ให้ความสำคัญกับบทบาทรัฐในการดูแลให้เศรษฐกิจอยู่ในดุลยภาพ” กับอีกแนวคิดนึงคือ “ให้ความสำคัญกับกลไกตลาด เป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรเศรษฐกิจ ลดบทบาทภาครัฐในระบบเศรษฐกิจ และใช้นโยบายเปิดเสรีปลดเงื่อนไขต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของกลไกราคา”
เรียกง่ายๆ คือ รัฐกำกับ กับ เปิดเสรี แล้วกัน
โดยเมื่อก่อนโลกเชื่อในรัฐกำกับ แต่มาค่อยๆ เปลี่ยนแปลงเป็น เปิดเสรี
ที่นี้กลับมาถึง คำถามของควีนคือ “Why did nobody notice it?" คำถามนี้ทำให้โลก โดยเฉพาะนักเศรษฐศาสตร์ต้องกลับมาขบคิดกันใหม่
เพราะเราเปิดเสรีมากไปนั่นเอง มันเกินความควบคุม ดังนั้นโลกตอนนี้กำลังกลับด้าน คือ ลดเสรีบางอย่าง ควบคุมมากขึ้น รัฐกำกับมากขึ้น ลดความเร็ว โลกกลับมา Conservative มากขึ้น
ถ้าเราสวมหมวกของนักเศรษฐศาสตร์ นักปกครองทั้งหลาย การมาถึงของ Libra และ Cryto และอีกมายที่รวดเร็วในทุกวันนี้ จะต้องโดนสกัดและควบคุม ไม่ใช่เพราะหวงแหนอำนาจ แต่เพราะกลัวความเสี่ยงที่มองไม่เห็นอีก (To understand the risks to the system as a whole) และอาจจะนำไปสู่วิกฤติที่เราคิดไม่ถึงและยากเกินควบคุมได้
ยิ่งช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา กระแส Start Up และ ICO ที่แทบไม่มีการควบคุมสุดท้ายคือแสดงให้เห็นแล้วว่าเต็มไปด้วยความเละเทะ และหลอกลวง
ขนาดระดับ Unicorns พอเค้ามาในระบบจริงๆ อย่างตลาดหลักทรัพย์ ก็ทำให้เห็นความกลวง และเน่าเฟะของงบการเงิน และความเฟ้อฝันของเจ้าของ
ดังนั้นเหล่าผู้บริหารโลกนี้กลัว ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยอีกดังนั้นเรากำลังเข้าสู่ยุคสมัยที่ แนวคิดรัฐควบคุม และปล่อยเสรี กลับมาปะทะพลังกัน อย่างไม่เคยเป็นมาก่อนนั่นเอง ...
โลกที่ตำรายังเขียนมาไม่ถึง .... เรายังไม่รู้ข้างหน้าคืออะไร
โลกกำลังชั่งน้ำหนัก ระหว่างการก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว กับ การก้าวช้าๆ อย่างระมัดระวัง
เชื่อว่า Libra อาจจะต้องเผชิญแรงเสียดทานมหาศาล อย่างสูง และปีหน้า คงมีอะไรให้เราศึกษา อีกเยอะเลยทีเดียว
โฆษณา