6 ต.ค. 2019 เวลา 17:22 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ดาวเคราะห์ปริศนาดวงที่ 9 ของระบบสุริยะ อาจจะเป็นหลุมดำโบราณ?? 😯👀
เคยได้ยินเรื่องของดาวเคราะห์ X, ดาวเคราะห์นิบิรุ หรือดาวเคราะห์ปริศนาดวงที่ 9 ไหมครับ?
นักดาราศาสตร์มองหามาหลายปีแต่ก็ไม่เจอ หรือแท้จริงแล้วมันอาจจะเป็นหลุมดำจิ๋วจากยุคแรกเริ่มกำเนิดจักรวาล
ดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ที่เราตามหามานานอาจจะไม่ใช่ดาวเคราะห์ Cr: Olena Shmahalo/Quanta Magazine
ท้าวความกันก่อนว่า ดาวเคราะห์ดวงที่ 9 คืออะไร
ที่แน่ ๆ ไม่ใช่ ดาวพลูโต เพราะโดนลดสถานะไปนานแล้ว
ปัจจุบันดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเรามี 8 ดวง โดยวงนอกสุดคือ ดาวเนปจูน
นอกนั้นถือเป็น ดาวเคราะห์แคระ
วัตถุแรกในแถบไคเปอร์ที่เราค้นพบคือในปี 1992
หลังจากปี 1992 เราเริ่มค้นพบวัตถุที่ไกลออกจากพลูโตออกไป ในบริเวณที่เรียกว่า Kuiper belt
แต่วัตถุที่สร้างปัญหาหลังจากการค้นพบคือ 2015 BP519 ซึ่งมีวิถีโครจรหลุดจากระนาบการโคจรของวัตถุในระบบสุริยะไปมาก
2015 BP519 ไม่ควรจะโคจรได้อย่างนี้ถ้าไม่มี ดาวเคราะห์ดวงที่ 9 โคจรอยู่ด้วย Cr: Lucy Reading-Ikkanda/Quanta Magazine
จึงเป็นที่มาของข้อสัญนิษฐานถึงการมีอยู่ของดาวเคราะห์ที่เรายังไม่ตรวจพบ ดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ซึ่งทำหน้าที่ถ่วงสมดุลย์แรงโน้มถ่ว่งและทำให้วัตถุอื่นๆ โคจรในรูปแบบอย่างที่เราสังเกตเห้น
จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ คาดว่าดาวเคราะห์ดวงที่ 9 นี้มีมวล 5-10 เท่าของโลก ขนาด 3 เท่าของโลก และมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ประมาณ 10,000-20,000 ปี
จนวันนี้เรายังหาดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ที่ว่านี้ไม่เจอ, Cr: Caltech
แต่จนแล้วจนรอดมาจนวันนี้ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะเจอดาวเคราะห์ปริศนานี้
จนทำให้เกิดทฤษฎี อื่น ๆ มาอธิบายอีกเช่นว่า ดาวเคราะห์ดวงนี้อาจจะโคจรเป็นแนวตั้งฉากกับระนาบของการโคจรดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ทำให้ยากต่อการตรวจพบ
จนมาล่าสุดได้มีทฤษฎีใหม่นำเสนอโดย Jakub Scholtz แห่งมหาวิทยาลัย Durham และ James Unwin จากมหาวิทยาลัยIllinois ว่าแท้จริงแล้วดาวเคราะห์ดวงที่ 9 นี้อาจจะเป็นหลุมดำจิ๋วจากยุคแรกเริ่มกำเนิดจักรวาล
ที่เห็นวงลิบ ๆ ในรูปคือวงโคจรของดาวเนปจูนเพื่อให้เห็นภาพว่าดาวเคราะห์นี้น่าจะอยู่ไกลขนาดไหน Cr: Tom Ruen/nagualdesign/ESO
primordial black hole หรือ หลุมดำดึกดำบรรพ์นี้ เชื่อว่ากำเนิดมาพร้อมกับ Big Bang หลุมดำที่มีมวลน้อยจะระเหยหายไปตามเวลา มีบางหลุมดำที่ยังหลงเหลืออยู่มาจนถึงปัจจุบัน
หลุมดำปกติจะเกิดจากดาวที่สิ้นอายุขัย
ทั้งนี้หากทฤษฎีนี้เป็นจริง ก็ยังยากที่จะตรวจพบเนื่องจากหลุมดำที่มีมวล 5 เท่าของโลกนี้จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 5 เซนติเมตร และเย็นเกินกว่าที่จะมีการแผ่รังสีให้ทำการตรวจจับได้
1
การตรวจหาก็คงทำได้โดยการมองหาบริเวณพื้นที่ทรงกลมสีดำขนาดเล็กที่ล่องลอย
หากการค้นหาดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ด้วยวิธีปกติที่คิดว่าเป็นดาวเคราะห์ ไม่ประสบความสำเร็จ ทฤษฎีหลุมดำจิ๋วนี้อาจจะเป็นคำตอบก็เป็นได้

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา