6 ต.ค. 2019 เวลา 16:46 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
น้ำเชื่อมข้าวโพด (High-fructose corn syrup) : ภัยร้ายซ่อนเร้นจากน้ำตาลแฝง!
น้ำเชื่อมฟรุ๊กโตสเข้มข้นสูง (high fructose syrup ) หรือ น้ำเชื่อมข้าวโพด ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านหลายคนคงจะเคยได้ยินชื่อนี้มาแล้วบ้างจากสื่อต่างๆไม่มากก็น้อย มาลองคุยกันต่อดูครับว่าทำไมหลายฝ่ายจึงออกมาเตือนถึงความอันตรายของเจ้าน้ำเชื่อมตัวนี้กัน น้ำเชื่อมข้าวโพด (High Fructose Corn Syrup: HFCS) หรือ corn syrup เป็นสารให้ความหวานที่ถูกค้นคิดและผลิตโดยชาวญี่ปุ่นชื่อ โยชิยูกิ ทาคาซากิ ในปี 1966 โดยการเปลี่ยนน้ำตาลและแป้งจากซังข้าวโพดให้เป็นน้ำเชื่อมโดยใช้กระบวนการย่อยด้วยเอนไซม์ (chemical enzymatic process) เพื่อให้ได้น้ำเชื่อมที่มีปริมารน้ำตาลฟรุกโตส (Fructose) มากกว่าน้ำตาลทรายปกติมาก มันจึงมีความหวานมากกว่าถึงเกือบสองเท่า และด้วยต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าน้ำตาลทรายปกติ (Cane sugar) ทำให้น้ำเชื่อมข้าวโพดเป็นที่นิยมอย่างมากในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและเครื่องดื่มเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยในสหรัฐอเมริกาเองพบว่าจากช่วงทศวรรษที่ 1970 ถึง 1990 ชาวอเมริกันบริโภคน้ำเชือมชนิดนี้มากถึงคนล่ะ 25 kg/ปี [1] จากที่ไม่เคยบริโภคเลย อย่างไรก็ตามมีหลายฝ่ายตั้งขอสังเกตว่าอัตราการบริโภคน้ำเชื่อมที่เพิ่มขึ้นนี้สอดคล้องกับแนวโน้มการเกิดโรคเมแทบอลิกซินโดรมอย่างมีนัยสำคัญ
1
การบริโภคน้ำตาลและสารให้ความหวานจากข้าวโพดในสหรัฐอเมริการะหว่างปี พ. ศ. 2509 ถึง 2556 ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญพร้อมกับอัตราการเกิดภาวะเมแทบอลิกซินโดรม (ภาวะที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารของร่างกายที่ผิดปกติไป) ที่เพิ่มเป็นเงาตามอัตราการบริโภค
จากข้อมูลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ [1] [2] [3] บ่งชี้อย่างชัดเจนว่าในหลายกรณีการบริโภคน้ำเชื่อมข้าวโพดในระยะยาว ส่งผลให้เกิดภาวะเมแทบอลิกซินโดรม (ภาวะที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารของร่างกายที่ผิดปกติไป)โดยภาวะดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดปัญหาความดันโลหิตสูง ไขมันสูง เบาหวาน ความจำเสื่อม และทำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง เนื่องจากน้ำตาลฟรุกโทส (Fructose) ที่อยู่ในน้ำเชื่อมข้าวโพดสามารถเหนี่ยวนำให้กลไกทางชีวเคมีในร่างกายเพิ่มการสะสมไขมันมากขึ้นแทนที่ที่จะเปลี่ยนน้ำตาลชนิดนี้เป็นพลังงานแก่ร่างกายเหมือนการบริโภคน้ำตาลกลูโคส แต่มันจะทำให้ระดับของไขมันเลว (LDL Cholesterol) เพิ่มขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเมแทบอลิกซินโดรมอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะไขมันพอกตับและอ้วนลงพุง ซึ่งอย่างที่เรารู้ๆกันว่าโรคเหล่านี้ล้วนทำลายสุขภาพเราในระยะยาวทั้งนั้นท่านผู้อ่านอาจจะคิดว่าตัวเองอาจจะไม่ได้ใช้น้ำเชื่อมข้าวโพดแทนน้ำตาลสักหน่อยจะไปกังวลอะไร!!!
1
งานวิจัยจำนวนมากสนับสนุนสมมุติฐานที่ว่าการบริโภคน้ำเชื่อมข้าวโพดในระยะยาวส่งผลให้เกิดภาวะเมแทบอลิกซินโดรม (ภาวะที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารของร่างกายที่ผิดปกติไป) มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยกับการก่อโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ความจำเสื่อม ตับอักเสบ และ ภาวะลงพุงอย่าง
นั่นสิครับจะไปกังวลอะไร แต่เดี๋ยวก่อน อย่าลืมนะครับว่าอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและเครื่องดื่มทุกวันนี้นิยมใช้น้ำเชื่อมข้าวโพดมากเพราะลดต้นทุนได้ดี นี้หล่ะครับปัญหา!!! แม้เราจะไม่ได้บริโภคเจ้าน้ำเชื่อมนี้โดยตรงแต่เราก็ได้รับมันในรูป "น้ำตาลแฝง" จากอาหารและเครื่องดื่มที่เรานิยมบริโภคกัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำเชื่อมที่ปนมากับอาหารสำเร็จรูป (Porcessed food) หรือเครื่องปรุงต่าง ๆ เช่น ซอสมะเขือเทศ (Ketchup), ซีอิ๊ว (Soya sauce), น้ำจิ้ม (Sauces condiments), น้ำสลัด (Salad dressing), ซุปกระป๋อง (Canned soup), น้ำผลไม้ (Fruit juice), แยมผลไม้ (Jam), โยเกิร์ต (Yogurt), ไอศกรีม (Ice cream), ซีเรียล (Breakfast cereal) ซึ่งผู้ผลิตไม่ได้บอดเราตรงๆว่าใช้น้ำเชื่อมข้าวโพดแต่ท่านผู้อ่านอาจจะสังเกตเห็น "คำ" เหล่านี้ในฉลากอาหารไม่ว่าจะเป็น น้ำเชื่อมข้าวโพด, น้ำเชื่อมฟรุกโตส, High Fructose Corn Syrup, Corn Syrup,Fructose Syrup และMaize Syrup ขอให้รู้ไว้ว่ามันคือสารตัวเดียวกันนะครับ เมื่อรู้ถึงพิษภัยของการบริโภคน้ำเชื่อมข้าวโพดแบบนี้ ครั้งหน้าก่อนหยิบอาหรและเครื่องดื่มขึ้นมา ถ้าเป็นไปได้ขอให้เลี่ยงหรือลดการบริโภคอาหารเหล่านั้นจะดีที่สุดนะครับ เพื่อสุขภาพในระยะยาวของท่านผู้อ่านเอง ^^ #ลดหล่ะเลิกเพื่อสุขภาพ
1
โฆษณา